- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวลดลง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ได้ปรับเพิ่มแนวโน้มการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ อีก 260,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 13.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าอาจปรับเพิ่มขึ้นเพียง 170,000 บาร์เรลต่อวัน การคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นอาจเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด
+/- สำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.พ. 67 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.2% YoY และเพิ่มขึ้น 0.4% MoM ขณะที่ ดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.8% YoY และ 0.4% MoM โดยตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และอาจเป็นปัจจัยสำคัญต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ยังคงมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงเดือน มิ.ย. 67
+ หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 8 มี.ค. 67 ปรับตัวลดลง 5.5 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.4 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันเบนซินในภูมิภาคเอเชียจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ ในช่วงฤดูร้อนนี้ อย่างไรก็ตาม ตลาดถูกกดดันจากอุปสงค์ในแถบเอเชียที่อาจปรับตัวลดลงจากปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศในหลายประเทศ รวมถึงการเข้าสู่ช่วงรอมฎอนของชาวมุสลิม
ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอินโดนีเซียนำเข้าน้ำมันดีเซลจากสิงคโปร์ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน โดยปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.53 แสนตัน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรมอย่างไรก็ตาม ราคาถูกกดดันจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลของเกาหลีใต้ที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข่าวเด่น