กองทุนรวม
บลจ.อีสท์สปริง เตรียมขายกอง ES-USDCR1YD ชูจุดเด่นเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนท่ามกลางความผันผวนหุ้นสหรัฐฯ เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาล-วอร์แรนท์อิงราคา SPDR S&P500 ETF


นางสาวดารบุษป์ ปภาพจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บลจ.อีสท์สปริง เปิดเผยว่า บริษัท ฯ เตรียมเปิดเสนอขายกองทุนเปิดอีสท์สปริง US Double Structured Complex Return 1YD (ES-USDCR1YD) ระยะเวลาลงทุนประมาณ 1 ปี ซึ่งเป็นกองทุนที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุนเงินลงทุน พร้อมเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากการลงทุนในสัญญาวอร์แรนท์ที่อ้างอิงกับราคา SPDR S&P500 ETF โดยเปิดขายหน่วยลงทุนครั้งเดียวระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม จนถึง 6 พฤศจิกายน 2566 ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท


โดยกองทุนเปิดอีสท์สปริง US Double Structured Complex Return 1YD เป็นกองทุนรวมผสมประเภทที่มีการจ่ายผลตอบแทนซับซ้อน และมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 79% โดยมีกลยุทธ์การลงทุนแบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้และ/หรือเงินฝากและ/หรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) ประมาณ 98.50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เงินลงทุนเติบโตเป็น 100% ของเงินลงทุนทั้งหมดเมื่อครบอายุโครงการ ซึ่งการลงทุนในส่วนนี้จะมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) เต็มจำนวน

ส่วนที่ 2 กองทุนจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทสัญญาวอร์แรนท์ (Warrant) ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับราคา SPDR S&P500 ETF ซึ่งจะไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการลงทุนในสัญญาดังกล่าว โดยจะลงทุนประมาณ 1.5-1.6% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม) เพื่อเปิดโอกาสให้กองทุนสามารถแสวงหาผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากการจ่ายผลตอบแทนด้วยอัตราการมีส่วนร่วม (Participation Rate) 50% จากการเปลี่ยนแปลงของราคา SPDR S&P500 ETF โดยมีเงื่อนไขว่าราคาของ SPDR S&P500 ต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่เกิน 15% เมื่อเทียบกับ ณ วันจดทะเบียนกองทุนซึ่งตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา

“จุดเด่นของกองทุนนี้คือความเสี่ยงต่อเงินต้นต่ำมากเพราะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรืออาจจะลงทุนเพิ่มในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือ 2 อันดับแรก (International Rating) รวมถึงโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีจากวอร์แรนท์ หากราคา SPDR S&P500 ETF ปรับตัวขึ้นหรือลงไม่เกิน 15% ซึ่งเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากโดยทั่วไป และต้องการลงทุนในระยะเวลาประมาณ 1 ปี” นางสาวดารบุษป์ กล่าวพร้อมให้มุมมองการลงทุนว่า

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งกว่าที่คาด ผสานกับเงินเฟ้อที่แผ่วลง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) แต่มีโอกาสที่ Fed จะใช้นโยบายแบบเข้มงวดต่อ ซึ่งขึ้นกับข้อมูลทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจเผชิญกับแรงกดดันในระยะถัดไป ทั้งนี้บลจ.อีสท์สปริง มองว่าดัชนี S&P500 มีโอกาสเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบในช่วง 1 ปีข้างหน้า โดยมีปัจจัยบวก คือ 1.ทิศทางผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยังคงแข็งแกร่ง โดยกำไรบริษัทจดทะเบียนของ S&P500 ในปี 2567 ยังเติบโตกว่า 10% 2.ปัจจัยกดดันจากเงินเฟ้อลดลง เศรษฐกิจอาจ Soft Landing ได้ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงคือ สหรัฐฯอาจคงดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานาน ซึ่งจากผลการสำรวจของ CME FedWatch Tool ล่าสุดบ่งชี้ว่ามีโอกาสที่ Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25 - 5.50% ไปจนถึงกลางปี 2567 ( ข้อมูล : CME Market Watch Tool ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2566) รวมถึงระดับมูลค่าของตลาดหุ้นสหรัฐฯหรือ P/E ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทน และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะกรณีที่มีการจ่ายผลตอบแทนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงเวลา 1 ปีได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก และกองทุนนี้ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการลงทุนในวอร์แรนท์ ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากวอร์แรนท์ตามที่ระบุไว้

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eastspring.co.th หรือโทร 1725 ในวันและเวลาทำการ หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัทฯ หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง และผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน และความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงทางด้านตลาด ความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงทางด้านเครดิตและคู่สัญญา และความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง เป็นต้น

LastUpdate 26/10/2566 16:32:54 โดย : Admin
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 5:37 am