เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
บล.อินโนเวสท์วิเคราะห์ "ระวังแรงขายอีกครั้งบริเวณ 1400 จุด"


 

คาด SET มี upside จำกัด บริเวณแนวต้าน 1392 จุด และแนวต้านสำคัญเดิมบริเวณ 1400 จุด ซึ่งการขึ้นทดสอบครั้งก่อนยังไม่ผ่าน ดังนั้นให้ระวังแรงขายบริเวณแนวต้านดังกล่าวให้กลับมาอ่อนตัว ด้านแนวรับอยู่ที่ 1380 และ 1370 จุด ตามลำดับ ทั้งนี้ กรณีขึ้นทะลุ 1400 จุด จะเป็นสัญญาณบวกต่อ โดยมีแนวต้านถัดไปที่ 1410 จุด

ประเด็นสำคัญ

• ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ก.พ. ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.75 แสนตำแหน่ง สูงกว่าคาด ส่วนอัตราการว่างงาน ก.พ. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 3.9% หลังทรงตัวที่ระดับ 3.7% เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน

• BOJ กำลังพิจารณาการยกเลิกมาตรการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) และจะแจ้งแผนการล่วงหน้าเกี่ยวกับจำนวนการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) แทนการใช้มาตรการ YCC

• ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ก.พ. ของจีนปรับขึ้น 0.7%YoY พลิกฟื้นขึ้นหลังจากลดลง 0.8% ในเดือน ม.ค. ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ก.พ. ลดลง 2.7%YoY หลังจากลดลง 2.5% ในเดือน ม.ค.

• สหรัฐพิจารณาคว่ำบาตรบริษัทเทคโนโลยีของจีนหลายแห่ง ขณะที่จีนระดมทุนกว่า 2.7 หมื่นล้านเหรียญสำหรับกองทุนชิปขนาดใหญ่ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีรีบมือสหรัฐที่พยายามขัดขวางความก้าวหน้าของจีน

• TSMC เตรียมลงทุน 4 หมื่นล้านเหรียญเพื่อสร้างโรงงาน 2 แห่งในรัฐแอริโซนา และได้เจรจาเรื่องเงินอุดหนุนกับรัฐบาลสหรัฐ คาดจะได้รับเงินอุดหนุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญ

• กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2567 สูงสุด 5.43 บ./หน่วย ต่ำสุดคงเดิม 4.18 บ./หน่วย ด้าน ก.พลังงานระบุ ปชช. ใช้ไฟสูงสุดอยู่ที่ 32,704 MW และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากปีนี้ฤดูร้อนมาเร็ว ทั้งยังสั่งการให้ กฟผ.ดูแลมิให้เกิดไฟฟ้าดับ

• สบน. ระบุระดับหนี้สาธารณะปรับขึ้นมาอยู่ที่กว่า 62% ต่อ GDP หลังรัฐบาลกู้เงินเพื่อนำมาใช้ดูแล ศก. ในช่วงโควิด แต่ด้านความเสี่ยงการบริหารหนี้ยังอยู่ในระดับบริหารจัดการได้ และอยู่ในกรอบวินัยการคลัง

กลยุทธ์การลงทุน

ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยยังผันผวนในกรอบ โดยยังมีแนวต้านสำคัญที่บริเวณ 1400 จุด หลังในประเทศยังไร้ปัจจัยใหม่ชี้นำ ขณะที่มองว่าตัวเลขเศรษฐกิจของต่างประเทศที่จะประกาศสัปดาห์นี้ อาทิ GDP 4Q66 ของญี่ปุ่นและยอดค้าปลีกของสหรัฐ จะยังอ่อนแอ ส่วนดัชนี CPI (เงินเฟ้อ) ก.พ. ของสหรัฐ อาจจะเติบโตสูงกว่าตลาดคาดการณ์ ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อความคาดหวังการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy”

ล็อคเป้าลงทุน

Weekly Portfolio : ช่วงสั้น SET ยังผันผวนในกรอบ หลังยังไร้ปัจจัยชี้นำใหม่ กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy” ใน 4 ธีมหลัก ดังนี้

1) หุ้นเก็งกำไรจากแรงซื้อกลับจากทำ Cover Short และ Fund Flow ไหลกลับ อีกทั้ง ตลท. มีแผนออกมาตรการคุม Short Sales มากขึ้น ขณะที่พื้นฐานยังแข็งแกร่ง เลือก AOT KBANK BBL PTT

2) หุ้นเก็งกำไรหากเงินเฟ้อ ก.พ. ของสหรัฐ ออกมาต่ำกว่าตลาดคาด ซึ่งคาดส่ง Sentiment บวกต่อหุ้นที่ได้อานิสงส์จากดอกเบี้ยขาลง เลือก AP CPALL GULF TIDLOR

3) หุ้นเก็งกำไรขนาดเล็กที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง โดยกำไรปี 2567 ยังเติบโตดี YoY และมองราคาหุ้นผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เลือก AU ONEE SECURE KLINIQ HTC

4) นักลงทุนระยะยาวแนะนำลงทุนสะสมแบบ DCA หลังราคาหุ้นอยู่ในระดับ Undervalue มาก โดยเลือก BBL BDMS BEM CPALL PTT และ SCC ซึ่งเป็นหุ้น SET100 ซึ่งเป็นผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรม และมี ESG Ratings ระดับ AAA/AA, Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี และผลการดำเนินงานยังแข็งแกร่ง

DAILY TOP PICKS

SCGP มองราคาหุ้นปรับลงสะท้อนปัจจัยลบไปแล้ว ขณะที่ 1Q67 คาดกำไรปกติจะปรับตัวดีขึ้น หนุนจากการฟื้นตัวของธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากราคากระดาษบรรจุภัณฑ์ภายในประเทศจีนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการนำเข้ากระดาษบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะช่วยจำกัด downside risk

TIDLOR มองกำไรจะฟื้นตัวแข็งแกร่ง คาดกำไรปกติปี 2567 จะพลิกเติบโต 18.7%YoY หนุนจากสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เติบโตดี และ credit cost ที่ลดลงหลังจาก NPL เกิดใหม่น่าจะทำจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2566 ขณะที่ปี 2568 คาดกำไรโตต่อ 25%YoY หลักๆ เกิดจาก credit cost ที่ลดลง
 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 11 มี.ค. 2567 เวลา : 10:43:31
26-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 26, 2024, 1:38 pm