เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
คลังเผยเศรษฐกิจภูมิภาค ม.ค.68 รับปัจจัยหนุนจากบริโภคภาคเอกชน การท่องเที่ยว ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดีขึ้นในทุกภูมิภาค แต่การลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัว


เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมกราคม 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะ กทม. และปริมณฑล และภาคตะวันออก อีกทั้งการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัว

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมกราคม 2568 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมกราคม 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะ กทม. และปริมณฑล และภาคตะวันออก อีกทั้งการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัว” โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ในเดือนมกราคม 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยว อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.8 และ6.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -13.8 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.5 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -7.5 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -14.1 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานศูนย์บริการรับซ่อมและพ่นสีรถยนต์ในจังหวัดปทุมธานี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 95.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.6 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 และ 7.9 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนมกราคม 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน รายได้เกษตรกร และการท่องเที่ยว อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 2.0 และ 3.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -19.0 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 33.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -27.0 และ -8.9 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.8 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้
จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 และ 7.2 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนมกราคม 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยว อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 และ2.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -15.7 และ -6.1 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 และ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.0 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -24.8 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 317.9 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานการทำนมสดให้ไร้เชื้อ ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 91.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.3 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 และ 7.3 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนมกราคม 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.4 และ2.7 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -17.6 และ -8.7 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 34.9 และ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -18.8 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 25.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -17.9 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 73.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 73.9 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนมกราคม 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค รายได้เกษตรกร และการท่องเที่ยว อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นโดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 11.9 และ 29.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -25.4 และ -1.9 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.9 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -17.8 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 25.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 83.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 78.7 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 14.8 และ 20.3 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนมกราคม 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยว อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ 0.0 -10.8 และ -1.2 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.4 2.5 และ 13.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -18.8 และ -37.6 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 909.4 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตกระป๋องโลหะในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 95.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.6 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 และ 5.9 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนมกราคม 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยว อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -0.3 -21.3 -2.4 และ -0.6 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 19.6 9.5 และ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 ต่อปี อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -26.5 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 524.0 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตแผงวงจรพิมพ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 95.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.6 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 และ 6.7 ต่อปี ตามลำดับ 

นอกจากนี้ ผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคของไทย ประจำเดือนมกราคม 2568 ซึ่งสำรวจจากสำนักงานคลังจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาคปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเกือบทุกภูมิภาคตามความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในภาคเกษตรและบริการเป้นสำคัญ สอดคล้องกับกำลังซื้อสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคประชาชนซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาคเช่นกัน อาทิ ภาคตะวันออก และ กทม. และปริมณฑล โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคบริการเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคใน 6 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้นในหลายภูมิภาค เช่น ภาคใต้ และภาคเหนือ ซึ่งส่วนหนึ่งมีปัจจัยสนับสนุนมาจากนโยบายภาครัฐ เช่น Easy E-Receipt 2.0 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามความผันผวนของสภาพอากาศ เศรษฐกิจโลก และต้นทุนการผลิตที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 27 ก.พ. 2568 เวลา : 18:44:34
19-04-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2025, 3:42 pm