ไอที
Special Report : เปิดมุมมอง KBTG "AI" ในทศวรรษหน้า จะมีหน้าตาแบบไหน เตรียมพร้อมรับมืออย่างไรดี?


ถ้าพูดถึงวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่น่าจับตามองอย่างมากในปัจจุบัน สายตาของทุกภาคส่วนทั่วโลก ไม่ว่าจะผู้คน เอกชน หรือภาครัฐ ก็คงตกไปอยู่ที่เรื่องของ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence: AI ที่มีพัฒนาในอัตราเร่งชนิดที่ว่าสูงมาก จนปัจจุบันได้กลายมาเป็นเครื่องทุ่นแรงที่มีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์ในหลายๆส่วน  

ในโลกทางกายภาพที่ Blend In เข้ากับโลกดิจิทัลอย่างไร้รอยต่อนี้ หากลองสังเกตชีวิตประจำวันของเรา จะพบว่าวันๆหนึ่ง เราต่างได้รับความช่วยเหลือจาก AI ที่มีบทบาทเข้ามาอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตของเราให้ง่ายขึ้น เช่น ไปสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน พอถึงเวลาจ่ายบิล ก็เปิดไลน์ ใช้ Chatbot ขุนทอง เข้ามาช่วยในการหารค่าใช้จ่าย, บันทึกรายรับรายจ่ายจากแอป เหมียวจด ที่อ่านสลิปแล้วทำการประมวลผลให้โดยอัตโนมัติ, การตรวจเช็คแกรมมาร์ในงานเขียนภาษาอังกฤษผ่านโปรแกรม Grammarly, การใช้เอฟเฟคเปลี่ยนเสียงเวลาอัดคลิปใน TikTok หรือการถามข้อสงสัย หรือขอให้ช่วยในการทำงาน คิดไอเดียผ่าน ChatGPT 

ตัวอย่าง Application และโปรแกรมที่ยกมาข้างต้นนี้ ล้วนถูกสร้างขึ้นด้วยการพัฒนาโมเดลและเทคโนโลยีของ AI ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้ AI เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา และประมวลผลระบบในการดำเนินงานขององค์กรในหลายภาคส่วน เช่น การใช้ AI มาช่วยในระบบปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์, ใช้ในการวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) เพื่อประโยชน์ด้านแผนดำเนินงานและ Solution ทางธุรกิจต่างๆ รวมถึง การสร้างสรรค์ระบบอัตโนมัติ นวัตกรรมอื่นๆขึ้นมาใหม่ เพื่อ Transformation ยกระดับชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น

ซึ่งการที่ AI มีความชาญฉลาดจนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ซ้ำแล้วยังเข้ามาทดแทนการทำงานของมนุษย์ได้ในหลายๆ Field แล้ว ทำให้ทั้งโลก เกิดการตั้งคำถามว่าในทศวรรษหน้า อนาคตของ AI จะทรงพลังขนาดไหน จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงและ Disruption เนื้องาน หรือ Infrastructure ในแง่มุมไหนบ้าง สังคมที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วยจะมีอะไรมารองรับการพัฒนาของ AI แล้วเรามนุษย์แบบเราควรจะเตรียมรับมืออย่างไรดี
 


AI ในทศวรรษหน้า

หากจะถามหาคำตอบในเรื่องของ AI คนที่จะให้ข้อมูลได้น่าเชื่อถือที่สุด ก็คงจะเป็นบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG บริษัทที่พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับเครือธนาคารกสิกรไทย เพื่อสร้าง Solution เทคโนโลยีทางการเงินที่รองรับไปกับพัฒนาการของโลก ซึ่งมีตัวอย่างยืนยัน อย่างการที่บริษัทเคยตั้งเป้าว่าจะเป็นสุดยอดองค์กรเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ มุ่งเน้นการเสริมกำลังบุคลากรเทคโนโลยี และพัฒนานวัตกรรมการเงินใหม่ๆออกมาภายในปี 3 ปี (2568) แต่บริษัทสามารถทำผลงานบรรลุเป้าหมายทั้งหมดเร็วกว่าที่ตั้งไว้ 2 ปี (2566) ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ได้จากนวัตกรรมใหม่ที่บริษัทพัฒนาขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น MAKE by KBank, ขุนทอง, เหมียวจด รวมถึงธุรกิจใหม่จาก KX อย่าง Kubix และ Coral (NFT Marketplace) และการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพและกองทุน Deep Tech ผ่าน KXVC อีกด้วย

อีกทั้งในปีนี้ KBTG มีการตั้งเป้าว่า อีก 3 ปีข้างหน้าต่อจากนี้ บริษัทตั้งเป้าที่จะขยายศักยภาพขององค์กรด้วย “AI” โดยสร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์เป็นสำคัญ ทั้งการดำเนินงานและแนวคิดของ KBTG จึงเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญถึงแนวโน้มพัฒนาการของ AI ในทศวรรษหน้า


 
ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า

 “ทุกครั้งที่มีการอุบัติขึ้นของเทคโนโลยี โลกจะเปลี่ยน และจะเปลี่ยนไปอย่างไม่มีวันย้อนกลับ”  

ซึ่ง ดร.ทัดพงศ์ ได้กล่าวถึง 3 ประเด็นสำคัญ ที่ AI จะสร้าง Big Impact ในทศวรรษหน้าว่า

1. Economic Growth มีการประมาณการว่าในทศวรรษหน้า AI จะมีส่วนในการสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างน้อย 0.4% ของ GDP โลก ซึ่ง GDP มีความสำคัญอย่างแนบแน่นต่อชีวิตผู้คนในด้านความเป็นอยู่ และการพัฒนาในแต่ละประเทศ ทำให้ AI มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทใหญ่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกอย่างมีนัยสำคัญอย่างมาก เช่นการนำ AI เข้ามาใช้ในทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง หรือมีการ Reset ขั้วอำนาจเกิดขึ้น ซึ่งฝ่ายที่เป็นผู้นำทางด้าน AI จะมีความได้เปรียบ

2. เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะในการทำงาน หากย้อนไปช่วงสมัยก่อน ที่เกิดการอุบัติขึ้นของพัฒนาการทางเทคโนโลยีสมัยนั้นอย่างไฟฟ้า เช่น เครื่องจักรไอน้ำ-รถไฟฟ้า ก็เกิดการ Distruption ของหน้าที่ในการทำงาน แต่ความแตกต่างคือสิ่งที่ไฟฟ้ามาเปลี่ยน คือการ Distruption ในกลุ่มของ Blue Collar หรือแรงงานที่ต้องใช้คน (คนงานประเภทที่ใช้กำลังกายในการทำงาน) แต่ในยุคของ AI ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ AI จะเข้ามา Distrupt สกิลงานในกลุ่ม White Collar ที่เป็นกลุ่มคนทำงานที่ใช้ทักษะและความสามารถ ซึ่งมีรายงานวิจัยว่า 80% ของพนักงานในสหรัฐฯ จะถูก AI ทำการ Automated งานออกไปอย่างน้อย 10% หรือก็คือในงานที่พนักงานคนหนึ่งต้องทำที่คิดเป็น 100% AI จะเข้ามาแทนที่ (ช่วยทำงานให้) 10% และทำให้งาน 10% นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ 20% ของคนทั้งหมด จะสามารถเอา AI มาช่วยงานของตัวเองได้ถึง 50%

3. Business Ecosystem กล่าวคือ AI จะเข้ามาเปลี่ยนระบบการงานทุกภาคส่วนทั้ง Ecosystem ซึ่งผู้ที่จะดำรงอยู่ในโลกธุรกิจทศวรรษหน้าที่มีความเชื่อมโยงกันและกัน จะต้องมีการใช้ AI เข้ามาเป็นส่วนขับเคลื่อนในการดำเนินงานขององค์กร

โดยจากในมุมของ KBTG ที่เป็นกลุ่มแรกๆที่คลุกคลีและนำเอา Machine Learning เข้ามาใช้ในการทำงาน การที่เทคโนโลยีอุบัติขึ้นมานั้น สิ่งที่จะทำให้เราเท่าทันพัฒนาการเหล่านี้คือการ “Re-Skill” เพราะผู้นำของแต่ละยุคที่เกิดการ Disruption ของเทคโนโลยี จะมี 3 สิ่งสำคัญ คือ 1.Education and Re-skilling 2.Supporting Infrastructure 3.Market Oriented Economy

1.Education and Re-skilling 
การ “Learn, Unlearn, Relearn” แบ่งออกเป็น  Learn การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น การเปิดใจทำความรู้จักในเรื่องของ AI Unlearn ไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้ในอดีต เช่น สามารถลบทักษะหรือความรู้เก่าๆที่ใช่ไม่ได้ เนื่องจากมีสิ่งใหม่ (Distruption) เข้ามาแทนที่ และ Relearn ที่หลังจากเราละทิ้งสิ่งเก่าที่เคยเรียนรู้มาแล้ว ก็ค้นหาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเข้ามาทดแทน และเรียนรู้สิ่งที่เคยรู้มาก่อนหน้านี้ด้วยมุมมองใหม่อีกที เพื่อพัฒนาทักษะความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.Supporting Infrastructure
การวาง Infrastructure หรือโครงสร้างใหม่ที่มีการเอา AI เข้ามาใช้ เช่น การทำ Data Labeling, Computing Process, การทดสอบ AI เข้ามาทำงาน (อย่างการทำ A/B Testing เพื่อวัดประสิทธิผลหา Use Caseใหม่ๆที่จะส่งผลดีต่อบริษัท) รวมไปถึงการ Scale AI ที่สำเร็จขึ้นใหม่ เป็นต้น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบริษัท หรือภายใต้พื้นที่การจัดการให้มีประสิทธิภาพและ Blend In เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ที่อุบัติขึ้นนี้

3.Market Oriented Economy
หรือการอยู่ใน Ecosystem รอบตัวที่เกื้อหนุนให้เราสามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เช่นมี Venture Capital เป็นทุนเข้ามาสนับสนุน AI Tech ในโปรเจค Start-Up ที่เกี่ยวข้องกับ AI มีพื้นที่ให้สามารถทดสอบเทคโนโลยี เพื่อเกิดการไกด์ไลน์ และเกิดเป็น Use Case เอามาปรับใช้จริง ซึ่งทาง KBTG มีเป้าหมายที่จะเป็น 100% AI Literacy ให้ทุกคนในองค์กรมีความรู้ทางด้าน AI และมีแผนงานในอนาคตที่จะสร้าง AI Literacy กระจายไปทั่วประเทศไทย เช่นการสร้างเทคโนโลยีล่าสุดอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ได้แก่ FinLearn แพลตฟอร์มการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI พร้อมฟีดแบ็คแบบเรียลไทม์ และ Ainu เทคโนโลยีที่ใช้ตรวจและยืนยันตัวตนด้วย AI เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า AI ในทศวรรษหน้า จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคลและสังคมทั่วโลกโดยรวมแทบจะทุกภาคส่วน และเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความก้าวหน้าที่อุบัติขึ้นใหม่นี้ เช่นเดียวกับพัฒนาการที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเช่น การเกิดขึ้นของไฟฟ้า หรืออินเตอร์เน็ต ที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆตามมามากมาย และก็ต้องมีอะไรบางอย่างที่หมดอายุและเฟดออกไปจากบทบาทโลกสำหรับการพัฒนา หรือการ Transformation ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ในประเด็นความกังวลที่บางคนอาจมองว่า AI จะเข้ามาแย่งอาชีพของมนุษย์ หรือ AI เป็นภัยคุกคามของมนุษยชาตินั้น แท้จริงแล้วคอนเซปต์ของ AI ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแบ่งเบามนุษย์ และเพิ่มขีดความสามารถของการทำงานที่คอยผลักดันให้โลกก้าวพัฒนาได้มากขึ้น และมนุษย์แบบเราก็เพิ่มขีดความสามารถของตัวเองได้ จากการใช้ AI ให้เป็น ตรงตามคำกล่าวของ นายเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า 

“คนที่ใช้ AI เป็น จะเข้ามาแทนที่คนที่ใช้ AI  ไม่เป็นต่างหาก”


 
ซึ่งแนวคิดนี้ก็ตรงตามเป้าหมายของ KBTG ที่จะขยายศักยภาพขององค์กรด้วย AI โดยคงมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง หรือภายใต้แนวคิด Human-first x AI-first Transformation ที่ดูแลและให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นสำคัญสุด ด้วยการตั้งเป้าให้พนักงาน “ทุกคน” ในองค์กรมีความรู้ทางด้าน AI หรือ 100% AI Literacy เพราะการที่บริษัทสร้าง Transformation ก็ต้องเกิด Impact ที่ดีต่อผู้คน จุดตั้งต้นทุกอย่างจึงต้อง Spin Off ออกมาจากการเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งทาง KBTG ต้องนำ AI มาใช้และทำ Transformation เพื่อยกระดับชีวิตของผู้คนที่เราเข้าไปสัมผัสในทุกๆที่ ซึ่งตอนนี้บริษัท เริ่มนำ AI และ Machine Learning มาใช้ในภายในทุกภาคส่วนขององค์กร ตั้งแต่ฝ่าย Sales, Marketing, Customer on Boarding, Customer Service, Business Operation, Risk Management, Knowledge Management, IT Development and Operation, Asset Management และ Wealth Management โดย AI จะเริ่มเข้าไปในทุกจุดเพื่อ Empower ลูกค้า และพนักงานในบริษัททุกคน

ทุกๆการพัฒนา หรือการเกิดขึ้นใหม่ ก็ย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากเราเปิดใจ มองอย่างตามความเป็นจริง เราจะเห็นว่าการพัฒนา AI คือการสร้าง Augmented Intelligence หรือการเพิ่มระดับขีดความสามารถให้กับเรา  ด้วยเทคโนโลยีถูกสร้างมาเสริมสร้างและขยายขีดความสามารถเพื่อมนุษย์
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 ก.พ. 2567 เวลา : 19:59:00
08-10-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ October 8, 2024, 9:15 am