วิทยาศาสตร์
NSM ร่วมกับภาคีเครือข่าย คัด 4 ตัวแทนนักสื่อสารวิทย์ฯ ยอดเยี่ยม ในโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 พร้อมศึกษาดูงาน ณ ประเทศเยอรมนี


 
ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.ชนินทร์ กุลเศรษฐธัญชลี อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณอันเดรอัส เคล็มพิ้น ผู้จัดการโครงการในภูมิภาคอาเซียน สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และคุณพรพจน์ เทพสังข์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ร่วมพิธีปิดพร้อมมอบรางวัลในโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 (Young Thai Science Ambassador, YTSA#19) ในหัวข้อ “ฟื้น คืน ระบบนิเวศ Ecosystem Restoration” ภายใต้แนวคิด การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก พร้อมคัดตัวแทน 4 นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมบินลัดฟ้าศึกษาดูงาน ณ ประเทศเยอรมนี ประเทศที่มีความก้าวหน้าและเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก
 

 
ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กล่าวว่า “สำหรับความสำเร็จของการจัดโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 (Young Thai Science Ambassador, YTSA#19) ครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ที่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพและสนับสนุนการจัดกิจกรรม ที่สำคัญขอชื่นชมเยาวชน ทั้ง 40 คนที่ผ่านการพัฒนาอบรมตลอดโครงการฯ ซึ่งถือว่าทุกคนเป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย รุ่นที่ 19 เป็นผู้ที่จะมีส่วนในการร่วมผลักดันสังคมวิทยาศาสตร์ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น และขอแสดงความยินดีกับนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม ทั้ง 10 ท่าน หวังว่าเยาวชนทุกคนจะมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองในด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยนำความรู้ไปค้นคว้าต่อยอด และพัฒนาตนเองให้เป็นบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคมและประเทศต่อไปในอนาคต”

 
ในปีนี้ ผู้ที่คว้า รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม มีทั้งสิ้น 4 ท่าน โดยสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเป็นตัวแทนประเทศไทยในการร่วมกิจกรรมด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี ในเดือนกรกฏาคม 2567 ได้แก่
 

 
1. นางสาวหทัยธนิต ธงทอง จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในผลงาน : Moo'vin Towards a Greener Planet

2. นายสุขปวัตน์ เมืองสมบัติ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ในผลงาน : กินแซลมอนดีไหม?

3. นางสาวพิรญาณ์ ธำรงค์พันธวนิช จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในผลงาน : จากปลายกระบอกสู่ดอกฟล็อกซ์

 
4. นางสาวณรีกานต์ สิงขรรัตน์ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ในผลงาน : เบื่อไหม? กับเหตุการณ์ น้ำท่วม ที่เกิดขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ

 
และรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 6 รางวัล ได้รับทุนการศึกษาคนละ 5,000 บาท พร้อมโอกาสได้ร่วมงานกับ อพวช. ในภารกิจต่าง ๆ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ต่อไป ได้แก่

1. นางสาวพิชญาภัค สิงห์ทองลา จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในผลงาน : อวนผี ฆาตกรใต้ท้องทะเล

2. คุณชฎารัตน์ อับไพ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในผลงาน : แต่งตัวมีระดับ แต่โลกกลับย่ำแย่
 
 
3. นางสาวนราทร เบญจฤทธิวงศ์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในผลงาน : The NEXT Gen. Cities : return cities, return ours life

4. นางสาวปาณิสรา หมวดสง จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ในผลงาน : Cleaning the Ocean with a Tiny Microbe

5. นางสาวสุภัสสร สุรีย์พงษ์ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ในผลงาน : มนุษย์เหลือเวลาอีก 6 ปี

 
6. นายคุณาพัฒน์ ประภัสสรชัย จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในผลงาน : An Ordinary Penguin from the Healthy Planet

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 ม.ค. 2567 เวลา : 18:41:56
23-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 23, 2024, 10:37 pm