คาด SET มีแนวโน้มอ่อนตัว โดยคาดได้รับปัจจัยกดดัน หลังเงินเฟ้อสหรัฐในเดือน มี.ค. สูงกว่าคาด สร้างความไม่แน่นอนต่อการลดดอกเบี้ยของเฟด ด้านแนวรับอยู่ที่ 1400 และ 1390 จุด ตามลำดับ ขณะที่ภาพรวม มีแนวรับหลักบริเวณ 1380-1385 จุด หากไม่ต่ำกว่า ยังเป็นสัญญาณที่ดีอยู่ ด้านแนวต้านอยู่ที่ 1410 และ 1420 จุด ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญ
• สหรัฐรายงานดัชนี CPI ทั่วไป มี.ค. ปรับขึ้น 3.5%YoY ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน มี.ค. ปรับขึ้น 3.8%YoY สูงกว่าตลาดคาด ทำให้ นลท. กังวลว่าเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจทำให้ Fed ยังไม่ตัดสินใจลด ดบ. ใน มิ.ย.
• รายงานการประชุม Fed วันที่ 19-20 มี.ค. ระบุ คกก. Fed กังวลเงินเฟ้ออาจไม่ชะลอตัวลงสู่เป้าหมาย 2% ในระยะเวลาอันใกล้ และเห็นว่า Fed อาจจำเป็นต้องตรึง ดบ. ที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้
• EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 5.8 ล้านบาร์เรลมากกว่าคาด แต่ นลท. กังวลวิกฤต ตอ. กลางลุกลามหลังมีรายงานว่าบุตรชาย 3 คนของผู้นำกลุ่มฮามาสถูกกองทัพอิสราเอลสังหารในกาซา
• Fitch Ratings ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของจีนลงสู่เชิงลบ จากมีเสถียรภาพ โดยระบุถึงความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจีนอาจจะเผชิญปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลพยายามกอบกู้ ศก. ให้ฟื้นตัวจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์
• กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คง ดบ. นโยบายไว้ที่ 2.50% ระบุ ศก. มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าปีก่อน และยังมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐ-มาตรการกระตุ้น ศก. คาดเงินเฟ้อจะปรับขึ้นเข้ากรอบเป้าหมายปลายปีนี้
• รัฐบาลแถลงแจกเงินดิจิทัลใน 4Q67 วงเงิน 5 แสนลบ. ให้ผู้มีสิทธิ์ 50 ล้านคน รายได้ไม่เกิน 8.4 แสนบ.ต่อปี หรือมีเงินฝากไม่เกิน 5 แสนบ. คาดส่งผลให้ GDP เพิ่มจากฐาน 1.2-1.8% ทั้งนี้แหล่งเงินที่ใช้จะมาจาก 3 แหล่ง คือ เงินกู้ ธ.ก.ส. และงบประมาณปี 67-68
• ม. หอการค้าไทยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค มี.ค. 67 อยู่ที่ 63.0 ลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือนตั้งแต่ ส.ค. 66 กังวล ศก. ไทยฟื้นตัวช้า ราคาพลังงานสูงขึ้น ศก. โลกชะลอตัว และสงครามใน ตอ. กลางยืดเยื้อ
กลยุทธ์การลงทุน
ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสฟื้นตัว จากความคาดหวังเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการผลิตของจีนและสหรัฐ ขณะที่ในประเทศ ผลการประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ที่มีข้อสรุปแจกเงินดิจิทัลที่ชัดเจนขึ้น คาดจะเป็นปัจจัยกระตุ้นบรรยากาศลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy”
ล็อคเป้าลงทุน
ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยมีโอกาสฟื้นตัวแต่ Upside จำกัด ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy” ใน 4 ธีมหลัก ดังนี้
1) หุ้นเก็งกำไรหลังราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นทะลุ US$85/bbl หลังกังวลอุปทานตึงตัวจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง ขณะที่หวังเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐและจีนจะหนุนอุปสงค์ โดยผู้รับความเสี่ยงได้สูง แนะนำ Trading PTTEP (ราคาน้ำมันระยะยาวเพิ่มทุก US$1 /bbl บวกต่อราคาเป้าหมาย 5 บาทต่อหุ้น) และ TOP (ค่าการกลั่นและกำไรสต๊อก) ขณะที่มองลบต่อกลุ่มค้าปลีกน้ำมัน (ค่าการตลาดแคบ) และกลุ่มสายการบิน (ต้นทุนเพิ่ม) อย่างไรก็ดี หากราคาน้ำมันปรับขึ้นเกิน US$95/bbl แนะนำให้ “ทยอยขายทำกำไร”
2) หุ้นที่ได้อานิสงส์บวกจากธุรกิจท่องเที่ยวไทยที่จะดีขึ้นตามผลฤดูกาล เนื่องจากกำลังเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ไทย ซึ่งปีนี้รัฐบาลประกาศจัด 21 วัน เริ่ม 1-21 เม.ย.นี้ (จากข้อมูลในอดีต 13 ปีทีผ่านมาหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวมักจะให้ผลตอบแทนที่ดีในเดือน เม.ย. เฉลี่ยราว 2.5%MoM) เลือก AOT ERW MINT CPALL
3) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการผลิต (โดยเฉพาะจีน) และผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่ได้สะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าว เลือก GFPT KCE SCGP IVL
4) หุ้นเก็งกำไรจากภาวะดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะอยู่ในช่วงขาลง เลือก กลุ่มไฟแนนซ์ (TIDLOR) กลุ่มสาธารณูปโภค (GULF)
DAILY TOP PICKS
BJC มองเป็นหนึ่งในหุ้นเด่นที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งจะหนุนให้ยอดขายและกำไรจะปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 4Q67 เนื่องจากบริษัทมียอดขาย 20% ในงบการเงินรวมมาจากร้านค้าขนาดเล็กของ BigC B2B และร้าน “โดนใจ” ซึ่งเป็นร้านของผู้ค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่ซื้อสินค้าจาก BigC
BEM มองกำไรมีโมเมนตัมฟื้นตัวดีสุดในกลุ่มขนส่งทางบก อีกทั้งยังเห็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นที่จะทยอยเข้ามา เช่น การปรับขึ้นค่าโดยสาร MRT ซึ่งคาดจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการต้นเดือน มิ.ย. 67, ข้อสรุปโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก และโครงการก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 (double deck) ใน 2H67
ข่าวเด่น