แบงก์-นอนแบงก์
finbiz by ttb ย้ำ 4 เหตุผลที่ธุรกิจต้องเร่งใส่ใจปรับปรุงและพัฒนา ตามแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน


ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและอุณหภูมิโลกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ไม่ได้ส่งผลเสียกับธรรมชาติเท่านั้น แต่เริ่มเห็นผลกระทบชัดเจนด้านสุขภาพมากขึ้น เช่น การเกิดโรคอุบัติใหม่ หรือการที่ภูมิอากาศแปรปรวนสร้างความอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ความยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้...ทุกธุรกิจจึงต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

finbiz by ttb ขอเสนอแนวคิดและเหตุผลที่ทำไมองค์กรธุรกิจต้องใส่ใจ ESG รวมถึงแนวทางสำหรับในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้  
 
• ทุกธุรกิจมีโจทย์ใหญ่ คือ ต้องปรับตัวให้ “อยู่ได้-อยู่ดี” ในยุคโลกเดือด 
• นอกจากดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในขอบเขตการดำเนินงานของบริษัทเองแล้ว ทั้งห่วงโซ่อุปทานจะต้องหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน 
• เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ไม่ใช่แค่การจัดการขยะ แต่เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงกระบวนการ จนไปถึงการใช้งาน และการกำจัดเมื่อผลิตภัณฑ์สิ้นอายุ
• บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องจัดทำรายงานความยั่งยืนเพื่อเปิดเผยข้อมูล ESG 
• การเงินเพื่อความยั่งยืนเติบโตมากขึ้น มีการออกหุ้นกู้ ตราสารหนี้ที่เกี่ยวกับความยั่งยืน แนวโน้มนี้ยิ่งมาแรงขึ้นจากการมีกองทุน Thai ESG 
• รูปแบบการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้เน้นเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเดียว แต่ลงทุนเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติด้วย 
• การใช้เทคโนโลยี เช่น Climate Tech, AI เข้ามาช่วยในการจัดการความยั่งยืน 

เหตุผลที่ธุรกิจ ต้องเร่งใส่ใจ ESG เพราะธุรกิจจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน ต้องเติบโตอย่างสมดุลทั้ง 3 ด้าน คือ People, Planet และ Profit โดยมองเรื่องของการลดผลกระทบเชิงลบ สร้างผลกระทบเชิงบวก ตลอดจนปรับตัวให้อยู่ได้และอยู่ดีในโลกที่เปลี่ยนไป การที่ธุรกิจต้องสนใจ การบริหารจัดการด้านความยั่งยืนองค์กร (ESG Management) มาจากเหตุผลหลัก 4 เรื่อง คือ “กฎมาชัวร์–กลัวเงินหาย–ขายให้จึ้ง–ดึง Talents”

1) กฎมาชัวร์ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา กฎเกณฑ์ มาตรฐาน และกรอบด้าน ESG เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งระดับประเทศและระดับโลก ความเสี่ยงด้าน ESG ไม่ได้มองแค่รักษ์โลกอย่างเดียว แต่สามารถนำไปสู่ความเสี่ยงทางด้านการเงินได้ ดังนั้นจึงควรเริ่มเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรตั้งแต่วันนี้ เพื่อจัดทำเป็นนโยบายและพร้อมเปิดเผยข้อมูลก๊าซเรือนกระจก ที่สำคัญต้องผนวก ESG เข้าไปในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานด้วย
 
2) กลัวเงินหาย เพราะสถาบันการเงินและนักลงทุนให้ความสำคัญกับเครื่องมือทางการเงินและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์การลงทุนเพื่อความยั่งยืน เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก อย่างสินเชื่อสีเขียว ตราสารหนี้สีเขียว นอกจากนี้ ESG ยังช่วยประหยัดต้นทุนจากการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย
 
3) ขายให้จึ้ง จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และกระแสรักษ์โลก การใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ทำให้ผู้บริโภคตระหนักและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืนของโลก จึงมีความต้องการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น
 
4) ดึง Talents มีการวิจัยพบว่าพนักงานที่มีคุณภาพ และคนรุ่นใหม่ต้องการทำงานกับบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และสนใจบริษัทที่มุ่งเน้นการทำ ESG

แนวทางสำหรับธุรกิจในการทำ ESG
 
องค์กรควรให้ความสำคัญด้านความยั่งยืนด้วย การประเมินแบบ Double Materiality ซึ่งจะมีการพิจารณาผลกระทบด้านความยั่งยืนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน (Non-Financial) แบบ Inside-Out / Outside-In แม้ว่าจะไม่ได้มีกฎบังคับว่าจะต้องมีการเปิดเผยผลการประเมินแบบ Double Materiality ไว้ในรายงาน แต่การประเมินรูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจับประเด็นในการพิจารณาได้ และเป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจในประเด็น ESG ที่เกี่ยวข้องกับบริบทขององค์กร

Inside-Out มองผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Impact Materiality) ว่าธุรกิจเราทำอะไรที่กระทบในเชิงบวกและเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมบ้าง
 
Outside-in มองผลกระทบต่อธุรกิจ (Financial Materiality) ว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นกระทบกับการเงินของธุรกิจอย่างไร

เมื่อมีการประเมินได้ ธุรกิจจะสามารถปรับปรุงพัฒนาธุรกิจตามแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน และหากมีหลายประเด็นที่ต้องจัดการ ก็สามารถพิจารณาลำดับความเข้มข้นในการจัดการดังนี้
 
1) ทำตามกฎ ทำรายงานตามระเบียบต่าง ๆ และดำเนินธุรกิจตามกฎที่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งธุรกิจควรเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้สามารถวางแผนในการพัฒนาต่อไป
 
2) เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เมื่อธุรกิจทำตามกฎระเบียบต่าง ๆ แล้ว ให้พิจารณาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ลงได้ และยังสร้างส่วนต่างระหว่างต้นทุน และรายได้ให้กับธุรกิจ
 
3) ลงทุนเพื่อสร้างนวัตกรรม เมื่อธุรกิจสามารถดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ถึงเวลาของนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านของผลิตภัณฑ์ และกระบวนการต่าง ๆ ที่ต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างผลประกอบการที่ยั่งยืนในระยะยาว และสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี การที่ธุรกิจจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างไม่สิ้นสุดเช่นกัน การเป็นองค์กรที่ดำเนินงานตามแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน จะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง และสามารถสื่อสารเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยต้องมีนโยบายและการดำเนินการจริงไม่ใช่ทำเพื่อการตลาดตามเทรนด์เท่านั้น

#finbizbyttb #โครงการเสริมความรู้SME
#เอสเอ็มอียุคดิจิทัล #ตัวช่วยเอสเอ็มอี #SMEเติบโตอย่างยั่งยืน
#ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น
#ttb #MakeREALChange
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 08 ต.ค. 2567 เวลา : 11:29:29
11-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 11, 2025, 10:11 am