เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
Krungthai COMPASS วิเคราะห์ "ส่งออก ม.ค. 68 ขยายตัว 13.6%YoY Momentum การส่งออกระยะข้างหน้า อาจเผชิญความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันการค้าที่มาเร็วกว่าคาด"


มูลค่าส่งออกเดือน ม.ค. เติบโต 13.6%YoY ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ 8.2%YoY โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรยังคงขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปตลาดหลักต่างขยายตัว ด้านการนำเข้าชะลอตัวลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 7.9%YoY ขณะที่ดุลการค้าขาดดุลที่ระดับ 1,880.2 ล้านดอลลาร์ฯ

 
แม้การส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 แต่การส่งออกในปีนี้ยังเผชิญความเสี่ยงทั้งจากสงครามการค้า และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของประเทศหลัก ประกอบกับวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Cycle) ที่เริ่มขยายตัวชะลอลง ประเมินว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2025 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงที่ 2%YoY เทียบกับปี 2024 ที่ขยายตัวสูง 4.3%YoY

มูลค่าส่งออกเดือนธันวาคม 2567 ขยายตัว 13.6%YoY
 
มูลค่าส่งออกเดือน ม.ค. อยู่ที่ 25,277.0 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 13.6%YoY ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ 8.2%YoY โดยการส่งออกสินค้าทั้งกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ต่างเติบโตต่อเนื่อง การส่งออกทองคำในเดือนนี้เติบโตที่ 148.9%YoY ทำให้เมื่อหักทองคำแล้วมูลค่าส่งออกเดือนนี้ขยายตัวอยู่ที่ 10.6%YoY
โดยมีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจาก
 
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 17.0%YoY เติบโตต่อเนื่องจาก 11.1%YoY ในเดือนก่อน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+45.0%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+148.8%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+33.2%) เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-16.5%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-18.6%)อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (-38.2%) เป็นต้น 
 
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรทรงตัว 0.1%YoY จากเดือนก่อนที่ขยายตัวได้ 5.7%YoY โดยสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 3.0%YoY จากเดือนที่ผ่านมาซึ่งเติบโต 6.7%YoY สวนทางกับสินค้าเกษตรที่หดตัว 2.2%YoY จากเดือนก่อนซึ่งเติบโต 10.7%YoY โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป (+12.3%) อาหารสัตว์เลี้ยง (+13%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหาร

 
 
การส่งออกรายตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวจากการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์และทองคำเป็นสำคัญ
 
สหรัฐฯ: ขยายตัว 22.4%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ  เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่นอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด
 
จีน: ขยายตัว 13.2%YoY เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ด้านสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น
 
ญี่ปุ่น: ขยายตัว 1.9%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำตาลทราย เป็นต้น
 
EU27: ขยายตัว 13.8%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น
 
ASEAN-5: ขยายตัว 4.8%YoY กลับมาเติบโตในรอบ 3 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
มูลค่าการนำเข้าเดือน ม.ค. อยู่ที่ 27,157.2 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 7.9%YoY ชะลอตัวจาก 14.9%YoY เมื่อเดือนก่อน โดยการนำเข้าขยายตัวทั้งสินค้าทุน (+17.8%YoY) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+4.2%YoY) สินค้าอุปโภคบริโภค (+9.0%YoY) และสินค้ายานพาหนะฯ (+1.4%YoY) ขณะที่การนำเข้าส่วนสินค้าเชื้อเพลิงหดตัวเล็กน้อย (-1.0%YoY) ส่วนดุลการค้าเดือน ม.ค. ขาดดุล 1,880.2 ล้านดอลลาร์ฯ

 
 
Implication:
 
แม้การส่งออกเดือน ม.ค. ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว ตามการเร่งส่งออกก่อนได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ระลอกใหม่ ขณะที่ภาวะการค้าระหว่างประเทศระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง การส่งออกของไทยยังเติบโตดีสอดคล้องกับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นผลจากแรงหนุนของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งยังอยู่ในช่วงขาขึ้น และปัจจัยชั่วคราวตามการคำสั่งซื้อของสหรัฐ (PMI Imports) ที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง สอดคล้องกับการผลิตโลกที่ยังส่งสัญญาณขยายตัวในเดือน ม.ค. 2568 โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือน ม.ค. 68 อยู่ที่ระดับ 50.1 สูงกว่าเดือนก่อนที่ 49.6
 
คาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ในระยะข้างหน้า ต้องจับตาวัฏจักรเซมิคอนดักเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอกนิกส์ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนการส่งออกไทยตลอดปี 2024 ว่าจะเติบโตต่อเนื่องหรือไม่ เนื่องจากมีสัญญาณการขยายตัวที่เริ่มชะลอลง 
 
อีกทั้งการค้าโลกและการส่งออกของไทยยังเผชิญกับสงครามการค้า และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของประเทศหลัก ซึ่งสะท้อนจากดัชนี Trade Policy Uncertainty Index ของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (พ.ย.2567)
 
 
 
กฤษฏิ์ ศรีปราชญ์
กฤตตฤณ  เหล่าฤทธิ์
Krungthai COMPASS 

 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 26 ก.พ. 2568 เวลา : 14:56:13
19-04-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2025, 4:45 pm