(1) การปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO portal) สามารถ outsource ระบบงานเพิ่มเติมได้
คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงเกณฑ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 เพื่อให้สามารถ outsource งานที่เกี่ยวข้องกับ ICO portal ได้ทุกระบบงาน รวมถึงงานตรวจสอบและสอบทานข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (due diligence) บางส่วน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ รวมถึงส่งเสริมบทบาทของผู้ประกอบธุรกิจในฝั่งหลักทรัพย์ (traditional player)
ICO portal จะสามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นรับดำเนินการในงาน due diligence (1) ด้าน Business (เช่น ข้อมูล issuer แผนธุรกิจ โครงการโทเคนดิจิทัล เป็นต้น) หรือ (2) ด้าน Technology (ได้แก่ ชุดรหัส (source code) ในสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) หรือกลไกอื่นที่นำมาใช้ทดแทน smart contract) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ICO portal ต้องขออนุญาต ก.ล.ต. ก่อนมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับงาน due diligence ดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับ ICO portal ได้แก่ การนำส่งและเปิดเผยงบการเงิน และการดำเนินการกับ ICO portal ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการกำกับดูแล ICO portal
ก.ล.ต. จะยกร่างประกาศเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง และออกประกาศบังคับใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป
ข่าว: คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ ICO portal สามารถ outsource ระบบงานเพิ่มเติมได้ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจ https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Detail.aspx?SECID=11203
(2) ความคืบหน้าโครงการ Digital Asset Regulatory Sandbox
มีภาคเอกชนเข้ามาหารือแล้วประมาณ 10 ราย (ยังไม่ได้ยื่นใบสมัครอย่างเป็นทางการ)
ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการ Enhanced Sandbox ของ ธปท. ใน theme Programmable Payment และส่วนที่เป็น Digital Asset Sandbox ของ ก.ล.ต. อย่างเดียว
(3) ความคืบหน้า Digital Asset Custodial Wallet Provider
มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว 1 ราย (ยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจ)
มีผู้ยื่นขอรับใบอนุญาต 1 ราย (อยู่ระหว่างพิจารณา)
นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างปรับปรุงหลักเกณฑ์ เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะมีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งคาดว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับภายในไตรมาส 4 ปี 2567
ก.ล.ต. คาดหวังว่าผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลจะเข้ามาส่งเสริมให้ระบบนิเวศของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไทยมีความสมบูรณ์ ลดความเสี่ยงจาก การนำสินทรัพย์ดิจิทัลไปฝากไว้กับ custodial wallet ในต่างประเทศ และเพิ่มความคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าได้มากขึ้นด้วยระบบงานที่มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า
(4) การปรับปรุงร่างประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับบทระวางโทษปรับเป็นเงินกับสมาชิกตามที่ตลาดหลักทรัพย์เสนอ
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุง ร่างประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับบทระวางโทษปรับเป็นเงินกับสมาชิกตามที่ ตลาดหลักทรัพย์เสนอ ซึ่งได้มีการจัดกลุ่มลักษณะการกระทำผิดใหม่ และการกำหนดบทระวางโทษ ปรับเป็นเงินให้เหมาะสมในแต่ละกรณี เพื่อให้มีความชัดเจนและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อให้บทระวางโทษปรับเป็นเงินในแต่ละลักษณะการกระทำผิดมีความชัดเจนและเหมาะสม โดยมีการกำหนดระดับความรุนแรงของลักษณะการกระทำผิดและระวางโทษที่สะท้อนกับความผิด ตัวอย่างเช่น กรณี Naked Short Selling ถือเป็นลักษณะการกระทำผิดที่มีระดับรุนแรงมาก บทระวางโทษปรับเป็นเงินต่อลักษณะการกระทำผิดจึงมีอัตราโทษปรับ 3 เท่าของกำไรที่ได้รับ แต่ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท เป็นต้น
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดบทบัญญัติการเพิ่มโทษ สำหรับกรณีกระทำผิดโดยจงใจหรือ เอื้อประโยชน์ให้ลูกค้า หรือหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และข้อกำหนดตลาดหลักทรัพย์โดยสามารถปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 10 ล้านบาท และตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดแนวทางการพิจารณาความผิดและลงโทษสมาชิกที่ใช้ภายใน เพื่อกำหนดโทษปรับเป็นเงินที่แน่นอน / มีการกำหนดปัจจัย เพิ่ม-ลดโทษอย่างชัดเจน ไม่เปิดช่องให้มีการใช้ดุลพินิจได้มากจนเกินสมควร และนำมาใช้บังคับกับ สมาชิกทุกรายด้วยมาตรฐานเดียวกัน
โดยจะมีผลใช้บังคับกับการกระทำผิดของสมาชิกที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่หลักเกณฑ์บทระวางโทษใหม่ มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป
ข่าวเด่น