กองทุนรวม
บลจ.อีสท์สปริง แนะจัดพอร์ตกองทุนประหยัดภาษี SSF-RMF ช่วงท้ายปี เน้น 4 ธีมการลงทุนที่มีศักยภาพ สร้างการเติบโตระยะยาว


นางสาวดารบุษป์ ปภาพจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บลจ.อีสท์สปริง เปิดเผยถึงกลยุทธ์การลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีในช่วงโค้งสุดท้ายของปี สำหรับกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ว่า แนะนำให้มีการจัดพอร์ตที่เหมาะสม ด้วยการกระจายการลงทุนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดการกระจุกตัวในการลงทุนในสินทรัพย์หรือตลาดใดเพียงอย่างเดียว โดยบลจ.อีสท์สปริงได้คัดสรร 4 ธีมการลงทุนที่มีศักยภาพ ทั้งการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ ประกอบด้วย 1.ธีมหุ้นเติบโตทั่วโลก 2.ธีมหุ้นเทคโนโลยี 3.ธีมหุ้นเอเชีย และ 4.ธีมตราสารหนี้ทั่วโลก ซึ่งนักลงทุนยังมีโอกาสสร้างพอร์ตการลงทุนให้เติบโตระยะยาว

สำหรับธีมหุ้นเติบโตทั่วโลก บลจ.อีสท์สปริง มีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นกลุ่มเติบโต (Growth) และกลุ่มเทคโนโลยี (IT) ต่อเนื่อง หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อและแรงงานปรับตัวลง สนับสนุนโอกาสที่เฟดจะสิ้นสุดการปรับขึ้นดอกเบี้ย แม้ว่าถ้อยแถลงของเฟดจะยังแบ่งรับแบ่งสู้ถึงโอกาสที่จะพลิกกลับมาขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง รวมถึงเงินเฟ้อในเดือนล่าสุดออกมามากกว่าคาดเล็กน้อย แต่เชื่อว่าตลาดหุ้นอาจย่อตัวในช่วงสั้นๆ ส่งผลให้หุ้นกลุ่มเติบโตยังคงผันผวนในระยะสั้นและเป็นโอกาสเข้าสะสม

โดยธีมหุ้นเติบโตทั่วโลก แนะนำ 2 กองทุน คือ กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth เพื่อการเลี้ยงชีพ (TMBGQGRMF) ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก Wellington Global Quality Growth Fund ที่เน้นลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก มีแนวทางการลงทุนโดยเน้นการสร้างพอร์ตการลงทุนให้มีความสมดุล โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกบริษัทที่จะเข้าลงทุนจากทั้งมิติของการเติบโต มูลค่าที่เหมาะสม และคุณภาพของธุรกิจ และกองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Capital Growth เพื่อการออม (T-ES-GCG-SSF) ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก AMUNDI FUNDS POLEN CAPITAL GLOBAL GROWTH ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัททั่วโลกเพื่อเพิ่มมูลค่าเงินลงทุน โดยจะลงทุนบริษัทขนาดใหญ่ ส่วนธีมหุ้นเทคโนโลยี แนะนำกองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Technology เพื่อการออม (T-ES-GTech-SSF) ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก POLAR CAPITAL FUNDS PLC-GLOBAL TECHNOLOGY FUND ที่มีนโยบายการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั่วโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนให้แก่เงินลงทุนในระยะยาวแก่นักลงทุน

สำหรับธีมตลาดหุ้นเอเชียนั้น มุ่งเน้นที่ 3 ตลาดที่ยัง Laggard และมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ คือ อินโดนีเซีย เวียดนาม และประเทศไทย โดยแนะนำกองทุนเปิดอีสท์สปริง Indonesia Active Equity เพื่อการเลี้ยงชีพ (ES-INDONESIA-RMF) ที่ลงทุนในกองทุนหลัก Fidelity Fund Indonesia Fund ซึ่งจะเน้นลงทุนในตราสารทุนของประเทศอินโดนีเซียเป็นหลัก อย่างน้อยร้อยละ 70 ในบริษัทที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ตลาดหุ้นเวียดนาม แนะนำกองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง Vietnam Active Equity เพื่อการเลี้ยงชีพ (TMB-ES-VIETNAM-RMF) ที่ลงทุนในกองทุนปลายทาง 2 กองทุนขึ้นไปที่มีนโยบายมุ่งเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่อยู่ในประเทศเวียดนามหรือบริษัทเกี่ยวข้องกับประเทศเวียดนาม ส่วนตลาดหุ้นไทยแนะนำกองทุนเปิด JUMBO 25 เพื่อการเลี้ยงชีพ (JB25RMF) เป็นกองทุนตราสารทุนซึ่งลงทุนในหุ้น 25 บริษัทแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมองว่าในช่วง 3-6 เดือนถัด

จากนี้ อาจจะเริ่มเห็นผลจากการใช้มาตรการทางการคลังที่เริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะถัดไป และดัชนีระดับประมาณ 1,400 จุด ถือเป็นระดับที่น่าสนใจและเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนและสุดท้าย ธีมตราสารหนี้ทั่วโลก แนะนำกองทุนเปิด ทีเอ็มบี Global Income เพื่อการเลี้ยงชีพ (TMBGINCOMERMF) ที่ลงทุนในกองทุนหลัก PIMCO GIS Income Fund ซึ่งเน้นลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก เพื่อโอกาสในการสร้างกระแสรายได้ในระดับสูงโดยการบริหารการลงทุนอย่างรอบคอบ และสร้างการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาว

พร้อมกันนี้ บลจ.อีสท์สปริง ยังได้จัดแคมเปญพิเศษ มอบหน่วยลงทุนในกองทุนเปิดธนชาตบริหารเงิน (T-CASH) 100 บาท สำหรับยอดเงินลงทุน SSF/RMF ทุก ๆ 50,000 บาท จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2566 นี้

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eastspring.co.th หรือโทร 1725 ในวันและเวลาทำการ หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัทฯ หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย และผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต และความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงทางด้านตลาด ความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงทางด้านเครดิตและคู่สัญญา และความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง เป็นต้น

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 ต.ค. 2566 เวลา : 16:32:34
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 6:02 am