เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ AI and Thailand (Vol 2) - Workforce ไทย จะเปลี่ยนอย่างไรจาก AI


AI เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยมีการลงทุนมากกว่า 91.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีภายในปี 2030 [Source] แต่ การนำ AI มาใช้อาจจะ จะไม่ได้มีแต่ด้านบวก Goldman Sachs คาดการณ์ว่า AI อาจจะทำให้มีการเลิกจ้างงานถึง 300 ล้านตำแหน่งทั่วโลก [Source]

 
สำหรับคนในสายงานวิชาการ เช่น นักวิจัย ทนาย หรือ ดีไซน์เนอร์ คาดว่าจะมีความเสี่ยงจาก AI ที่จะลดบทบาทของพวกเขาลง ตัวอย่างเช่น บริษัทการเงินชั้นนำของโลก

BlackRock ได้เลิกจ้างพนักงาน 600 คนหรือ 3% ของจำนวนพนักงานทั้งบริษัทในเดือนมกราคม 2024 เพราะ AI มาทดแทน [Source]

อย่างไรก็ดี AI อาจจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยน้อยกว่า เนื่องจากพนักงานในภาคบริการของประเทศไทยมีสัดส่วนน้อยกว่า 4% ที่มีความเสี่ยงสูงจากการถูก AI มาทดแทน ถึงแม้ว่าในตอนนี้ 61% ของ CEO ในประเทศไทย เชื่อว่า AI จะเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของบริษัทในช่วง 3 ปีข้างหน้า

บทนำ
 

 
จากการสำรวจ CEO ในไทยโดย PwC ในปี 2024 แสดงให้เห็นว่า 61% ของ CEO เชื่อว่า AI จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของบริษัทอย่างมากในอีก 3 ปีข้างหน้า และ 58% เชื่อว่าจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะใหม่ของพนักงาน [Source] แต่ในขณะนี้มีเพียง 36% ของ CEO ที่นำ AI มาใช้ในธุรกิจของพวกเขาแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็น ว่าความกังวลและการดำเนินการไม่ไปในทิศทางเดียวกัน

AI จะมีผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างไรบ้าง

อย่างไรก็ดี AI จำเป็นต้องมีการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ก่อนในระดับหนึ่งเพื่อให้ขยายตัวได้ เช่น ประชากรต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ที่สูง หรือ มีแหล่ง Computer Processing และฐานข้อมูลใน Data Center จำนวนมาก เพื่อที่ใช้ระบบ Large Language Model ของ AI ได้

ประเทศไทยเรายังคงล้าหลังเมื่อเทียบกับต่างประเทศในด้านความพร้อมทางดิจิทัล โดยในตอนนี้ ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 35 ใน World Digital Competitive Ranking และมี Data Center รองรับแค่ 41 แห่ง น้อยกว่า EU มาก (เช่น ฝรั่งเศสมี 205 แห่ง)

เพราะฉะนั้น AI อาจจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยน้อยกว่าหลายประเทศ เพราะ AI จะมีผลกระทบต่องานที่อยู่ในออฟฟิศหรืองานด้านวิชาการ ซึ่งจำนวนผู้คนที่ทำงานสายนี้ในไทยถือว่ามีสัดส่วนน้อย อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ AI จะไม่ได้มาแค่ทดแทนสายงาน (เช่นการทำ admin) แต่จะสามารถมาสนับสนุนสายงานได้โดยการ Augment (เช่น การตรวจบัญชี) แต่ก็มีหลายสายงานที่จะโดนผลกระทบน้อยเช่น หมอนวด หรือ การเป็นคุณครูห้องเรียน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า AI จะมีผลกระทบมากที่สุดในอุตสาหกรรมการบริการของประเทศไทยซึ่งมีสัดส่วนถึง 52.4% ของ GDP โดยการเปลี่ยนแปลงจะคล้ายกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นในภาคการผลิตที่นำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาช่วยในอดีต ซึ่ง AI จะเริ่มแทรกแซงงานในภาคบริการและการสร้างสรรค์ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของแต่ละอุตสาหกรรมจะไม่เหมือนกัน โดยการวิจัยของ World Economic Forum [Source] และ Indeed (Website เกี่ยวกับงาน และการสมัครงาน) [Source] แบ่งสายงานต่างๆ เป็นความเสี่ยงระดับ สูง ปานกลาง และ ต่ำ ดังนี้
 

 
สำหรับภาคบริการไทย งานที่เสี่ยงต่อการถูกแทนที่ด้วย AI มากที่สุด คือ งานออฟฟิศทั่วไป เช่น ธุรกิจการเงิน บริการด้านเทคนิค ธุรกิจสื่อสาร และดีไซน์ ในขณะเดียวกัน งานที่เสี่ยงต่ำ คือ งานที่ต้องอาศัยการเข้าถึงบุคคล เช่น การสอน การดูแลสุขภาพ และการบริการลูกค้าโดยตรง

นอกจากนี้ ภายในแต่ละสายงานภาคบริการ ยังมีความเสี่ยงแตกต่างกันในหลายระดับด้วย เช่น ในสายงานนันทนาการถือว่าเสี่ยงน้อย แต่สายงานกิจกรรมทางศิลปะจะมีความเสี่ยงสูงจาก AI เช่น MidJourney (AI ที่สามารถสร้างภาพโดยที่คนใช้งานใส่แค่ ประโยคสั้นๆ) 
 
AI อาจจะจะมีผลกระทบต่อ จำนวนผู้คนน้อยกว่าที่คาด
 
 
 

ทั้งนี้ หากพิจารณาความเสี่ยงของ AI กับจำนวนคนในสายงาน และมูลค่า GDP แล้ว จำนวนงานของผู้คนที่มีความเสี่ยงที่จะถูกแทนที่ด้วย AI ซึ่งถือว่าต่ำ ประมาณ 2.8 แสนคน หรือ 3.5% ของคนที่ทำงานในสายบริการทั้งหมด แต่จะมีมูลค่าสูงถึง 34.7% ของ GDP ของ

ภาคบริการ ด้วยเหตุผลมาจากสัดส่วนของคนที่ทำงานในงานที่ไม่เสี่ยงสูง เช่น ก่อสร้าง (0.9 ล้านคน) หรือจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (1.8 ล้านคน) แต่สัดส่วนคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เสี่ยงสูง เช่น การเงิน (2.9 หมื่นคน) และบริการวิชาชีพอื่นๆ (9.5 หมื่นคน) มีจำนวนน้อยกว่ามาก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ประเทศไทยควรเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก AI ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือการใช้ประยุกต์ใช้งาน AI อย่างรวดเร็ว เช่น หาก GPT4 สามารถผ่านการทดสอบทางการแพทย์ หรือ CFA จะทำให้งานที่มีรายได้สูงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้วย AI ได้

บุคลากรด้านวิชาการยังคงต้องมีความรู้เฉพาะด้าน แต่ควรเปลี่ยนแนวความคิดและปรับใช้เครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยใช้ AI มากขึ้นในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) และผลิตผลการทำงาน (Productivity) เช่น ช่วยสรุปความคิด หรือช่วยเขียนโค้ด
 

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 19 มิ.ย. 2567 เวลา : 16:33:31
25-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 25, 2024, 5:17 pm