เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
Krungthai Compass วิเคราะห์ กนง. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% คาด กนง.อาจปรับลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้สู่ระดับ 2.0%


 
กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นซึ่งได้รับแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐที่คาดว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ 2.6% และ 3.0% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ สำหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567  
 
Krungthai COMPASS คาด กนง. อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้สู่ระดับ 2.0% ต่อปี จากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างของไทยได้กระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการส่งออกและการผลิต อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่ปัจจัยกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงกว่ากรอบเป้าหมายมีแนวโน้มผ่อนคลายลง 

กนง. มีมติข้างมาก “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2567 และปี 2568
 
กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ 2/2567 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
 
• เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นที่ 2.6% ในปี 2567 และ 3.0% ในปี 2568 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายต่อคน การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องแม้จะชะลอลงจากปีก่อนที่ขยายตัวสูง และการใช้จ่ายภาครัฐที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี สำหรับการส่งออกจะฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มต่ำลงหลังวิกฤตโควิด สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดดันศักยภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออกและการผลิตที่เผิชญความท้าทายจากความสามารถในการแข่งขันที่ปรับลดลงและภาวะสินค้าล้นตลาด
 
• อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ที่ 0.6% และ 1.3% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยลดลงตามราคาอาหารสดบางกลุ่มเนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก และราคากลุ่มพลังานที่ได้รับการสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ หากหักผลของมาตรการดังกล่าว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปตลอดช่วงที่ผ่านมายังคงเป็นบวก โดยประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยเพิ่มขึ้นกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ภายในปลายปีนี้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ที่ 0.6% และ 0.9% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ
 
 
ภาวะการเงินโดยรวมทรงตัว โดยต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ใกล้เคียงเดิม สินเชื่อภาคธุรกิจและครัวเรือนขยายตัวชะลอลงจากการชำระคืนหนี้ ขณะที่ปริมาณสินเชื่อปล่อยใหม่ในภาพรวมยังขยายตัว อย่างไรก็ดี ธุรกิจขนาดเล็กบางกลุ่มและครัวเรือนรายได้น้อยเผชิญภาวะการเงินที่ตึงตัว เนื่องจากมีปัญหาเชิงโครงสร้างในการเข้าถึงสินเชื่อ ประกอบกับความสามารถในการชำระหนี้ปรับลดลงจากรายได้ที่ฟื้นตัวช้า ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวผันผวน โดยอ่อนค่านำสกุลภูมิภาค ตามการคาดการณ์ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจการเงินในประเทศในช่วงที่ผ่านมา
 
• การดำเนินมาตรการเฉพาะจุดผ่านสถาบันการเงิน โดยเฉพาะมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ควรมีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง กระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (debt deleveraging) จะช่วยลดความเปราะบางของเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว อีกทั้งนโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อ
 
 
 

Implication: 
 
• Krungthai COMPASS ประเมินว่าเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต จะเป็นปัจจัยกดดันให้ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้สู่ระดับ 2.0% ต่อปี โดย กนง. ระบุว่าเศรษฐกิจสามารถขยายตัวเร่งขึ้นที่ 2.6% และ 3.0% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2558-2562 ที่เคยเติบโตได้ที่ 3.4% ส่วนหนึ่งจากปัญหาเชิงโครงสร้างของไทยที่ทำให้ภาคการผลิตและการส่งออกสินค้าขยายตัวได้ต่ำลง นอกจากนี้ การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มเติบโตชะลอลงและอาจขยายตัวได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่เคยเติบโต 3.4% สำหรับปัจจัยกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงกว่ากรอบเป้าหมายมีแนวโน้มผ่อนคลายลง จึงประเมินว่า กนง. มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่เติบโตได้ต่ำกว่าศักยภาพในอดีต สะท้อนจากมุมมองของคณะกรรมการ กนง. 2 ท่าน ในการประชุมครั้งล่าสุดที่เห็นควรปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง และจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ได้บ้าง Krungthai COMPASS คาดว่า กนง. จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจำนวน 2 ครั้งในปีนี้ (ครั้งละ 25bps) สู่ระดับ 2.0% ต่อปี
 
 
ฉมาดนัย มากนวล
ชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง
Krungthai COMPASS 
            
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 11 เม.ย. 2567 เวลา : 11:21:29
27-07-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (26 ก.ค.67) บวก 15.63 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,307.21 จุด

2. ประกาศ กปน.: ด่วน!!! คืนวันพรุ่งนี้ 27 ก.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (26 ก.ค.67) บวก 8.27 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,299.85 จุด

4. MTS Gold คาดจะมีกรอบแนวรับ 2,380 เหรียญ และแนวต้าน 2,420 เหรียญ

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.15-36.40 บาท/ดอลลาร์

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (25 ก.ค.67) ร่วง 62.20 เหรียญ นักลงทุนเทขายทำกำไรหลังราคาพุ่งขึ้น

7. ตลาดหุ้นไทยเปิด (26 ก.ค.67) บวก 0.32 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,291.90 จุด

8. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (25 ก.ค.67) บวก 81.20 จุด ขานรับ GDP สหรัฐโตเกินคาด

9. ทองเปิดตลาด (26 ก.ค. 67) ลดลง 50 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,150 บาท

10. มรสุมกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพปริมณฑล-ภาคตะวันออก 70% ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 30%

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (26 ก.ค.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.22 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: 31 ก.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเพชรบุรี

13. ตลาดหุ้นปิด (25 ก.ค.67) ลบ 6.50 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,291.58 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 ก.ค.67) ลบ 5.36 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,292.72 จุด

15. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 2,350 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,400 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 27, 2024, 6:49 am