SET ฟื้นตัวเด่น จากภาวะ oversold สร้างสัญญาณบวกทางเทคนิคในระยะสั้น ทำให้ดัชนีมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อ โดยมีแนวต้านถัดไปที่ 1380 และ 1385 จุด ตามลำดับ ด้านแนวรับระยะสั้นอยู่ที่ 1365 และ 1360 จุด ตามลำดับ คาดยังเป็นจุดรองรับได้ โดยไม่ต่ำกว่ายังเป็นสัญญาณที่ดีอยู่ในระยะสั้น
ประเด็นสำคัญ
• ปธ. Fed ระบุ Fed จะเริ่มปรับลด ดบ. ในปีนี้ หาก ศก. ปรับตัวตามที่คาด แต่ไม่ได้บ่งชี้ว่าจะปรับลงเมื่อใด เนื่องจากการควบคุมเงินเฟ้อยังไม่แน่นอน และระบุด้วยว่า ศก. สหรัฐไม่ได้ใกล้เข้าสู่ภาวะถดถอย
• การจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐ ก.พ. เพิ่มขึ้น 1.4 แสนตำแหน่ง ต่ำกว่าตลาดคาด ขณะที่ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ม.ค. ลดลงสู่ระดับ 8.86 ล้านตำแหน่ง ต่ำสุดนับตั้งแต่ มี.ค. 64 แต่สูงกว่าตลาดคาด
• EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นต่ำกว่าคาด ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินและน้ำมันกลั่นลดลงเกินคาด บ่งชี้อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น
• หุ้น NYCB วานนี้ลดลง 42% ก่อนจะปิดบวก 7.5% หลังได้รับเงินเพิ่มทุน 1 พันล้านเหรียญ โดยก่อนหน้านี้ NYCB ถูก Fitch ลดอันดับเครดิตสู่ระดับขยะ หลังพบความเสี่ยงปล่อยกู้อสังหาฯ เชิงพาณิชย์ ด้าน Moody’s คาดต้องเพิ่มตั้งสำรองการสูญเสียเครดิตในอีก 2 ปีข้างหน้า
• ธนาคารโลกเตรียมปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้จากเดิมที่คาด 3.2% จากงบประมาณล่าช้า ผลกระทบ ศก. โลก-จีนชะลอตัว
• กกร. ระบุ ศก. ไทยยังอ่อนแอ การส่งออกฟื้นตัวช้า ท่องเที่ยวยังไม่กลับเข้าสู่ระดับเดิม ขณะที่กำลังซื้อใน ปท. ยังถูกกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง คาดหวังงบรายจ่ายรัฐปี 2567 หนุนการใช้จ่าย-จ้างงาน
• ธปท. ระบุผลสอบแบงก์รัฐ พบหนี้เสีย-หนี้ค้างชำระอยู่ในระดับสูง เรียกเก็บค่าธรรมเนียมผิดหลักเกณฑ์ สศค. ระบุหนี้เสียสูง 2.94 แสนลบ.
• คลังหารือมหาดไทยปรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เสนอ ธพ. ลดความเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ ผู้ประกอบการอสังหาฯ เสนอรัฐลดการเก็บภาษีที่ดินแบบขั้นบันไดปีนี้ 50% เสนอ ธปท. ผ่อนปรนหลักเกณฑ์ LTV
กลยุทธ์การลงทุน
ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดและการผลิตที่หดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดคาดตัวเลขเงินเฟ้อ ก.พ. ของไทยจะมีแนวโน้มติดลบเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีแรงหนุนจากความคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัดไป ส่วนการประชุมนโยบายการเงินของ ECB ตลาดคาดจะยังคงที่ระดับ 4.0% ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy”
ล็อคเป้าลงทุน
Weekly Portfolio : ช่วงสั้น SET ยังรอปัจจัยหนุนใหม่เข้ามากระตุ้นบรรยากาศลงทุน และจับตาแรงกดดันจากความเสี่ยงโลก โดยเฉพาะจีน กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy” ใน 4 ธีมหลัก ดังนี้
1) หุ้นเก็งกำไรจากแรงซื้อกลับจากทำ Cover Short และ Fund Flow ไหลกลับ อีกทั้ง ตลท. มีแผนออกมาตรการคุม Short Sales มากขึ้น ขณะที่พื้นฐานยังแข็งแกร่ง เลือก AOT KBANK BBL PTT
2) หุ้นขนาดเล็กที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง โดยกำไรปี 2567 ยังเติบโตดี YoY และมองราคาหุ้นผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เลือก AU ONEE SECURE KLINIQ HTC
3) หุ้นปันผลที่คาดให้ Div. Yield สูงกว่า 4% อีกทั้ง DPS และ Div. payout ratio มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งมองหนึ่งในทางเลือกลงทุนเพื่อสร้างกระแสเงินสดที่ดีให้แก่พอร์ตลงทุน แนะนำ BBL KTB AP ADVANC RJH DRT
4) นักลงทุนระยะยาวแนะนำลงทุนสะสมแบบ DCA เนื่องจากมองเป็นจังหวะที่ดีที่สุด หลัง SET ปรับลงแรงจนความเสี่ยงลดลงไปมาก และราคาหุ้นอยู่ในระดับ Undervalue มาก โดยเลือก BBL BDMS BEM CPALL PTT และ SCC ซึ่งเป็นหุ้น SET100 ซึ่งเป็นผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรม และมี ESG Ratings ระดับ AAA/AA, Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี และผลการดำเนินงานยังแข็งแกร่ง
DAILY TOP PICKS
BCP ช่วงสั้นได้ sentiment บวกจากราคาน้ำมันปรับขึ้น ขณะที่ 1Q67 คาดกำไรได้แรงหนุนจาก GRM ที่แข็งแกร่งขึ้นและและราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยปี 2567 คาดกำไรปกติจะพลิกเติบโต 12%YoY จากส่วนแบ่งกำไรจาก BSRC และธุรกิจ E&P ที่ดีขึ้น อีกทั้ง Valuation ยังไม่แพง ที่ PER 67F < 5 เท่า
CPALL 1Q67TD ยอดขายสาขาเดิมโตเด่นสุดในกลุ่ม คาดหนุนให้ 1Q67 กำไรจะเติบโต YoY ขณะที่ปี 2567 คาดกำไรเติบโตต่อเนื่อง 17.8%YoY สู่ระดับ 2.08 หมื่นลบ. หนุนจากยอดขายและมาร์จิ้นที่ดีขึ้นจากธุรกิจ CVS และส่วนแบ่งกำไรที่ดีขึ้นของ CPAXT ซึ่งยังไม่ได้รวม upside จากมาตรการกระตุ้น ศก. ใหม่ๆ
ข่าวเด่น