การตลาด
แกร็บฟู้ด ผุดไอเดียหารค่าอาหาร อัปเกรดฟีเจอร์ "คำสั่งซื้อกลุ่ม" เผยคนไทยขี้เกรงใจ 75% ไม่กล้าทวงเงินเมื่อสั่งอาหารด้วยกัน


 
แกร็บฟู้ด (GrabFood) แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรียอดนิยม เผยอินไซต์คนไทยนิยมสั่งอาหารผ่านแอปฯ เพื่อบริโภคเป็นกลุ่ม ระบุ 93% ของผู้ใช้บริการแกร็บฟู้ดสั่งอาหารมากินด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แต่กว่า 75% พบปัญหาในการแบ่งจ่ายหรือโอนเงินคืนกัน สบช่องผุดไอเดียอัปเกรดฟีเจอร์ “คำสั่งซื้อกลุ่ม” (Group Order) เพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ใช้บริการสั่งอาหารร่วมกันได้สะดวกขึ้น สามารถเลือกเมนูโปรดได้ตามใจและเพิ่ม 3 ออปชันการจ่ายเงินได้ตามต้องการ พร้อมส่งแคมเปญ “รักนะกรุ๊ปๆ กินกับกรุ๊ป สั่งกับ Grab” เจาะกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ครอบครัวและเพื่อน มาพร้อมโปรโมชันรูปแบบใหม่  ยิ่งสั่งกรุ๊ปใหญ่ ยิ่งลดเยอะ ด้วยส่วนลดสูงสุดถึง 15% เมื่อสั่งอาหารเป็นกลุ่มตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป พร้อมส่วนลด 30% สำหรับผู้ใช้ใหม่เพียงใส่โค้ด “NEWGROUP”

 
นายจิรกิตต์ กว้างสุขสถิตย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจเดลิเวอรี แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “จากการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้ใช้บริการ หนึ่งในอินไซต์ที่น่าสนใจคือคนไทยนิยมรับประทานอาหารด้วยกันหรือใช้เวลาร่วมกันในมื้ออาหาร โดย 93% ของผู้ใช้บริการแกร็บฟู้ดในประเทศไทยจะสั่งอาหารมารับประทานร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป[1] ทั้งนี้ แกร็บได้พัฒนาและเปิดตัวฟีเจอร์ ‘คำสั่งซื้อกลุ่ม’ (หรือ Group Order) มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการสั่งอาหารร่วมกันภายในออเดอร์เดียว ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ โดยกว่า 85% ของผู้ใช้บริการฟีเจอร์ Group Order เลือกสั่งอาหารเพื่อมารับประทานร่วมกันในมื้อหลัก[2] โดยเฉพาะมื้อเที่ยงและมื้อเย็น รองลงมาคือสั่งอาหารร่วมกันเพื่อฉลองในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ และรับประทานระหว่างการประชุม”

 
 
“หนึ่งในปัญหา (Pain Point) หลักของผู้ใช้บริการเมื่อสั่งอาหารร่วมกันคือ คนไทยเป็นคนขี้เกรงใจ ไม่กล้าทวงเงิน โดย 75% ของผู้ใช้บริการระบุว่า มักมีปัญหากับการแบ่งจ่ายเงิน[3] ไม่ว่าจะเป็น การคำนวณยอดสั่งและการหารค่าอาหาร หรือความวุ่นวายในการโอนเงินคืนกัน นอกจากนี้ ยังพบว่าบ่อยครั้งที่การสั่งอาหารร่วมกันในออเดอร์เดียวใช้เวลานาน บางครั้งเกิดความยืดเยื้อเพราะต้องรอให้แต่ละคนใส่รายละเอียดที่ต้องการโดยไม่มีการกำหนดเวลาปิดรับออเดอร์ ล่าสุดเราจึงได้พัฒนาและอัปเกรดฟีเจอร์ Group Order ให้ตอบโจทย์มากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการแบ่งจ่ายและลดเวลาในการสั่ง” นายจิรกิตต์ กล่าวเสริม

 
ฟีเจอร์คำสั่งซื้อกลุ่ม (Group Order) รูปแบบใหม่มาพร้อม 3 ไฮไลท์สำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของผู้ใช้บริการได้แบบตรงจุด คือ

สั่ง(เป็นกลุ่ม)ง่าย ไม่ยืดเยื้อ: ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถสั่งอาหารแบบกลุ่มได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยสามารถสั่งร่วมกันได้มากสุดถึง 10 คน ทั้งนี้ผู้ใช้บริการที่เริ่มสั่ง (Host) สามารถสร้างลิงก์เพื่อสั่งอาหารและแชร์ไปยังกลุ่มเพื่อให้สมาชิกสามารถเลือกเมนูอาหารและใส่รายละเอียดที่ตัวเองต้องการได้โดยตรง ทั้งยังสามารถตรวจสอบรายการอาหาร รวมไปถึงติดตามสถานะการจัดส่งได้แบบเรียลไทม์จากเครื่องของตนเองที่สำคัญคือสามารถกำหนดเวลาปิดรับออเดอร์เพื่อควบคุมเวลาในการสั่งอาหารไม่ให้ยืดเยื้อได้ด้วย
 
จ่ายตามใจ ไร้กังวล: ผู้ใช้บริการจะมีตัวเลือกในการแบ่งจ่ายเงินระหว่างกันได้ตามความต้องการถึง 3 ออปชัน ไม่ว่าจะเป็น การเลือกจ่ายเฉพาะออเดอร์ที่ตัวเองสั่ง การจ่ายแบบเฉลี่ยเท่ากันทุกคน หรือแม้แต่จะเลือกจ่ายแทนทุกคนก็ได้ ซึ่งเมื่อเลือกรูปแบบที่ต้องการแล้ว ยอดเงินเรียกเก็บจะส่งตรงไปยังเครื่องของแต่ละคน ขจัดปัญหากวนใจเรื่องการตามทวงค่าอาหาร
 
ยิ่งกลุ่มใหญ่ ยิ่งลดเยอะ: ฟีเจอร์ใหม่นี้มาพร้อมการให้ส่วนลดรูปแบบใหม่เพื่อนำเสนอความคุ้มค่าที่มากขึ้น คือ ยิ่งมีจำนวนสมาชิกที่สั่งอาหารร่วมกันมากขึ้น ก็ยิ่งได้รับส่วนลดมากขึ้น

 
นอกจากนี้ แกร็บฟู้ดได้เปิดตัวแคมเปญ “รักนะกรุ๊ปๆ กินกับกรุ๊ป สั่งกับ Grab” ภายใต้คอนเซปต์ “MEALATIONSHIP SAVER” เพื่อตอกย้ำจุดแข็งของฟีเจอร์คำสั่งซื้อกลุ่มในฐานะตัวช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และเพิ่มความสุขให้กับการรับประทานอาหารร่วมกัน จัดเต็มด้วยกิจกรรมการตลาด 360 องศา ทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อเจาะ 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ กลุ่มครอบครัว และกลุ่มเพื่อน พร้อมให้ส่วนลดพิเศษสูงสุด ถึง 15% เมื่อสั่งอาหารร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป (สูงสุด 10 คน) พิเศษ! สำหรับผู้ใช้บริการใหม่ รับส่วนลดเพิ่ม 30% (สูงสุด 100 บาท เมื่อสั่งอาหารขั้นต่ำ 200 บาท) เพียงใส่โค้ด ‘NEWGROUP’ ตั้งแต่วันนี้ถึง 18 สิงหาคม 2567 เท่านั้น

ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับฟีเจอร์คำสั่งซื้อกลุ่ม (Group Order) และแคมเปญ “รักนะกรุ๊ปๆ กินกับกรุ๊ป สั่งกับ Grab” ได้ที่ https://www.grab.com/th/blog/group-order/ 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 31 ก.ค. 2567 เวลา : 12:54:12
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 7:47 am