ในภาวะดอกเบี้ยสูงเช่นนี้ ลูกหนี้คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กู้มาแล้วกำลังผ่อนชำระอยู่ หรือกำลังตัดสินใจกู้เงินไม่ว่าจะเป็นเพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือทำธุรกิจ ก็คงต้องคิดหนักกว่าเดิม เพราะธนาคารทั้งหลายต่างก็ขึ้นดอกเบี้ยตามต้นทุนการปล่อยกู้ที่เพิ่มสูงขึ้น
ด้วยความร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) และ Thairath Money ในแคมเปญ #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ที่อยากให้คนไทยมีการเงินดีชีวิตดี เพราะมีความรู้ทางการเงิน จึงอยากนำเสนอตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้ทุกคนสามารถเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการรีไฟแนนซ์หรือรีเทนชัน จนนำไปสู่การจัดการหนี้ก้อนใหญ่ได้มีประสิทธิภาพและปลดภาระหนี้ได้ไวขึ้น
หนี้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามประเภทดอกเบี้ยคือ
1. หนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ หนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้สินเชื่อเช่าซื้อรถ หนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งมักจะไม่ได้ผลกระทบจากการที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น เนื่องจากได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นตัวเลขที่แน่นอนไว้ตั้งแต่เริ่มกู้เงินแล้ว
2. หนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อเพื่อธุรกิจ เป็นต้น โดยมักกำหนดเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวอ้างอิงกับอัตรา MLR, MOR, MRR ของแต่ละธนาคารเอง เมื่ออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเหล่านั้นมีการปรับขึ้น หนี้ที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวจะถูกคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ภาระการผ่อนหนี้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น หรือสินเชื่อประเภทที่กำหนดให้จ่ายค่างวดเป็นจำนวนคงที่อย่างสินเชื่อบ้าน แต่จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายมากขึ้นทำให้ตัดเงินต้นได้ลดลง จึงเป็นผลให้หนี้หมดช้าลง และต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมตลอดอายุสัญญาเป็นจำนวนที่มากขึ้นนั่นเอง
กรณีที่คุณกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน สำหรับสินเชื่อบ้าน นอกจากจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเนื่องจากภาวะตลาดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของสินเชื่อบ้านคือธนาคารส่วนใหญ่มักมีโปรโมชันดอกเบี้ยถูกในช่วง 3 ปีแรก และปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นหลังจากสัญญาครบ 3 ปี ซึ่งมักจะเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ทำให้จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวดสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ
ยิ่งถ้าหนี้คงเหลือเยอะ ดอกเบี้ยยิ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด จึงมักมีคำแนะนำให้ลูกหนี้เจรจาขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมเมื่อผ่อนมาครบ 3 ปี ที่เรียกว่า รีเทนชัน (Retention) หรือลองพิจารณาเทียบกับการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ ซึ่งมักได้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าการขอรีเทนชัน แต่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการต้องจดจำนองกับที่ใหม่ ซึ่งต้องนำค่าใช้จ่ายนี้มาคำนวณรวมแล้วเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยที่ประหยัดได้จากการรีไฟแนนซ์ว่าแบบไหนที่คุ้มค่ากว่า
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เรามาดูความแตกต่างของการผ่อนชำระไปเรื่อยๆ ตลอดอายุสัญญา เปรียบเทียบกับการรีเทนชันและการรีไฟแนนซ์กัน
ตัวอย่าง :
ภาระหนี้คงเหลือ : 3,000,000 บาท
อัตราดอกเบี้ย แบ่งเป็น 3 กรณี
กรณีผ่อนกับธนาคารเดิม : 6.425% (เป็นดอกเบี้ยลอยตัวอ้างอิงกับ MLR)
กรณี Retention กับธนาคารเดิม : 3.8% (เป็นดอกเบี้ยลอยตัวอ้างอิงกับ MLR)
กรณี Refinance ไปธนาคารใหม่ : 3.2% (เป็นดอกเบี้ยลอยตัวอ้างอิงกับ MLR)
ค่าธรรมเนียมจดจำนอง : 1% ของวงเงินจำนอง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
ค่าอากรแสตมป์ : 0.05% ของวงเงินกู้
ค่างวด : 20,000 บาท
(กำหนดให้ค่างวดเท่ากัน เพื่อให้เปรียบเทียบกันได้ ว่าหากจ่ายจำนวนเท่าๆ กัน แต่ละวิธีให้ผลต่างกันอย่างไร)
จากเคสตัวอย่าง เมื่อผ่านไป 3 ปี การรีไฟแนนซ์จ่ายดอกเบี้ยน้อยที่สุดจึงทำให้เงินต้นลดลงมากที่สุด
เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายในการจดจำนองแล้ว การรีไฟแนนซ์เสียค่าจดจำนอง + ดอกเบี้ยรวม 298,717 บาท ขณะที่การรีเทนชันมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยรวม 320,281 บาท ส่วนกรณีที่ไม่ทำอะไรเลยและจ่ายชำระไปเรื่อยๆ ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยรวม 564,126 บาทเลยทีเดียว ดังนั้นจากตัวอย่างนี้การรีไฟแนนซ์จะให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ามากที่สุด
ทีนี้ลองมาดูต่อว่า หากไม่ทำอะไรเลยและผ่อนชำระไปเรื่อยๆ จนจบ เปรียบเทียบกับการรีเทนชันและรีไฟแนนซ์ทุกครั้งเมื่อผ่อนครบ 3 ปี (โดยสมมติให้อัตราดอกเบี้ยในแต่ละกรณีเท่าเดิมตลอด) จะให้ผลที่ต่างกันขนาดไหน
จากตัวอย่างการรีไฟแนนซ์ยังคงเสียดอกเบี้ยน้อยที่สุด และระยะเวลาการผ่อนสั้นที่สุด
เมื่อคิดค่าธรรมเนียมการจำนองและค่าอากรแสตมป์ด้วย การรีไฟแนนซ์เสียค่าใช้จ่าย + ดอกเบี้ยรวม 1,003,696 บาท ใช้เวลาผ่อนชำระ 16 ปี 4 เดือน กรณีรีเทนชันจะจ่ายดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 1,169,562 บาท และผ่อนชำระนาน 17 ปี 5 เดือน ขณะที่กรณีไม่ทำอะไรเลย จะเสียดอกเบี้ยเป็นเงินทั้งสิ้น 3,086,984 บาท และผ่อนชำระนาน 25 ปี 5 เดือนเลยทีเดียว
หากสังเกตจากตัวอย่างจะพบว่าจริงๆ แล้วการรีเทนชันและรีไฟแนนซ์ให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันไม่มาก
ถ้าอัตราดอกเบี้ยของการรีเทนชันกับรีไฟแนนซ์ใกล้กันมากกว่านี้ผลสรุปอาจเปลี่ยนไป การรีเทนชันอาจคุ้มค่ากว่าการรีไฟแนนซ์ได้ในบางกรณี แต่ทั้งการรีเทนชันและรีไฟแนนซ์ยังคงดีกว่ากรณีที่ไม่ทำอะไรเลย เพราะหากผ่อนจ่ายไปจนครบอาจจะต้องเสียดอกเบี้ยเป็นจำนวนที่มากพอๆ กับยอดหนี้ที่มีอยู่เลยทีเดียว
ดังนั้นเมื่อผ่อนบ้านครบ 3 ปีแล้ว ควรจะลองหาข้อมูลเปรียบเทียบทั้งกรณีรีเทนชันและรีไฟแนนซ์ดูว่าวิธีไหนที่จะช่วยให้เราจ่ายดอกเบี้ยรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ น้อยที่สุด หากสนใจรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเกียรตินาคินภัทร อัตราดอกเบี้ยพิเศษเฉลี่ย 3 ปีแรก เริ่มต้นที่ 3.30% ต่อปี* สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ https://bank.kkpfg.com/th/personal-banking/loan/home-loan/kkp-home-loan-refinance
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
นอกจากนั้น หากสนใจความรู้ด้านการเงินในประเด็นอื่นๆ สามารถร่วมฟังคำแนะนำการวางแผนการเงิน โดยกูรูจาก KKP x Thairath Money ได้ในงาน #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ Money Master by KKP วันที่ 27 เมษายน 2567 เวลา 13:00 - 17:00 น. รับฟังออนไลน์ ผ่าน Facebook KKP, EDGE และ Dime! หรือ Facebook Thairath Money และ YouTube Thairath Money
#เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ #การเงินดีชีวิตดี #KKP #KiatnakinPhatra #ThairathMoney
ข่าวเด่น