
• ในปี 2568 คาดว่าอุปทานเนื้อสุกรลดลง2.4% ตามจ านวนสุกรเลี้ยงที่ลดลง เนื่องจากมาตรการปรับลดจำนวนแม่พันธุ์สุกรและผลกระทบโรคระบาด แม้ว่าราคาอาหารสัตว์จะมีแนวโน้มลดลง อาทิเช่น ปลายข้าว กากถั่วเหลือง และปลาป่น โดยอุปทานเนื้อสุกรจะมาจากผู้ผลิตสุกรรายกลาง-ใหญ่เป็นสำคัญในขณะที่ผู้ผลิตสุกรรายย่อยจะลดบทบาทลง
• อุปสงค์เนื้อสุกรปี 2568 คาดว่าลดลง1.7% ตามราคาเนื้อสุกรที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก จะกดดันความต้องการของผู้บริโภคไทย ในขณะที่ผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่ายังเติบโตได้ทำให้ภาพรวมการบริโภคเนื้อสุกรในประเทศลดลงไม่มากนัก
แนวโน้มอุปทานและอุปสงค์เนื้อสุกรไทย 2
อุปทานเนื้อสุกรไทย
ปี 2568 คาดว่า อุปทานเนื้อสุกรไทยลดลง 2.4% ตามจ านวนสุกรมีชีวิตที่ลดลงราว 5 แสนตัว (รูปที่2) จากมาตรการลดจ านวนแม่พันธุ์สุกรและโรคระบาด แม้ราคาอาหารสัตว์จะปรับลดลง
อุปทานเนื้อสุกรไทยลดลง เนื่องจากมาตรการภาครัฐที่ต้องการลดจ านวนแม่พันธุ์สุกรในฟาร์มขนาดใหญ่และผลของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรหรือ ASF ที่อาจสร้างความเสียหายในบางพื้นที่ (แต่ไม่รุนแรงเท่าปี 2565)
อย่างไรก็ดีด้วยราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีแนวโน้มลดลง ทั้งปลายข้าว กากถั่วเหลือง และปลาป่นตามสภาพอากาศที่เอื้ออ านวยในแหล่งผลิตหลัก โดยในเดือนแรกของปี 2568 ปลาป่นมีราคาเฉลี่ยลดลงมากถึง 24% ตามด้วยกากถั่วเหลืองที่มีราคาเฉลี่ยลดลง21% (รูปที่3)จึงทำให้ภาพรวมอุปทานเนื้อสุกรในปีนี้ปรับลดลงไม่มาก
จำนวนสุกรเลี้ยงของไทยฟื้นกลับมาเทียบเท่าก่อน ASF โดยมาจากผู้เลี้ยงรายใหญ่มากขึ้นในขณะที่ผู้เเลี้ยงรายย่อยทยอยลดจำนวนลง
โดยในปี 2567 จ านวนสุกรเลี้ยงมีถึง 21 ล้านตัว สะท้อนถึงระดับอุปทานสุกรที่เต็มก าลังการผลิต ซึ่งอุปทานสุกรส่วนใหญ่จะมาจากผู้เลี้ยงรายกลาง-ใหญ่มากขึ้น โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 72% ของผลผลิตสุกรในปี 2564 เป็น 75% ในปี 2567 (รูปที่ 4) ขณะที่ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยบางส่วนยังเผชิญภาวะขาดทุนสะสมจากผลของ ASF จนต้องเลิกกิจการ โดยในปี 2567 มีการขาดทุนเฉลี่ยถึง 8 บาทต่อกิโลกรัม1
อุปทานเนื้อสุกรของไทยยังเป็นไปเพื่อการบริโภคในประเทศเกือบทัง้หมด เนื่องจากเนื้อสุกรของไทยยังมีราคาสูงกว่าผู้ผลิตรายสำคัญของโลก เช่น สเปน สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์เป็นต้น จึงท ให้ไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกได้ (รูปที่ 5) ขณะเดียวกัน ตลาดเนื้อสุกรในประเทศก็ได้รับการปกป้องจากกฏหมายควบคุมการน าเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกร ท าให้ผู้ผลิตเนื้อสุกรมักเลือกทำตลาดในประเทศเป็นหลัก
อุปสงค์เนื้อสุกรไทย
ในปี2568 คาดว่า อุปสงคเนื้อสุกรไทยลดลง 1.7% จากปริมาณ 1.61 ล้านตัน มาอยู่ที่1.58 ล้านตัน (รูปที่6) ตามราคาเนือ้ สุกรที่ปรับเพิ่มขึ้น 3.1%
เมื่อราคาเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคไทยมักบริโภคเนื้อสุกรลดลง (รูปที่7) ท าให้ราคาเนื้อสุกรไทยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (รูปที่ 8)จะส่งผลต่ออุปสงค์จากผู้บริโภคไทยให้ลดลง ขณะที่ในส่วนของผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติก็มีส่วนต่อการบริโภคอาหารที่รวมถึงเนื้อสุกร โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2568 จะยังขยายตัวได้ก็อาจเป็นแรงหนุนส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพรวมอุปสงค์เนื้อสุกรของไทยลดลงไม่มากนัก
การส่งออกเนื้อสุกรไทย
ปี 2568 คาดว่า ปริมาณการส่งออกเนื้อสุกรแช่เย็นแช่แข็งของไทยจะเติบโตราว 4.9% (รูปที่9)โดยได้แรงหนุนจากความต้องการในตลาดส่งออกหลักอย่างฮ่องกง ที่น าเข้าจากไทยมากขึ้นในจังหวะที่แหล่งนำเข้าหลักอย่างจีนมีผลผลิตสุกรลดลงและมีราคาขายสุกรที่สูงกว่าไทย
อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกเนื้อสุกรแช่เย็นแช่แข็งของไทยยังน้อยมาก เนื่องจากสุกรของไทยส่วนใหญ่ยังเผชิญปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD: Foot and Mouth Disease) จึงยังเป็นข้อจำกัดในการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ของไทย
ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมเนื้อสุกรในระยะข้างหน้า
คาดว่า อุปทานคงเพิ่มได้ยาก และอุปสงค์คงโตได้จำกัด
ปัจจัยกดดันอุปทาน
? ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะต้นทุนจัดการฟาร์ม (Biosecurity) เพื่อให้ได้มาตรฐานที่ปลอดจากโรค ASF นอกจากนี้ ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ไทยยังต้องนำเข้า
ในบางรายการหลัก เช่น กากถั่วเหลือง จะทำให้ราคามีความไม่แน่นอนสูง กระทบต่อปริมาณการผลิตสุกร โดยเฉพาะในเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
? ความเสี่ยงจากการเปิ ดเสรีการค้า โดยเฉพาะหากไทยถูกกดดันให้เปิดตลาดเนื้อสุกรจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตสุกรรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีต้นทุนการผลิต
ต่ำและราคาถูกกว่าเนื้อสุกรในประเทศ จะท าให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง
ปัจจัยกดดันอุปสงค์
? จำนวนประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง โดยประชากรไทยได้ลดจ านวนลงตั้งแต่ปี2563 มาอยู่ที่ 66.2 ล้านคน และลดต่อเนื่องมาในปี 2567อยู่ที่ 65.95 ล้านคน กดดันการบริโภคเนื้อสุกร
โดยคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า การบริโภคเนื้อสุกรของไทยอาจโตได้ต่ำที่0.6% ต่อปี
? จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ปัจจุบันไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society)และคาดว่าในปี2572 ไทยจะเป็น Super-Aged Society ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคเนื้อสุกรลดลงเนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่บริโภคเนื้อสุกรน้อย ทั้งปริมาณและความถี่ต่อสัปดาห์โดยผู้สูงอายุบริโภคเนื้อสุกรเฉลี่ยลดลงเหลือ 38 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เทียบกับคนวัยท างานที่บริโภคเนื้อสุกรเฉลี่ยอยู่ที่ 49 กิโลกรัมต่อคนต่อปี2
ข่าวเด่น