รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่าตามที่ได้จัดการประกวดผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 GLOBE Student Research Competition 2024 (GLOBE SRC 2024) เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนผลการศึกษาวิจัยของนักเรียนร่วมกับครู นักวิทยาศาสตร์ และชุมชน ในการเรียนรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบของโลก ในลักษณะของวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบซึ่งเชื่อมโยงกับชีวิตจริง และหาวิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ โดยมีนักเรียนระดับประถมศึกษา ปีที่ 4 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนทุกภาคของประเทศส่งงานวิจัยเข้าร่วมประกวด ปรากฎผลดังนี้
รางวัลดีเด่นการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ จำนวน 3 รางวัล คือ งานวิจัยเรื่องเปรียบเทียบคุณสมบัติดินที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตแตงไทย หมู่บ้านสำลายใต้และหมู่บ้านโคกไทย ตำบลโคกไทย อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จากฝีมือทีมวิจัย เด็กหญิงยุทธนัดดา วารีขันธ์ เด็กหญิงภัทคินี กล้ากระโทก และ เด็กหญิงพิชญา มาจังหรีด โรงเรียนบ้านดอน (สหรัฐ-ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนางสาวฌัลลิกา สียางนอก นางสาวสุดารัตน์ เจริญดอน เป็นครูที่ปรึกษา
งานวิจัยเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ของค่าความหลากหลาย ของผีเสื้อกลางวันกับตัวแปรทางสภาพอากาศ จากฝีมือทีมผู้วิจัย เด็กชายณัฐชานนท์ โทนทรนง เด็กชายปวีร์ โฆษิตวัฒนาพานิชย์ และเด็กหญิงภัทรดา ยาวุธ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีนายเอกณัฐ กาลกรณ์สุรปราณี นายพีรัชชัย ศรีสาลีกุลรัตน์ เป็นครูที่ปรึกษา
งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของไลเคนส์ กับคุณภาพอากาศ และชนิดของพันธุ์ไม้ในตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จากฝีมือทีมผู้วิจัย นายสุวิพร ฮาดดา นายกฤษณะ เข็มทอง และ นายรัชดากร พิมพ์เพ็ง โรงเรียนขุนไกรพิทยาคม จังหวัดสุโขทัย โดยมีนางสาวจุฬาลักษณ์ ปานเกตุ นางสาวนลิน ชลชาญกิจ เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับประถมศึกษา ได้แก่
รางวัลชมเชย งานวิจัยเรื่อง การสำรวจความชุกชุมของลูกน้ำยุงที่มีผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดพัทลุง จากฝีมือทีมผู้วิจัย เด็กหญิงฐิติชญาน์ นิ่มดวง เด็กหญิงจรรฉัตร นวลจัน และ เด็กชายรัชชานนท์ อ่อนสุวรรณ โรงเรียนบ้านแม่ขรี (สวิงประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง โดยมีนางสาวอรอนงค์ อ่องไล่ นายสุนันท์ เหมมัน เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลชมเชย งานวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณภาพน้ำที่มีความสัมพันธ์กับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ บ้านไม้เสี่ยว จังหวัดนครราชสีมา จากฝีมือทีมผู้วิจัยเด็กชายธีรดลย์ ชาติวงษ์ เด็กชายกชกร ชำนิจันทึก เด็กหญิงศันสนีย์ ไชยผักแว่น โรงเรียนวัดไม้เสี่ยว จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนางสาวปิ่นแก้ว หมั่นกระโทก นางสาวน้ำทิพย์ ทั่งทอง เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลชมเชย งานวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบผลของอัตราส่วนกากกาแฟและแกลบดำต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินที่มีต่อการเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน จากฝีมือทีมผู้วิจัย เด็กหญิงชลิตา สุพรรณชาติ เด็กหญิงชวิศรา สิงห์ครา และเด็กชายวงศธร ไชยแสน โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางสาวรัตนาภรณ์ แหวนเพ็ชร นางสาวกุณฑลี ปันอิ่น เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 คืองานวิจัยเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวอ่อนแมลงน้ำ และคุณภาพน้ำ บริเวณต้นน้ำ กลางน้ำ น้ำตกบัวตอง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากฝีมือทีมผู้วิจัย เด็กหญิงบุณรดา มะโนราช เด็กหญิงพิมพ์พิสุทธิ์ ศิริคำปา และ เด็กชายภพธารา ภพทถาวรณ์ โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางสาววลัยลักษณ์ ศรีชุมภู นางสาวปริญา นาวี เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 คือ งานวิจัยเรื่องการศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพแวดล้อมบางประการภายใต้สวนลำไยเพื่อการพัฒนาเป็นไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตร (Agro Forestry) ในพื้นที่ สทก.เขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ยวมฝั่งขวา หมู่บ้านจอมกิตติ ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากฝีมือทีมผู้วิจัย เด็กหญิงนภพร สิทธิพงษ์ เด็กหญิงศุภสุตา คุณคำ และ เด็กหญิงดวงฤทัย อมรใฝ่สติ โรงเรียนชุมชนบ้านน้ำดิบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมี นางตวิษา พรรณสุข นางสาวสุภาวรรณ สิงขรไชย เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลชนะเลิศคือ งานวิจัยเรื่องชนิดของวัชพืชที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย
จังหวัดพัทลุง จากฝีมือทีมผู้วิจัย เด็กชายนพปภัทร ศุภสัณฐิติกุล เด็กชายชินวิช พิทักษ์ และ เด็กหญิงข้าวทิพย์ เสฏฐปัญโญ โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จังหวัดพัทลุง โดยมีนางประภาพร เอียดดำ นางสาวพรหมมาศ วรรณสุข เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่
รางวัลชมเชย งานวิจัยเรื่อง ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติทางเคมีบางประการของดินในพื้นที่ตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ จากฝีมือของทีมผู้วิจัยเด็กชายธนา อาจวาที เด็กชายธนพล ชุมพล โรงเรียนบ้านโคกสว่าง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี นายพัฐจักร พร้าวไธสง เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลชมเชย งานวิจัยเรื่อง ศึกษาปัจจัยแวดล้อมในการปลูกหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ Brock’s Improved เพื่อพัฒนาอุปกรณ์เพิ่มผลผลิต จากฝีมือทีมวิจัย นายจิรัฐติภัทร ศรีสุทัศน์ นางสาวขวัญจิรา พรหมโส และ นางสาววราภรณ์ พูลเพิ่ม โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีนายชุมพล ชารีแสน เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลชมเชย งานวิจัยเรื่อง ความหลากหลายและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้บริเวณโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม จังหวัดพัทลุง จากฝีมือทีมวิจัย เด็กชายกุญช์วิสิฎฐ์ นุ่นเส้ง เด็กหญิงอนัญญา อินทรสมบัติ และเด็กหญิงฐาปณีย์ สายสงวน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม จังหวัดพัทลุง โดยมี นายพรภวิษย์ ทับชุม และ นางสาวคณาทิพ เบ่าล่าย เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 งานวิจัยเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อชนิดและปริมาณลูกน้ำยุงลายพื้นที่ตำบลสีชมพู อำเภอสีชมพู และตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น จากฝีมือทีมวิจัย เด็กหญิงพรรณปพร ผิวแดง เด็กหญิงพิมรภัทร พาคูณ และเด็กหญิงณัฐตะวัน มูลม่อม โรงเรียนชุมแพศึกษา จังหวัดขอนแก่น โดยมี นายอภิวัฒน์ ศรีกัณหา นายราชันย์ ต้นกันยา เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 งานวิจัยเรื่องผลของคุณภาพดินต่อปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของหญ้าทะเลบริเวณหาดปากคลองและอ่าวขาม จังหวัดตรัง จากฝีมือทีมวิจัย เด็กหญิงณัฐกฤตา รักษ์ศักดิ์ศรี เด็กหญิงณิชาปัญญ์ สมขันธ์ และ เด็กหญิงภูรัชยา พร้อมภูวดล โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง จังหวัดตรัง โดยมีนางพัชรา พงศ์มานะวุฒิ และนางศิริขวัญ หนูพุทธิ เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลชนะเลิศ คือ งานวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตขอต้นกล้าและการกักเก็บคาร์บอนของไม้ยืนต้น ชนิดต่างๆ ในแปลงฟื้นฟูป่าบ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จากฝีมือทีมวิจัย เด็กชายพีร ทายะรังษี นางสาวพิมพ์ชนก ศรีสุขา และเด็กชายเอกวีร์ แช่มประเสริฐ โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางบรรณารักษ์ ตัญจพัฒน์กุล และนางสาวปณิธาน มั่นคง เป็นครูที่ปรึกษา
สำหรับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่
รางวัลชมเชย ผลงานวิจัยเรื่องการสำรวจคุณภาพน้ำในพื้นที่น้ำตกห้วยหาดทรายและอ่างเก็บน้ำหนองน้ำเขียว จังหวัดชลบุรี จากฝีมือทีมผู้วิจัย นางสาวณัฐฐ์ปวีร์ อาจเอื้อ นางสาวพลอยปภัส ไมตรีจิตต์ และนายธนากร ปรีสงค์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี โดยมี นางสาวพัชรพร บุญกิตติ นายวิเชียร ดอนแรม เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลชมเชย งานวิจัยเรื่องการศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพของดินที่ใช้ปลูกถั่วลายเสือในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นแนวทางแก่เกษตรกรในการปรับปรุงดิน จากฝีมือของทีมวิจัย นางสาวพิชดา ธรรมเเดนไพร นางสาวชลดา เมืองเมา และนางสาวประติภา เหล็กดีเลิศ โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีนางสาวสุภาพร อิ่นปัน นางสาวแสงจันทร์ เรืองแก้วนพเก้า เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลชมเชย งานวิจัยเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ของความชื้นและอุณหภูมิของดินต่อการเจริญเติบโตของต้นถั่วเหลืองในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ในสภาวะที่ขาดน้ำ พื้นที่อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จากฝีมือของทีมวิจัย นางสาวพิชชาพร รัตนรุ่งโรจน์ นางสาววริศรา พันธุมะเกียรติ และนางสาวกฤตพร โล่ห์เส็ง โรงเรียนชุมแพศึกษา จังหวัดขอนแก่น โดยมีนายอภิวัฒน์ ศรีกัณหา นายราชันย์ ต้นกันยา เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยที่มีผลต่อลูกน้ำยุงลาย (Aedes spp.) จากฝีมือทีมวิจัย นายชวิศร อึ้งมณีประเสริฐ นายประเสริฐ ศศิวิลาสกร และนายธรณ์ธันย์ ดวงจันทร์ทอง โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี โดยมีนางสาวอุบลวรรณ เลี้ยวอุดมชัย นางสาวปาณิสรา สุปัญญา เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ผลงานวิจัยเรื่อง ศึกษาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในดิน น้ำทะเลและในหญ้าทะเลที่ต่างชนิดกันบริเวณหาดปากคลองและอ่าวขาม จังหวัดตรัง จากฝีมือของทีมวิจัย นางสาวธัญวรัตม์ เจนวิชชุเมธ นางสาวกัญธรส แอสบิลลี่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง จังหวัดตรัง โดยมี นางพัชรา พงศ์มานะวุฒิ นางสาวหนึ่งฤทัย ชัยมณี เป็นครูที่ปรึกษา
รางวัลชนะเลิศ คือ ผลงานวิจัยเรื่องการสืบค้นความสามารถการกักเก็บคาร์บอนของพืชพรรณในบริเวณที่พักอาศัยเพื่อเปรียบเทียบกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของคณะวิจัย จากฝีมือของ นายอริณชย์ ทองแตง และเด็กหญิงอริสา ทองแตง โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพฯ โดยมีนางสาวชมชนก สุทธาภาศ เป็นครูที่ปรึกษา
สำหรับรางวัล GLOBE Thailand Teacher Shining Star 2024 ปีนี้ รางวัลดีเด่นประเภทกิจกรรมการสร้างแรงบันดาลใจในการเป็น GLOBE Young Scientist (GLOBE Young Scientist Inspiration) ผู้ได้รับรางวัลคือ นายพรภวิษย์ ทับชุม โรงเรียน ป่าพะยอมพิทยาคม จังหวัดพัทลุง
ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์โครงการ GLOBE สสวท. https://globethailand.ipst.ac.th/news.php
ข่าวเด่น