สิงคโปร์เคยประสบปัญหาหมอกควันพิษจากการเผาป่าในประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้ระดับ PM2.5 เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 471 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในปี 2013 ซึ่งเกินระดับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ว่าปลอดภัย เพื่อแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ดำเนินหลากหลาย โดยมีมาตรการสำคัญ ได้แก่
ออกกฎหมายควบคุมมลพิษข้ามพรมแดน: สิงคโปร์ได้ออกกฎหมาย "Transboundary Haze Pollution Act" ที่จะเรียกเก็บค่าปรับ 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อวัน (สูงสุด 2 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์) หากพบว่าบริษัทต่างชาติมีการดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในประเทศ ตั้งแต่ปี 2014
ความร่วมมือระดับภูมิภาค ผ่าน "ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน" (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) ร่วมกับมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
การสนับสนุนทางเทคนิคและความช่วยเหลือด้านทรัพยากรแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในการจัดการไฟป่า การแบ่งปันเทคโนโลยีที่ช่วยลดการเผาป่า และการสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรมที่ยั่งยืน นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเคยส่งทีมผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ดับเพลิงเครื่องบิน C-130 เพื่อช่วยอินโดนีเซียควบคุมไฟป่าในพื้นที่เสี่ยง
สำหรับประเทศไทย ก็เผชิญปัญหาในทำนองเดียวกัน คือ ได้รับผลกระทบ PM2.5 ที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งนอกเหนือจากความพยายามร่างกฎหมายภายในประเทศ เช่น พ.ร.บ. อากาศสะอาด แล้ว ยังได้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้แก่ “ยุทธศาสตร์ท้องฟ้าใส” (Clear Sky Strategy) 2024 - 2030 ระหว่างประเทศไทย ลาว และเมียนมา เพื่อตั้งเป้าหมายลดมลพิษ PM2.5 ที่เกิดจาก อุตสาหกรรม การขนส่ง การเกษตร และไฟป่า เป็นสำคัญ โดยมีการวางแผนการจัดการมลพิษตามฤดูกาลที่จะมาช่วยลดผลกระทบจาก PM2.5 ข้ามแดนได้
ข่าวเด่น