หุ้นทอง
ก.ล.ต. เข้าร่วมเป็นสมาชิก ASEAN Taxonomy Board จัดทำมาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงิน เพื่อความยั่งยืนอาเซียน


ก.ล.ต.เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ ASEAN Taxonomy Board (ATB) โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 
ในการมีส่วนร่วมจัดทำมาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนอาเซียน (ASEAN Taxonomy) ที่สอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งภูมิภาค ตอบโจทย์ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ ASEAN Taxonomy Board (ATB) และเข้าร่วมการประชุมในฐานะสมาชิกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 ทั้งนี้ ATB จัดตั้งขึ้นโดยได้รับการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ซึ่ง ก.ล.ต. มีส่วนร่วมในการจัดทำ ASEAN Taxonomy ในฐานะสมาชิกคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ ATB ตั้งแต่การจัดทำ ASEAN Taxonomy เวอร์ชัน 1 ที่เผยแพร่ในปี 2564 จนถึงล่าสุดเวอร์ชัน 3 เผยแพร่ในเดือนเมษายน 2567*
 
นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า “ก.ล.ต. ให้ความสำคัญการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนตระหนักและมีส่วนร่วมในด้านความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้บรรลุเป้าหมายของประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและให้เหลือเป็นศูนย์ในที่สุด ในการนี้ ก.ล.ต. มีความยินดีที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในฐานะสมาชิกของ ASEAN Taxonomy Board และเชื่อว่าด้วยประสบการณ์ที่เป็นหน่วยงานหนึ่งในการร่วมพัฒนา Thailand Taxonomy ก.ล.ต. หวังอย่างยิ่งว่า จะมีส่วนร่วมและสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการกำหนดแนวทางและขับเคลื่อน ASEAN Taxonomy ที่สอดคล้องกับมาตฐานสากล และสอดรับกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า Taxonomy จะมีส่วนช่วยในการบรรลุแผนงานอื่นด้าน Sustainable Capital Market เพื่อผลักดันให้ตลาดทุนไทยเป็นกลไกสำคัญในการนำพาให้ประเทศไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”
 
ATB มีบทบาทในการจัดทำมาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนอาเซียน (ASEAN Taxonomy) ที่สอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งภูมิภาค โดยประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการจัดสรรเงินทุนระหว่างประเทศ การบริหารจัดการความเสี่ยงและการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงการกำหนดนโยบายและมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 
ในการแบ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ASEAN Taxonomy ใช้ระบบ Traffic Light System คล้ายระบบสัญญาณไฟจราจร เหมือนกับ Thailand Taxonomy โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่มสีเขียว กิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) เป็นศูนย์หรือใกล้เคียงศูนย์แล้ว กลุ่มสีเหลือง กิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูงแต่จะลดการปล่อยลงเรื่อย ๆ ตามเกณฑ์กำหนดไว้ใน Taxonomy และกลุ่มสีแดง กิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายตามกลุ่มเขียวและกลุ่มเหลือง
 
สำหรับประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำ “Thailand Taxonomy ระยะที่ 2” โดยคณะทำงานขับเคลื่อนการกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่โครงการหรือกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวม 26 หน่วยงาน** 
 
ทั้งนี้ Taxonomy เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประกอบในกิจกรรมการจัดหาเงินทุนของกิจการได้ เนื่องจากมีการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกิจกรรม (สีเขียว เหลือง แดง) เอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของกิจกรรมดังกล่าวได้ อีกทั้งมีส่วนช่วยให้ ก.ล.ต. บรรลุแผนงานด้าน Sustainable Capital Market ของ ก.ล.ต. เพื่อผลักดันให้ตลาดทุนเป็นกลไกสำคัญในการนำพาให้ประเทศไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น
 
(1) การระดมทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านของกิจการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก ให้สามารถทยอยลดการปล่อยก๊าซเรือนระจกลงจนเป็นศูนย์หรือใกล้เคียงศูนย์ในอนาคต (Transition Finance) โดยกิจการสามารถนำ Taxonomy มาใช้ประกอบในการจัดทำแผนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ โดย ก.ล.ต. มีโครงการริเริ่มในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่อง Transition & Taxonomy บนเว็ปไซต์ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Transition  
 
(2) การออกเสนอขายตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน (ESG Bond) บริษัทผู้ออกสามารถนำ Taxonomy มาใช้อ้างอิงในการคัดเลือกโครงการที่จะลงทุนได้ เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของตราสาร ซึ่ง ก.ล.ต. ดำเนินโครงการส่งเสริมการออกตราสารดังกล่าวโดยเน้นการสร้างขีดความสามารถให้กับธุรกิจที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

หมายเหตุ : 
 
* ASEAN Taxonomy version 3 เผยแพร่ในเดือนเมษายน 2567 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมทำ Public Consultation โดยมีเนื้อหาครอบคลุมรายละเอียดการประเมินและการจัดกลุ่มกิจกรรมของภาคธุรกิจอีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการขนส่ง และกลุ่มก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์
 
** อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แถลงข่าวร่วม “การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการกำหนดนิยามและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1/2567” เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 
https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Detail.aspx?SECID=10563
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 08 ก.ค. 2567 เวลา : 17:37:07
21-03-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (21 มี.ค.68) บวก 1.58 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,183.29 จุด

2. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,000 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,065 เหรียญ

3. ทองเปิดตลาดวันนี้ (21 มี.ค. 68) ปรับขึ้น 150 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 49,400 บาท

4. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (20 มี.ค.68) ลบ 11.31 จุด การซื้อขายผันผวน-หวั่นผลกระทบมาตรการภาษีทรัมป์

5. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (20 มี.ค.68) บวก 2.60 เหรียญ รับเฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 2 ครั้งปีนี้

6. ประเทศไทยอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศา,ภาคใต้ ฝนฟ้าคะนอง 30%

7. ตลาดหุ้นไทยเปิด (21 มี.ค.68) บวก 6.02 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,187.06 จุด

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.70-33.90 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (21 มี.ค.68) ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง ที่ระดับ 33.73 บาทต่อดอลลาร์

10. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (20 มี.ค.68) ลบ 7.95 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,181.71 จุด

11. ประกาศ กปน.: 25 มี.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนพระรามที่ 3

12. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (20 มี.ค.68) บวก 5.03 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,194.69 จุด

13. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,025 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,070 เหรียญ

14. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (20 มี.ค.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 33.57 บาทต่อดอลลาร์

15. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.45-33.70 บาท/ดอลลาร์

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ March 21, 2025, 4:37 pm