การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
ดัชนีครูไทย ปี 2567 "เรียนดี มีความสุข" ครูไทยร่วมใจปฏิวัติการศึกษา สร้างเด็กฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ



“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 3,089 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 16-26 ธันวาคม 2567 ตัวชี้วัด 20 ประเด็นบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อครูไทยทั้งในด้านส่วนตัว การพัฒนาตนเองและการพัฒนาวิชาชีพในรอบปี 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 สรุปเรียงลำดับจากความเชื่อมั่นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้


ปี 63 7.35 คะแนน

ปี 64 7.75 คะแนน

ปี 65 7.52 คะแนน

ปี 66 7.90 คะแนน

*ปี 67 7.94 คะแนน

 
 
สรุปผลการสำรวจ : ดัชนีครูไทย ปี 2567 “เรียนดี มีความสุข” ครูไทยร่วมใจปฏิวัติการศึกษา สร้างเด็กฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 20 สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 3,089 คน ระหว่างวันที่ 16-26 ธันวาคม 2567 พบว่า ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น “ดัชนีครูไทย” ปี 2567 เต็ม 10 ได้ 7.94 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากปี 66 ได้ 7.90 คะแนน) โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บุคลิกภาพดี แต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ เฉลี่ย 8.22 คะแนน รองลงมาคือ มีความเมตตา มีจิตใจโอบอ้อมอารี เฉลี่ย 8.18 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้เป็นสิน เฉลี่ย 7.54 คะแนน (ได้คะแนนต่ำสุด 5 ปีติดต่อกัน) จุดเด่นของครูไทยในปี 2567 คือ ขยัน อดทน ทุ่มเท เสียสละ ร้อยละ 60.70 จุดด้อยของครูไทย คือ ขาดงบประมาณสนับสุนน ร้อยละ 55.33 จากนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” กลุ่มตัวอย่างมองว่ามีความสำคัญต่อครูและนักเรียนในแง่ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ร้อยละ 63.32 ทั้งนี้ตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา สิ่งที่ประชาชนภูมิใจในตัวครู คือ เข้าใจผู้เรียน รับฟังความเห็น ให้คำปรึกษา ร้อยละ 51.57

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากคะแนนดัชนีความเชื่อมั่นต่อครูไทย 5 ปี พบว่า คะแนน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้คะแนนในปี 2565 ลดลง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ครูต้องปรับตัวสู่การสอนออนไลน์ ซึ่งมีข้อจำกัดหลายด้าน แต่การฟื้นตัวในปี 2566 และ 2567 ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามของครูในการพัฒนาตนเอง โดยในปี 2567 คะแนนอยู่ที่ 7.94 คะแนน สูงที่สุดในรอบ 5 ปี สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับและความเชื่อมั่นในบทบาทของครูจากประชาชน แม้จะเผชิญกับข้อจำกัด เช่น ขาดงบประมาณ และภาระงานที่หนักเกินไป แต่ครูไทยก็ยังมีศักยภาพและปรับตัวได้ดี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรเร่งส่งเสริมการพัฒนาครูในทุกมิติ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน เย อาชีพ เย .19 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การประหยัดไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้เป็นสิน เฉลี่ย 6.78 คะแนน (ได้คะแนนต่ำสุด 4 ทย ปี 2566 จะเห็นได้ว่าครูไทยมีความโดดเด่นด้านมนุษยสัมพันธ์และบุคลิกส่วนด้าน ที่ได้คะแนนไม่มากนักคือ ปัญหาหนี้สิน การควบคุมอารมณ์ การคิดตัดสินใจ กล้าที่จะเปลี่ยนแปล นางสาวพรพรรณ บัวทอง

ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีณัฐ สกุลหอม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ผลสำรวจดัชนีครูไทย ปี 2567 แสดงให้เห็นว่า แม้คะแนนความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.94 คะแนน แต่ยังมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่ได้คะแนนระดับกลางค่อนต่ำ ที่น่าห่วงคือปัญหาหนี้สินของครูที่สะท้อนผ่านคะแนนต่ำสุดต่อเนื่อง 5 ปี (7.54 คะแนน) รวมถึงการควบคุมอารมณ์ (7.60 คะแนน) และทัศนคติต่อความแตกต่างของผู้เรียน (7.68 คะแนน) สถาบันผลิตครูควรต้องปรับกระบวนการผลิตและพัฒนาครูให้มีความเข้มแข็งทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิต และการจัดการทางการเงิน พร้อมกับผลักดันให้มีการปรับระบบการศึกษาที่ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นและสนับสนุนทรัพยากรให้เพียงพอ เพื่อให้ครูสามารถขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” และสร้างผู้เรียนที่ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีณัฐ สกุลหอม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 16 ม.ค. 2568 เวลา : 16:35:41
24-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 24, 2025, 7:23 am