คาด SET ได้รับปัจจัยลบจากความกังวลเฟดลดดอกเบี้ยล่าช้า จากเงินเฟ้อที่ยังสูงกว่าที่เฟดตั้งเป้าหมายไว้มาก กดดันดัชนีให้ปรับตัวลง ขณะที่ตลาดยังดูขาดปัจจัยหนุน ด้านแนวรับอยู่ที่ 1355 และ 1350 จุด ตามลำดับ ขณะที่กรอบบนยังถูกจำกัด โดยมีแนวต้านอยู่ที่ 1370 และ 1380 จุด ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญ
• Fed มีมติคง ดบ. ที่ 5.25-5.50% ตามตลาดคาด และประกาศลดวงเงินมาตรการ QT ตั้งแต่ มิ.ย. 67 ขณะที่ ปธ. Fed ส่งสัญญาณ Fed จะไม่ปรับขึ้น ดบ. ในการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 11-12 มิ.ย.
• การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐ เม.ย. โดย ADP เพิ่มขึ้น 1.92 แสนตำแหน่ง สูงกว่าตลาดคาด ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ เม.ย. อยู่ที่ระดับ 97 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง และต่ำกว่าตลาดคาด
• ราคาน้ำมัน Brent ลดลง 3.35%DoD หลัง EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 7.2 ล้านบาร์เรล ขณะที่ตลาดคาดอิสราเอลและกลุ่มฮามาสอาจบรรลุข้อตกลงหยุดยิง หลังสหรัฐและอียิปต์พยายามผลักดันให้มีการเจรจารอบใหม่
• ธปท. ระบุ GDP 1Q67 เติบโต 1%YoY ส่วน GDP มี.ค. 67 ชะลอตัวลง จากอุปสงค์ใน ปท. และภาคท่องเที่ยวที่ลดลง มอง ศก. น่าจะปรับตัวได้ ยืนยันไม่มีการปรับประมาณการ ศก. ลง ตามที่ สศค. ปรับลงก่อนหน้า
• ก.พลังงานระบุสภาพอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้ไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) อยู่ที่ 36,699.9 MW เมื่อ 29 เม.ย. ซึ่งสูงสุดในประวัติศาสตร์การใช้ไฟฟ้าของไทย
• Microsoft เตรียมลงทุน Datacenter ในไทยเพื่อขยายการให้บริการ Cloud ประเมินกลุ่มที่คาดได้ประโยชน์ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมเพื่อเป็นที่ตั้งของการลงทุน โรงไฟฟ้าเพื่อหนุนเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะพลังงานสะอาดสอดคล้องแผน PDP ใหม่ของไทย รวมทั้งกลุ่มโครงข่าย SI และระบบรักษาความปลอดภัยทาง cyber
กลยุทธ์การลงทุน
ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะเปราะบางตามตลาดหุ้นโลก จากความกังวลสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางและเฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยล่าช้ากว่าที่ตลาดคาดไว้เดิมหลังการประชุมของเฟดมีมติคงดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนอัตราการว่างงานของสหรัฐคาดจะทรงตัว ขณะที่การเข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการ 1Q67 ของหุ้นกลุ่ม Real Sector คาดจะมีอัตราการเติบโตต่ำ ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy”
ล็อกเป้าลงทุนประจำสัปดาห์
ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะเปราะบางตามตลาดหุ้นโลก จากกังวลสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางและเฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยล่าช้ากว่าที่ตลาดคาดไว้เดิม ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ “Selective Buy” ใน 3 ธีมหลัก ดังนี้
1) หุ้นเก็งกำไรผลประกอบการ 1Q67 ซึ่งคาดจะมีการเติบโตที่ดี YoY และจะประกาศในช่วงสองสัปดาห์หน้า เลือก HMPRO TRUE GFPT KCE TOP
2) นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ แนะนำหุ้นปลอดภัย (Defensive Stock) ซึ่งพื้นฐานแข็งแกร่ง ผลประกอบการไม่ผันผวนตามเศรษฐกิจ เลือก หุ้นการแพทย์ (BDMS BCH) หุ้นขนส่งทางบก (BEM) หุ้นค้าปลีก (CPALL CPAXT) หุ้นสื่อสาร (ADVANC) หุ้นอสังหาปันผลดี (AP)
3) หุ้นที่สามารถเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากกรณีความไม่สงบในตะวันออกกลาง ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง เลือกหุ้นน้ำมันขั้นต้นอย่าง PTTEP ซึ่งคาดจะได้ประโยชน์โดยตรงจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น และหุ้นโรงกลั่นจะได้ผลบวกผ่านกำไรสต๊อกที่เพิ่มขึ้นเชิงพื้นฐานชอบ BCP (ทั้งนี้หากสถานการณ์ลุกลามไปสู่การสู้รบอย่างเต็มรูปแบบอาจหนุนราคาน้ำมันเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในระยะสั้น เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานของอิหร่านที่คิดเป็น 3-4% ของอุปทานโลก และในกรณีเลวร้ายกระทบการส่งออกน้ำมันผ่านช่องแคบ Hormuz อาจกระทบการส่งออกได้สูงสุดถึงกว่า 17% ของอุปทานโลก) ขณะที่มองลบต่อกลุ่มค้าปลีกน้ำมัน (ค่าการตลาดแคบ) และกลุ่มสายการบิน (ต้นทุนเพิ่ม)
DAILY TOP PICKS
ADVANC 1Q67 กำไรดีเกินคาดจาก SG&A ต่ำกว่าคาด ผลจาก synergy ด้านต้นทุนที่เกิดขึ้นหลังจากเข้าซื้อกิจการ TTTBB คาดกำไร 2Q67 เติบโต YoY หนุนจากรายได้ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและรายได้ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนปรับตัวดีขึ้น เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปีนี้สู่ 3.16 หมื่นลบ. เติบโต 10.9%YoY
GULF ได้ Sentiment บวกระยะสั้นจากวานนี้ราคาก๊าซในยุโรปและ Bond Yield สหรัฐปรับลง ขณะที่ 1Q67 คาดกำไรจะปรับขึ้น QoQ จากความต้องการใช้ไฟฟ้าของลูกค้าอุตสาหกรรมฟื้นตัวหลังพ้นช่วงโลว์ซีซั่น และหน่วยผลิตไฟฟ้าอีกหนึ่งหน่วยของ Gulf PD (IPP) เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ใน มี.ค. 67
ข่าวเด่น