
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนธันวาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,154 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 16-25 ธันวาคม 2567 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจาก ค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้
1. “ดัชนีการเมืองไทย” เดือนธันวาคม 2567 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 4.97 คะแนน (เดือนพฤศจิกายน 2567 ได้ 4.92 คะแนน)
สรุปผลการสำรวจ : “ดัชนีการเมืองไทย เดือนธันวาคม 2567”
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนธันวาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,154 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 16-25 ธันวาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนธันวาคม 2567 เฉลี่ย 4.97 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ได้ 4.92 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน เฉลี่ย 5.37 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส เฉลี่ย 4.60 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 51.25 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 26.36 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาท โดดเด่นประจำเดือน คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 45.78 รองลงมา คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ร้อยละ 33.13 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม 9,000 บาท ร้อยละ 40.05 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรวจสอบรัฐบาลเพื่อความโปร่งใส ร้อยละ 42.72
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ดัชนีการเมืองไทยปิดท้ายปีด้วยการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แสดงให้ถึงความพยายามของรัฐบาลในการเร่งสร้างผลงาน ด้านคะแนนนายกฯ ที่ลดลงก็สะท้อนถึงความคาดหวังที่ยังตอบสนองได้ไม่ดีพอ การสร้างความเชื่อมั่นในปีใหม่จึงขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด ดัชนีการเมืองเดือนสุดท้ายของปีจึงเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นว่า “รัฐบาลนั้นเร่งเกม มีผลงานเพิ่ม แต่เศรษฐกิจยังเป็นจุดอ่อน”
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์ คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า แม้ภาพรวมดัชนีการเมืองไทยเดือนธันวาคม 2567 จะมีค่าคะแนนอยู่ที่ 4.97 ซึ่งสูงกว่าเดือนพฤศจิกายน (4.92) ก็ยังถือว่ารัฐบาลยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อกลุ่มตัวอย่างกว่า 2,000 คน หากพิจารณาตัวแปรต่างๆ ที่สะท้อนความไม่เชื่อมั่นและทำให้คะแนนลดลง จะพบว่า ค่าครองชีพ เงินเดือน และสวัสดิการนั้นมีคะแนนลดลงมากที่สุดอยู่ที่ 4.85 ซึ่งมีความสอดคล้องกับสภาวการณ์และความตกต่ำทางเศรษฐกิจและย้อนแย้งกับวาทกรรมทางการเมืองที่ว่า “คนไทย มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี” นอกจากนี้ตัวแปรในด้านเสถียรภาพและความไม่เป็นปึกแผ่นของรัฐบาลผสมหลายพรรคการเมืองนั้นยังไม่เป็นที่ พึงพอใจของประชาชน ในขณะเดียวกันผลงานของนายกฯ ก็ยังมีค่าคะแนนที่ไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและฝ่ายค้าน
ไม่ควรปฏิเสธผลสำรวจนี้และควรนำข้อมูลดังกล่าวไปศึกษาหาวิธีการแก้ไข เพื่อพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นในทางการเมืองการบริหารของรัฐบาลต่อไป
รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์ คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ข่าวเด่น