แบงก์-นอนแบงก์
fintips by ttb เปิดเคล็ดลับสร้างชีวิตมั่นคง เริ่มที่วางแผนการเงินก่อนซื้อประกันสุขภาพ


การมีประกันสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญมากในชีวิต เพราะโรคภัยและความเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งปัจจุบันมีประกันสุขภาพหลากหลายประเภทให้เลือก ตั้งแต่ราคาถูกไปจนถึงราคาแพง และมีขอบเขตความคุ้มครองไม่เหมือนกัน วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากชวนมาวางแผนทางการเงินก่อนจะซื้อประกันสุขภาพ เพื่อช่วยให้ชีวิติทางการเงินดีขึ้นและมั่นคงทั้งวันนี้และในอนาคต

ความสำคัญของประกันสุขภาพกับมนุษย์วัยทำงาน
 
สำหรับวัยทำงาน ประกันสุขภาพเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างความมั่นคงให้ชีวิต และช่วงวัยทำงานยังเป็นช่วงอายุที่เหมาะสำหรับการทำประกัน เพราะยังแข็งแรงและประกันส่วนใหญ่ก็คุ้มครองโรคต่าง ๆ อย่างครอบคลุม ทำให้การซื้อประกันสุขภาพเป็นเรื่องง่าย และสามารถเลือกแผนประกันที่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ได้มากมายตรงใจ ตรงข้ามกับวัยเกษียณที่มีตัวเลือกจำกัดและอาจถูกปฏิเสธจากบริษัทประกันหากมีโรคร้ายแรง นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าคนทำงานหลายคนจะมีประกันสุขภาพกลุ่มจากที่ทำงาน แต่สิทธิ์การคุ้มครองจะสิ้นสุดเมื่อลาออกจากบริษัท ทำให้การมีประกันสุขภาพของตัวเอง จะช่วยสามารถตอบโจทย์และรองรับค่ารักษาพยาบาลได้อย่างครอบคลุมมากกว่า 

 
ประโยชน์ของการมีประกันสุขภาพในวัยทำงาน
 
• แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเวลาเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ การมีประกันสุขภาพจะช่วยลดความเครียดเรื่องค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล ให้สามารถพักฟื้นร่างกายได้อย่างสบายใจไม่ต้องกังวล
 
• สิทธิประโยชน์การเข้ารับการรักษาที่ครอบคลุม สามารถเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการเข้ารับการรักษาได้ตามความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐฯ หรือเอกชน โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือใกล้ที่ทำงาน ต่างจากประกันสังคมที่จำกัดสิทธิ์ให้ผู้ประกันเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่กำหนดไว้เพียงที่เดียวเท่านั้น
 
• ช่วยป้องกันภาวะล้มละลาย เนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วย ประกันสุขภาพจะช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายและชดเชยรายได้ในกรณีที่ต้องหยุดงานเพื่อรักษาตัว
 
• ช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงิน ประกันสุขภาพไม่เพียงคุ้มครองสุขภาพ ช่วยสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 25,000 บาทต่อปี (เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีเป็นไปตามเกณฑ์กรมสรรพากร)

 
วางแผนการเงินก่อนซื้อประกันสุขภาพ
 
การวางแผนก่อนตัดสินใจซื้อประกันควรต้องเลือกให้สอดคล้องกับการเงินของตัวเอง และให้คิดว่า “เบี้ยประกันเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาว” โดยการวางแผนทางการเงินก่อนตัดสินใจซื้อประกันมีหลักการง่าย ๆ ดังนี้
 
• คำนวณรายได้และรายจ่าย ดูว่ามีเงินพอที่จะแบ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันแต่ละปี ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ได้มากน้อยเท่าไหร่
 
• ตรวจสอบภาระหนี้สิน ดูว่ามีภาระหนี้สินมากเกินกว่าที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันเข้าไปหรือไม่
 
• เป้าหมายทางการเงินในอนาคต ต้องไม่ลืมพิจารณาค่าใช้จ่ายจำเป็นในการดำรงชีวิตที่มีมากขึ้นในแต่ละปี หรือที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น รถยนต์ บ้าน ค่าเทอมลูก และอื่น ๆ

วิธีคำนวณงบการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ
 
เมื่อพิจารณาปัจจัยเรื่องรายจ่าย หนี้สิน เป้าหมายทางการเงินแล้ว ให้นำรายได้มาเป็นตัววัดงบการซื้อประกันสุขภาพ โดยค่าเบี้ยที่เหมาะสม คือ เงินที่แบ่งมาจากรายได้ 10-20% ของรายได้รวมทั้งปี เช่น รายได้ต่อเดือน 40,000 บาท จะมีรายได้รวมทั้งปีเท่ากับ 480,000 บาท โดยแผนประกันสุขภาพที่เลือก ควรมีค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในราคาระหว่าง 48,000 บาท (10%) ถึง 96,000 บาท (20%) ต่อปี

สนใจประกันประกันชีวิตและสุขภาพ ทีทีบี เหมา เหมา อัลตร้า แคร์ คลิก! https://www.ttbbank.com/link/healthins-mao ประกันชีวิตและสุขภาพ ทีทีบี เหมา เหมา อัลตร้า แคร์ ออกแบบมาเพื่อดูแลแบบเหมา ๆ ในทุกช่วงเวลา เพื่อช่วยลูกค้าวางแผนการใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่า และสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งวันนี้และอนาคต 

สุดท้าย แผนประกันที่ได้สิทธิประโยชน์ครอบคลุมหรือแผนประกันที่จำกัดการใช้สิทธิ์การรักษา เป็นเรื่องที่รู้กันดีว่าค่าใช้จ่ายสำหรับประกันสุขภาพ (https://www.ttbbank.com/link/fintips-healthins) นั้นมีพันธะหลายปีและเข้มงวดกับกำหนดการจ่ายเบี้ยประกัน ฉะนั้นก่อนตัดสินใจซื้อประกัน ควรมีการวางแผนการเงินล่วงหน้า เพื่อชีวิตทางการเงินจะได้มั่นคงและมีเงินนำไปใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ ที่วางแผนได้ต่อไป

มาร่วมวางแผนมีความคุ้มครองที่อุ่นใจให้เพียงพอ เพื่อชีวิตการเงินที่ดีอย่างยั่งยืน กับ fintips by ttb เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ
คลิกอ่านบทความฉบับเต็ม https://www.ttbbank.com/link/fintips-planprotect
ติดตามเคล็ดลับการเงินอื่น ๆ คลิก https://www.ttbbank.com/link/fintips-pr

#fintipsbytttb
#ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 ก.ค. 2567 เวลา : 16:02:51
04-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 4, 2025, 11:39 am