แนวทางการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิด/การลดโอกาสในการเกิดทุจริต
1. ข้อมูลสถิติการบังคับใช้กฎหมาย (1 ม.ค. – 30 ก.ค. 67)
การกล่าวโทษผู้กระทำผิด ต่อพนักงานสอบสวน (บก.ปอศ. และดีเอสไอ) จำนวน 6 กรณี ประกอบด้วย
- การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์/สินทรัพย์ดิจิทัล (การสร้างราคา 2 กรณี)
- การทุจริต จำนวน 4 กรณี
การดำเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง ประกอบด้วย
- การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์/สินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 10 กรณี (การสร้างราคา 8 กรณี และการใช้ข้อมูลภายใน จำนวน 2 กรณี)
- การตกลงทำบันทึกการยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด 7 กรณี ค่าปรับรวมประมาณ 440 ล้านบาท
2. การดำเนินการด้านการบังคับใช้กฎหมาย
การปรับโครงสร้างองค์กร โดยเพิ่มสายงานสายบังคับใช้กฎหมายอีก 1 สาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 66 และมีผู้ช่วยเลขาธิการซึ่งเชี่ยวชาญด้านการสอบสวนคดีพิเศษ
การใช้เทคโนโลยีในการกำกับดูแล (Supervisory Technology : SupTech) ยกระดับการกำกับดูแล เพิ่มความถูกต้อง แม่นยำ และเท่าทันต่อความเสี่ยง เช่น
เครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขายที่เข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรม และระบุรายการซื้อขายที่ผิดปกติของกลุ่มผู้ต้องสงสัย โดยทดลองใช้งานเฟสแรกไปแล้ว มีแผนที่จะพัฒนาโมเดลให้รองรับกรณีที่ซับซ้อนขึ้นภายในปีนี้
AQIs Dashboard ระบบตรวจจับความผิดปกติที่อาจกระทบต่อคุณภาพงานสอบบัญชีโดยเริ่มนำมาใช้แล้วสำหรับงานสอบบัญชีส่วนการตรวจสำนักงานสอบบัญชีคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้
Fraud Prediction ระบบคาดการณ์การกระทำผิดและหาข้อบ่งชี้เกี่ยวกับการทุจริต ตกแต่งงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน คาดว่าจะพัฒนาระบบได้ในปี 2568
ระบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์บุคคล/นิติบุคคล นำเทคโนโลยี Deep Learning มาใช้ คาดว่าใช้งานจริงได้ภายในปีนี้
การเสนอปรับปรุงกฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
การผลักดันการด้านการบังคับใช้กฏหมายและประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น DSI และสำนักงานอัยการสูงสุด สำหรับเคสที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและมีผลกระทบวงกว้าง เช่น STARK MORE และ Zipmex
3. การกำกับดูแลความผันผวนของราคา/ความเป็นธรรมในการซื้อขาย
ยกระดับการกำกับดูแล/ป้องปราม Short Selling ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2567 เช่น
ปรับปรุงคุณสมบัติของหลักทรัพย์ที่สามารถขายชอร์ตได้ (Eligible Securities) เพื่อลดความผันผวนหุ้นที่มีขนาดเล็กและไม่มีสภาพคล่อง ในกลุ่ม Non-SET100 Index โดย
- เพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) ให้สูงขึ้น (จาก 5,000 ล้านบาท เป็น 7,500 ล้านบาท)
- เพิ่มการพิจารณาสภาพคล่องจากปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนเฉลี่ยต่อเดือน (Monthly Turnover) (เฉลี่ย 12 เดือน ไม่น้อยกว่า 2% ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนนั้น) ใกล้เคียงกับตลาดฮ่องกง
ยกระดับการส่งคำสั่งราคาขายชอร์ตให้เป็น Uptick เพื่อชะลอความผันผวนและลดลงของราคาหลักทรัพย์ จากกำหนดเป็น Zero-plus tick และให้ผู้ลงทุนกลุ่ม High Frequency Trading (HFT) ขึ้นทะเบียนกับ ตลท. เพื่อติดตามกำกับดูแลการซื้อขายอย่างใกล้ชิด
การดำเนินการในระยะถัดไป
เพิ่มกรอบการควบคุมราคาซื้อขายแบบ Dynamic Price Band เพื่อลดความผันผวนระหว่างวันของราคาหลักทรัพย์ (คาดว่ามีผลใช้บังคับในไตรมาส 3/67)
กำหนดเวลาขั้นต่ำของคำสั่งซื้อขาย ก่อนที่จะสามารถแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งนั้นได้ (Minimum Resting Time) เป็นเวลา 250 milliseconds เพื่อชะลอและป้องกันไม่ให้เกิดคำสั่งในลักษณะ ใส่-ถอน ถี่มากเกินไป (Spoofing) (คาดว่ามีผลใช้บังคับในไตรมาส 3/67)
เพิ่มคุณภาพการทำหน้าที่ตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โดยต้องทำความรู้จักระบบงานของลูกค้า (Know Your Process: KYP) ที่เป็น บล. ต่างประเทศ และตรวจสอบการมีหุ้นก่อนส่งคำสั่ง มีระบบงานรับส่งคำสั่งที่มีประสิทธิภาพ และกลั่นกรองคำสั่งโดยตรวจสอบเอกสารเพื่อยืนยันว่าลูกค้ามีหลักทรัพย์ตามคำสั่ง มีข้อตกลงกับลูกค้าให้ยินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยินยอมให้ บล. ไล่เบี้ยค่าปรับ กรณีที่ บล. ต้องชำระค่าปรับเนื่องจากลูกค้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ (คาดว่ามีผลใช้บังคับในไตรมาส 3/67)
การทบทวนบทระวางโทษปรับเป็นเงินกับ บล. ให้เข้มข้นขึ้น (อยู่ระหว่างการกำหนดรายละเอียด / คาดว่ามีผลใช้บังคับในไตรมาส 3/67)
4. การกำกับดูแลพฤติกรรมการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม/หุ้นที่มีสภาพการซื้อขายผิดปกติ
ตรวจสอบตาม Theme พฤติกรรมการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม (Short Sell และ Long Sell / Program Trading) (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
ปรับปรุงเกณฑ์เพื่อให้ SET สามารถเปิดเผยข้อมูลของผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสมแก่ บล. ทุกรายทราบ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับ บล. ในการดำเนินการต่อไป ตามแนวทางที่ ASCO กำหนด (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.67)
เพิ่มวิธีการซื้อขายด้วยการจับคู่ซื้อขายในคราวเดียวกัน (Auction) เพื่อกำกับดูแลหุ้นที่สภาพซื้อขายเปลี่ยนแปลงโดยที่ไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ (คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 3/67)
เพิ่มมาตรการหยุดซื้อขายโดยอัตโนมัติ (Auto Pause) เป็นรายหลักทรัพย์ กรณีพบว่า ปริมาณการเสนอซื้อรวมหรือปริมาณการเสนอขายรวมของหลักทรัพย์นั้นมากเกินกว่าระดับที่กำหนด (คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 1/68)
5. สรุปสถิติการซื้อขายภายหลังการใช้ Uptick rule และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้อง
- หลังจากใช้มาตราการ Uptick rule เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2567 พบว่า ช่วงวันที่ 1 – 26 ก.ค. 2567 มูลค่าและปริมาณธุรกรรมการขายชอร์ต (Short selling) ใน SET เฉลี่ยต่อวันลดลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ (ม.ค. - มิ.ย. 67) โดยแยกเป็นมูลค่าขายชอร์ตเฉลี่ยต่อวันประมาณ 1,686.30 ล้านบาท ลดลง 68.01% และปริมาณขายชอร์ตเฉลี่ยต่อวันประมาณ 95.96 ล้านหุ้น ลดลง 69.76%
- เมื่อพิจารณาด้านสัดส่วน ช่วงหลังใช้มาตรการ Uptick มูลค่าธุรกรรมการขายชอร์ด
มีสัดส่วนคิดเป็น 4.53% ของมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน เทียบกับ 11.65% ช่วงก่อนหน้า และปริมาณการชอร์ตมีสัดส่วนคิดเป็น 0.89% เทียบกับ 1.9% ช่วงก่อนหน้า - ธุรกรรมการซื้อขายผ่าน Program Trading หลังใช้มาตรการ เฉลี่ยต่อวัน ใน SET ลดลง
- ธุรกรรมการซื้อขายผ่าน Program Trading หลังใช้มาตรการ เฉลี่ยต่อวัน ใน SET ลดลง
มูลค่าและปริมาณการขายชอร์ต (Short selling) เฉลี่ยต่อวันใน SET เปรียบช่วงก่อนและหลังใช้
มาตรการมูลค่า Program Trading เฉลี่ยต่อวันใน SET เปรียบช่วงก่อนและหลังใช้มาตรการ
6. การปรับเปลี่ยนผู้จัดทำ ESG Ratings จาก SET เป็น FTSE Russell
I. Thai ESG ที่จัดตั้งและเสนอขายแล้ว
1.สามารถใช้ผลการประเมิน ESG ratings จาก SET ได้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดทำ ESG ratings เป็น FTSE Russell อย่างเป็นทางการ
2. การปรับปรุงประกาศ Thai ESG ในครั้งนี้ ได้ปรับให้รองรับการใช้ผลการประเมินหุ้นที่จัดทำโดยผู้ประเมินฯ ที่มีมาตรฐานสากลแล้ว
3. เมื่อมีการเปลี่ยนไปเป็น FTSE Russell อย่างเป็นทางการแล้ว Thai ESG สามารถขอแก้ไขรายละเอียดโครงการเพื่อเปลี่ยนไปใช้ผลการประเมินที่จัดทำโดย FTSE ได้ ซึ่งการแก้ไขดังกล่าว สามารถทำแบบง่าย เพียงยื่นคำขอแก้ไขรายละเอียดโครงการผ่านระบบของสำนักงาน ซึ่งจะได้รับความเห็นชอบโดยทันที
4. กรณี บลจ. ประสงค์จะใช้บริการผู้ประเมินฯ รายอื่น เช่น S&P Global MSCI เป็นต้น ก็สามารถทำได้ โดยสำนักงานจะพิจารณาว่า การปรับเปลี่ยนผู้ประเมินฯ ทำให้ความเสี่ยงของกองทุนเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และควรแก้ไขรายละเอียดโครงการโดยอาศัยอำนาจสำนักงานในการพิจารณาเห็นชอบ หรือขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน ต่อไป
II. Thai ESG ที่จะขอจัดตั้งใหม่
บลจ. สามารถยื่นคำขอจัดตั้ง Thai ESG โดยใช้ผลการประเมินหุ้นที่มีความโดดเด่นด้าน E หรือ ESG จากผู้ประเมินฯ ที่มีคุณสมบัติตามที่เกณฑ์กำหนดได้ ตั้งแต่วันที่ประกาศที่ปรับปรุงใหม่มีผลบังคับใช้ (คาดว่า 16 ส.ค. 67)
ทั้งนี้ Thai ESG ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขอจัดตั้งและแก้ไขโครงการจาก ก.ล.ต. เช่นเดียวกับ SRI Fund ตลอดปี 2567 ด้วย
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาด้านสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญสอดคล้องกับสังคมดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว
1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้ (Utility Token พร้อมใช้) รวมทั้งปรับปรุงการกำกับดูแลศูนย์ซื้อขายฯ เพื่อเพิ่มกลไกการกำกับดูแล ยกระดับการเปิดเผยข้อมูลเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้มีกลไกคุ้มครองผู้ซื้อขายที่เหมาะสมเพียงพอ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนานวัตกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ (คาดว่าจะออกเกณฑ์ในช่วงเดือน ส.ค. 67)
2. การปรับปรุงเกณฑ์ให้ศูนย์ซื้อขายฯ นายหน้าฯ ผู้ค้าฯ สามารถให้บริการ Consumption-Based Utility Token บางลักษณะได้ (เช่น Carbon Credit เป็นต้น) เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสนับสนุนการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ (อยู่ระหว่างพิจารณา timeline การดำเนินการ)
3. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเสนอขายโทเคนดิจิทัลกลุ่มความยั่งยืน (Sustainability-Themed Token) เพื่อส่งเสริมให้ Issuer เสนอขายโทเคนดิจิทัลกลุ่มความยั่งยืน (Sustainability-Themed Token) และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน Green Economy เพื่อความยั่งยืนของประเทศ อีกทั้งมีกลไกการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสม (มีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย. 67)
4. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การขออนุญาต ICO แบบกลุ่ม (Shelf Filing) เพื่อเพิ่มทางเลือก
และความยืดหยุ่นในการขออนุญาต ICO โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม Soft Power ตามนโยบายของภาครัฐ อันนำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) (คาดว่าจะออกเกณฑ์ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2567)
5. การสนับสนุนให้มี Digital Asset Custodial Wallet Provider ในประเทศไทย เพื่อผลักดันให้มี Ecosystem ของธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่สมบูรณ์ ปัจจุบันมีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล 2 ราย โดยคาดว่า จะมีผู้ได้รับใบอนุญาตรายแรกในเดือนตุลาคม 2567 และรายที่ 2 ภายในปี 2567 (เริ่มประกอบธุรกิจภายในปี 2568) และมีผู้เข้าร่วม pre consult เพื่อเตรียมตัวยื่นคำขอรับใบอนุญาต 1 ราย นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างปรับปรุงเกณฑ์เพื่อสนับสนุนบริษัทในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็น Digital Asset Custodial Wallet Provider
6. การปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้โครงการ sandbox ครอบคลุมธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเปิดโอกาสให้
ผู้ที่ต้องการทดสอบนวัตกรรมในธุรกิจดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ ภายใต้ Controlled Environment และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการให้บริการในอนาคต (คาดว่าจะออกเกณฑ์ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2567)
7. การปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านการโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อลดภาระของ
ผู้ประกอบธุรกิจในการยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาเป็นรายชิ้นต่อ ก.ล.ต. และเพิ่มความคล่องตัว
ในการทำงาน (มีผลบังคับใช้ 16 ม.ค. 67) และการปรับปรุงแนวปฏิบัติด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขายของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการทำการตลาดอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Advertising) (คาดว่าจะออกเกณฑ์ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2568)
ข่าวเด่น