สุขภาพ
W9 ชี้ "โรคอัลไซเมอร์" รู้ทัน ป้องกันก่อน แนะดูแลสุขภาพสมองควบคู่สุขภาพกายใจแบบองค์รวม ลดความเสี่ยงได้


“ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์” เป็นประโยคที่ทุกคนมักกล่าวกับเพื่อน ๆ และคนในครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครเลือกอาการเจ็บป่วยของร่างกายได้ ขณะที่โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุและกำลังปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนมากกว่า 20% ของประชากรประเทศทั้งหมดตั้งแต่ปี 2565 รายงานจากกรมการแพทย์ในปี 2563 ประมาณการผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีจำนวนถึง 651,950 คน จากผู้สูงอายุ 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 5.43% ของผู้สูงอายุทั้งหมด ทั้งนี้ ในปี 2565 สถิติผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคภาวะสมองเสื่อมมีจำนวน 770,000 คน หรือประมาณ 6% ของจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งประเทศ โดยจากสถิติพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมีจำนวนสูงขึ้นในทุก ๆ ปี เฉลี่ยปีละหนึ่งแสนราย ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในทุกปี

 
นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center กล่าวว่า ปัจจุบัน W9 พบผู้มีความกังวลเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ 2. กลุ่มที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุและเริ่มกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการเป็นโรคอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุ และ 3. กลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีความกังวลหรือต้องการทราบความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของตนเอง ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีต้องการและความกังวลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มแรกที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ มักมี 2 ประเด็นที่ต้องการทราบ คือ ต้องการรู้ระยะของโรคเพื่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ถูกต้องเหมาะสม  และต้องการทราบว่าตนเองมีโอกาสหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์เช่นเดียวกับคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่ เพื่อหาแนวทางการดูแลสุขภาพกายใจองค์รวมเชิงป้องกันก่อนเกิดโรค

สำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุและเริ่มกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการเป็นโรคอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุ พบปัญหาเหมือนกันแทบทุกครอบครัว คือ ผู้สูงอายุเริ่มมีอาการแต่ปฏิเสธการมาหาแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวโน้มของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ และมาหาแพทย์เมื่อมีอาการเกินกว่าระยะแรก (Early-stage) ของโรคไปแล้ว ส่งผลให้การดูแลรักษาผู้ป่วยค่อยข้างยากกว่าในระยะแรก 

 
ส่วนกลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีความกังวลหรือต้องการทราบความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของตนเอง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ และมีการตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำ แต่หลังจากเทรนด์ของการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้กลุ่มคนดังกล่าวเริ่มมองหาแนวทางการตรวจเช็คความเสี่ยงและดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเชิงเวลเนส

นวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถตรวจพันธุกรรมเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์เชิงลึกระดับ DNA ได้จากการตรวจเลือดและปัสสาวะ โดยการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ เช่น การขาดวิตามินบางประเภท ความผิดปกติของยีน หรือระดับโลหะหนักในร่างกายที่สูงเกินไป ควบคู่กับการประเมินสุขภาพโดยรวมเพื่อระบุปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสมอง เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงและสุขภาพโดยรวมแล้ว แพทย์จะสามารถวางแผนการดูแลรักษาหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่เหมาะสมแบบเฉพาะรายบุคคล ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ ทั้งนี้ การตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์เหมาะกับทั้งผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งที่ยังมีความจำดีและผู้ที่เริ่มต้นมีปัญหาหลงลืม ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีความกังวลหรือต้องการรู้ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาหลงลืมที่รบกวนชีวิตประจำวัน นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าว
 

 
การเลือกโปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ควรเลือกการตรวจวิเคราะห์ที่ครอบคลุมการ ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด เป็นการตรวจสอบว่ามีการติดเชื้อหรือภาวะโลหิตจางที่อาจส่งผลต่อสุขภาพสมอง ตรวจยีนโรคอัลไซเมอร์ ด้วยการตรวจยีน ApoE ช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ซึ่งยีนชนิดนี้มีความเชื่อมโยงกับการสะสมของโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ในสมองที่เป็นลักษณะเด่นของโรค ตรวจความเสี่ยงยีนสังเคราะห์โฟเลท ช่วยระบุความเสี่ยงการขาดโฟเลต เนื่องจากยีน MTHFR มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โฟเลตซึ่งเป็นวิตามินบีที่จำเป็นสำหรับสุขภาพระบบสมอง ตรวจระดับโฮโมซีสเตอีน ที่เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง หากระดับสูงเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจซึ่งส่งผลกับสุขภาพสมองเช่นกัน ตรวจฮอร์โมนต่อมหมวกไต เป็นการประเมินสุขภาพของสมองเพราะฮอร์โมน DHEA ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท นอกจากนี้ ควรมีการตรวจระดับวิตามินดี ระดับโฟเลทในเม็ดเลือดแดง เช็คระดับโลหะหนักในร่างกาย ทั้งทองแดง สังกะสี และอลูมิเนียม รวมทั้งระดับวิตามิน B12 ที่ล้วนมีส่วนสำคัญต่อสมองทั้งสิ้น ที่สำคัญคือปรึกษาและวางแผนการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคลกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันแบบองค์รวม เพื่อการรักษาและป้องกันที่ตรงจุด

 
รู้ก่อน ป้องกันก่อน ลดความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ให้ตัวเองและคนในครอบครัวเพื่อเวลเนสที่ดีของทุกคน ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมการตรวจ Alzheimer’s Preventive Wellness Program ที่ W9 :  https://w9wellness.com/th/

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 พ.ย. 2567 เวลา : 16:55:46
23-12-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ December 23, 2024, 10:25 am