.jpg)
(-) ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับลดลงต่อเนื่อง หลังตลาดยังคงกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ภายหลังจากวันจันทร์ที่ผ่านมา (3 มี.ค. 68) กลุ่ม OPEC+ ได้มีมติในการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบกว่า 138,000 บาร์เรลต่อวัน เริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย. 68 เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2565 ขณะที่อุปทานน้ำมันดิบจากรัสเซีย มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน หากมีการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ
(-) ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากมาตรการกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อแคนาดา เม็กซิโก และจีน ซึ่งได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้วานนี้ (4 มี.ค. 68) ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโกเพิ่มขึ้นเป็น 25% ขณะที่สินค้าประเภทพลังงานจากแคนาดามีอัตราภาษีนำเข้าเป็น 10% และ สินค้าจากจีนมีอัตราภาษีนำเข้าเป็น 20% โดยจีนได้ตอบโต้มาตรการดังกล่าว ด้วยการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารของสหรัฐฯ กว่า 10-15% รวมทั้งจำกัดการส่งออกและการลงทุนของบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ กว่า 25 แห่ง ส่งผลให้ตลาดกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงอุปสงค์น้ำมันดิบในตลาดที่อาจลดลง
(+) หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณ น้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด วันที่ 28 ก.พ. 68 ปรับตัวลดลงกว่า 1.46 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่ นักวิเคราะห์ คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 0.3 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากตัวเลขการส่งออกน้ำมันเบนซินจากจีนในเดือนมี.ค. 68 ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ราคายังคงได้รับแรงหนุนหลังตลาดคาด อุปสงค์น้ำมันเบนซินจากอินโดนีเซียในเดือนมี.ค. 68 จะยังทรงตัวในระดับสูง
ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์น้ำมันดีเซลในจีนมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ดี ราคายังคงได้รับแรงกดดันจากปริมาณการซื้อขายน้ำมันดีเซลของสิงคโปร์ในเดือนก.พ. 68 ที่ชะลอตัวลงกว่า 46% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ข่าวเด่น