การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
"นิด้าโพล" เผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง "คำนำหน้านามนั้น สำคัญไฉน"


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “คำนำหน้านามนั้น สำคัญไฉน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับคำนำหน้านาม การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึงการให้ความสำคัญเมื่อเห็นชื่อบุคคลที่มีคำนำหน้านาม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสำคัญ รองลงมา ร้อยละ 28.56 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ร้อยละ 26.18 ระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญเลย และร้อยละ 15.11 ระบุว่า ให้ความสำคัญมาก 
 
สำหรับการให้เกียรติบุคคลที่มีคำนำหน้านามประเภทต่าง ๆ เมื่อพบเจอกัน พบว่า 
 
1. ผู้มีคำนำหน้านามตามฐานันดรศักดิ์ เช่น หม่อมหลวง หม่อมราชวงศ์ เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 43.28 ระบุว่า ให้เกียรติมาก รองลงมา ร้อยละ 36.41 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ ร้อยละ 12.14 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 3.90 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
 
2. ผู้มีคำนำหน้านามตามวิชาชีพ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 43.75 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 43.05 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 9.01 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
 
3. ผู้มีคำนำหน้านามตามตำแหน่งวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 43.97 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 35.27 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 12.37 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 6.10 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
 
4. ผู้ที่มีคำนำหน้านามตามวุฒิการศึกษา เช่น ดอกเตอร์ เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 41.76 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 14.96 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 7.79 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 2.82 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
 
5. ผู้มีคำนำหน้านามตามยศ เช่น พลเอก พลตำรวจเอก เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 44.12 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 29.47 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 17.25 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 7.63 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
 
6. ผู้มีคำนำหน้านามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่น คุณหญิง ท่านผู้หญิง เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 29.31 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 17.56 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 9.01 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 5.11 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
 
สำหรับการตรวจสอบบุคคลที่มีคำนำหน้านาม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 89.54 ระบุว่า ไม่เคยตรวจสอบใด ๆ เลย ขณะที่ ร้อยละ 10.46 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านาม เมื่อสอบถามตัวอย่างที่เคยตรวจสอบผู้ที่มีคำนำหน้านาม (จำนวน 137 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับประเภทของคำนำหน้านามที่เคยตรวจสอบ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.64 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามวุฒิการศึกษา รองลงมา ร้อยละ 46.72 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามยศ ร้อยละ 40.88 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามวิชาชีพ ร้อยละ 40.15 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามตำแหน่งวิชาการ ร้อยละ 16.06 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามฐานันดรศักดิ์ และร้อยละ 11.68 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
 
ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าเคยตรวจสอบผู้ที่มีคำนำหน้านาม (จำนวน 137 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับผลการตรวจสอบบุคคลที่มีคำนำหน้านาม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.91 ระบุว่า ไม่เคยเจอว่าเป็นการแอบอ้างใช้คำนำหน้านาม รองลงมา ร้อยละ 32.85 ระบุว่า เคยเจอว่าเป็นการแอบอ้างใช้คำนำหน้านาม และร้อยละ 18.24 ระบุว่า ตรวจแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นการแอบอ้างใช้คำนำหน้านามหรือไม่

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79    มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง 
 
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.50 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.36 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.14 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ 
 
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.18 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.14 สมรส และร้อยละ 1.68 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 13.97 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.63 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.09 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 39.77 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 9.54 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
 
ตัวอย่าง ร้อยละ 13.66 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 19.54 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.52 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 8.24 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 10.85 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 
ร้อยละ 20.61 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.58 เป็นนักเรียน/นักศึกษา 
 
ตัวอย่าง ร้อยละ 17.71 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 13.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 13.44 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 7.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 9.62
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.46 ไม่ระบุรายได้
 
 
 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 21 ก.ค. 2567 เวลา : 21:12:09
08-09-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 8, 2024, 6:57 am