ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “รับเงินสด 10,000 บาท แล้วจะสนับสนุนรัฐบาลไหม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ทั้งตนเอง และ/หรือคนในครอบครัว ที่ได้รับเงิน 10,000 บาทจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการได้รับเงินสด 10,000 บาท จากรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการนำเงินไปใช้จ่ายของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัวได้รับเงิน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 86.79 ระบุว่า ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (รวมค่าน้ำ ค่าไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง) รองลงมา ร้อยละ 16.49 ระบุว่า เก็บออมไว้สำหรับอนาคต ร้อยละ 14.35 ระบุว่า ใช้หนี้ ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ (เช่น ซื้อยารักษาโรค หาหมอ) ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ใช้ลงทุนการค้า ร้อยละ 7.48 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ร้อยละ 1.37 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 1.07 ระบุว่า ใช้ซื้อหวย สลากกินแบ่งรัฐบาล ร้อยละ 0.99 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอ นิกส์ มือถือ และเครื่องมือสื่อสาร ร้อยละ 0.69 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการบันเทิง (เช่น เลี้ยงสังสรรค์ ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ เป็นต้น) ร้อยละ 0.31 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว ร้อยละ 0.15 ระบุว่า ใช้ซื้อทองคำ เพชร พลอย อัญมณี และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ตอบ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการสนับสนุนรัฐบาลของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัวได้รับผลประโยชน์จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร รองลงมา ร้อยละ 30.31 ระบุว่า มีส่วนทำให้สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 20.38 ระบุว่า จะมีหรือไม่มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ก็สนับสนุนรัฐบาลอยู่แล้ว ร้อยละ 13.13 ระบุว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 7.34 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 19.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.25 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 36.18 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.05 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.10 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 47.79 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.21 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 13.44 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 18.47 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.08 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 24.81 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.20 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.73 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.82 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.45 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.05 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.28 สมรส และร้อยละ 2.67 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 30.61จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 41.76 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.72 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 19.08 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.83 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.65 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.44 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.62 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.80 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 21.30 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.24 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.05 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 28.17 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 30.15 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 7.40 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 2.06 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 1.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.72 ไม่ระบุรายได้
ข่าวเด่น