· การเติบโตของเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวในสัดส่วนสูง สะท้อนจากสัดส่วนการส่งออกสินค้าและบริการต่อขนาดเศรษฐกิจที่มากถึง 66% ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ในต่างประเทศขึ้น เศรษฐกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะได้รับความผันผวนตามไปด้วย
· นอกจากนี้ การส่งออกและการท่องเที่ยวก็ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง เห็นได้จากใน 2 ช่วงเวลาที่ไม่มีวิกฤตในต่างประเทศ คือ ปี 2543-2551 และปี 2555-2562 พบว่า สัดส่วนการส่งออกสินค้าและบริการต่อขนาดเศรษฐกิจจะค่อนข้างคงที่ แต่อัตราการเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจไทยปรับลดลง ดังนั้น ในช่วงข้างหน้า นอกจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการส่งออกและการท่องเที่ยวแล้ว จำเป็นจะต้องหาแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น
· สำหรับในปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจและธุรกิจไทยอยู่ในจังหวะฟื้นตัวต่อเนื่องหลังวิกฤตโควิดคลี่คลาย แต่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะจีน และภูมิรัฐศาสตร์โลกอย่างการสู้รบในทะเลแดง รวมถึงต้นทุนสะสมของธุรกิจที่ยังสูง ทำให้เส้นทางการขยายตัวยังมีความไม่แน่นอน กระทบธุรกิจส่งออกให้คงจะขยายตัวต่ำ ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็คาดว่าจะยังไม่กลับไปเท่ากับก่อนโควิด
· ในระยะถัดๆ ไป เศรษฐกิจและธุรกิจไทยยังเผชิญกับ 4 เทรนด์ที่จะเพิ่มความท้าทายมากขึ้น ได้แก่ 1) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก 2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ 4) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ทั้งนี้ เทรนด์ต่างๆ เหล่านี้จะไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หากแต่จะยิ่งทำให้การดำเนินธุรกิจมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว (Dynamic) โดยแต่ละเทรนด์จะส่งผลต่อธุรกิจ ทั้งในด้านโอกาสและผลกระทบ ดังนี้
· ทั้งนี้ แต่ละเทรนด์สร้างโอกาสและผลกระทบต่อประเภทธุรกิจที่แตกต่างกันและอาจเป็นคนละช่วงเวลา ทำให้สุทธิแล้วอาจเร็วไปที่จะสรุปว่าเศรษฐกิจและธุรกิจไทยจะได้หรือเสีย อย่างไรก็ตาม ถ้าปรับตัวไม่ทันในการรับมือกับ 4 เทรนด์ท้าทายนี้ ก็มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจและธุรกิจไทยจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอีกในช่วงข้างหน้า
ข่าวเด่น