การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
"สวนดุสิตโพล"สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง "คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน"


“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง“คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,146 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 สรุปผลได้ ดังนี้

 
1. ประชาชนคิดว่าปัจจุบัน “ปัญหาความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” เป็นปัญหาที่รุนแรงหรือไม่
อันดับ 1 รุนแรง 78.80%
อันดับ 2 ยังไม่ค่อยรุนแรง 21.20%

2. ประชาชนมีหนี้สินส่วนตัวหรือไม่
อันดับ 1 มี 70.07%
อันดับ 2 ไม่มี 29.93%

3. หนี้สินส่วนตัวที่มีคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ต่อเดือน
อันดับ 1 20-50% 39.72%
อันดับ 2 51-80% 26.90%
อันดับ 3 น้อยกว่า 20% 24.66%
อันดับ 4 81% ขึ้นไป 8.72%

4. ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตัวประชาชนเองหรือคนใกล้ตัวเคยถูกเลิกจ้างงานหรือไม่
อันดับ 1 ไม่เคย 52.01%
อันดับ 2 เคย 47.99%

5. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
อันดับ 1 เพิ่มโอกาสในการทำงาน/จ้างงาน  79.02%
อันดับ 2 ส่งเสริมการฝึกอาชีพ 67.57%
อันดับ 3 มีระบบประกันสังคมที่เข้มแข็ง 66.78%

6. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน
อันดับ 1 สนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับประชาชน 79.16%
อันดับ 2 ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 70.14%
อันดับ 3 ขยายระยะเวลาชำระหนี้ 62.00%

7. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ที่ถูกเลิกจ้างงาน
อันดับ 1 ส่งเสริมการสร้างงานใหม่/ช่วยหางานใหม่ 77.34%
อันดับ 2 สนับสนุนธุรกิจขนาดย่อม 66.23%
อันดับ 3 ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ 59.14%

8. ในมุมมองของประชาชน คิดว่าควรทำอย่างไรคนไทยจึงจะ “กินดี อยู่ดี ไม่มีหนี้สิน”
อันดับ 1 ต้องมีงานทำ มีรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดี 34.06%
อันดับ 2 เร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น 21.38%
อันดับ 3 สร้างวินัยทางการเงินให้กับประชาชน 14.86%

*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)   

 
สรุปวิเคราะห์ผลโพล : คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน”  ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าปัจจุบัน “ปัญหาความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” เป็นปัญหารุนแรง ร้อยละ 78.80 โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.07 มีหนี้สินส่วนตัวและคิดเป็นประมาณ  20 – 50% ของรายได้ต่อเดือน ทั้งนี้ร้อยละ 47.99 เคยถูกเลิกจ้าง/เห็นคนใกล้ตัวถูกเลิกจ้าง ด้านความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาความยากจนด้วยการเพิ่มโอกาสในการทำงาน/จ้างงาน ร้อยละ 79.02 ส่วนปัญหาหนี้สินอยากให้รัฐบาลสนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับประชาชน ร้อยละ 79.16 ส่วนปัญหาเลิกจ้างงาน อยากให้ช่วยส่งเสริมการสร้างงานใหม่/ช่วยหางานใหม่ ร้อยละ 77.34 โดยกลุ่มตัวอย่างมองว่าแนวทางที่จะทำให้คนไทย “กินดีอยู่ดีไม่มีหนี้สิน” คือ ต้องมีงานทำ มีรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดี ร้อยละ 34.06

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงานเป็นปัญหาที่รุนแรงและต้องแก้ไขเร่งด่วน ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาต่อเนื่องและผลกระทบจากโควิด-19 การมีหนี้สินส่วนตัวที่สูงและการเลิกจ้างงานทำให้ประชาชนรู้สึกถึงภาระทางการเงินที่หนักหน่วง รัฐบาลจึงควรเน้นการสร้างงาน เพิ่มรายได้ เพิ่มโอกาสในการทำงานและจ้างงาน ผลักดันนโยบายเรือธงที่หาเสียงไว้โดยเน้นผลลัพธ์ของโครงการ          ที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ช่วยให้ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถจัดการกับหนี้สินได้ดีขึ้น

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

อ.ดร.ศิริ ชะระอ่ำ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่า การว่างงานและภาวะถูกเลิกจ้าง ซึ่งนำไปสู่ความยากจนและภาระหนี้สินของประชาชนมีสาเหตุมาจากปัญหาการขาดทักษะดิจิทัลซึ่งสำคัญจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของแรงงานในปัจจุบัน ผนวกกับการขยายตัวของการให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคกลุ่มบัตรเครดิตลีสซิ่งและสินเชื่อส่วนบุคคลของสถาบันการเงินต่างๆ ยิ่งส่งเสริมให้เกิดปัญหาพฤติกรรมการก่อหนี้โดยขาดวินัยทางการเงินของครัวเรือนมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งจากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลในครั้งนี้ชี้ชัดถึงความคาดหวังของประชาชนต่อการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐในการจ้างงาน สร้างงาน และเพิ่มรายได้ เพื่อบรรเทาปัญหาปากท้องและภาระหนี้สิ้นให้กับประชาชน โดยมาตรการที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการ คือ การมุ่งให้ความรู้และฝึกพัฒนาทักษะดิจิทัล ซึ่งเป็น New Skill ให้กับกลุ่มผู้ว่างงานระยะสั้น และส่งเสริมโอกาสในการยกระดับทักษะอื่นๆ (Up-skill) จำเป็นต่อตำแหน่งงานตามความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบันอย่างเป็นรูปธรรม   อ.ดร.ศิริ ชะระอ่ำ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 21 ก.ค. 2567 เวลา : 20:57:31
08-09-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 8, 2024, 6:46 am