หุ้นทอง
อย่างไรถึงจะใช่ Transition?


 

 
บทความฉบับนี้ เป็นตอนที่ 3  โดยจะเน้นในเรื่องการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (transition finance)  และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการ transition ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศหรือภูมิภาค เช่น Taxonomy และการกำหนดรายการเทคโนโลยีสำหรับการ transition ในแต่ละสาขา (Technology Roadmap for Transition Finance)  

Taxonomy กับการกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่กิจกรรม transition
 
ในปัจจุบันยังไม่มีนิยามของ transition เป็นที่ยอมรับและใช้ร่วมกันในระดับสากล เพราะเส้นทางการ
เปลี่ยนผ่าน (transition pathway) ของแต่ละประเทศและภูมิภาคแตกต่างกันออกไป ทิศทางและพัฒนาการของการกำหนดนิยามการ transition จึงไม่ใช่การสร้างมาตรฐานเดียวกันที่ต้องนำมาบังคับใช้ทั่วโลก แต่เป็นการสร้างมาตรฐานในระดับประเทศหรือภูมิภาคที่มีหลักการและแนวคิดที่ชัดเจน มีความโปร่งใส สะท้อน transition pathway ที่เหมาะสมตามระดับการพัฒนาของเศรษฐกิจ เทคโนโลยี โดยยังต้องคำนึงถึงเป้าหมายการลด GHG เพื่อให้นิยามดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และช่วยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ

หนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์ คือ Taxonomy ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งในกลุ่มอาเซียนและไทยได้เริ่มจัดทำ Taxonomy แล้ว โดยมีลักษณะเป็น Traffic light system ที่จะแบ่งสีของกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง หากมองการลดการปล่อย GHG (climate mitigation) สีเขียว คือ กิจกรรมที่ไม่ปล่อย GHG หรือปล่อยน้อยมาก สีเหลือง คือ กิจกรรมที่ยังปล่อย GHG อยู่ และอยู่ระหว่างการปรับตัวเพื่อลดระดับการปล่อยลงเรื่อย ๆ (transition activity) ส่วนสีแดง คือ กิจกรรมที่ไม่สามารถถูกประเมินได้ว่าสนับสนุนด้าน climate mitigation

 
สำหรับไทยและอีกหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่พึงพิงอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก ทำให้ยังมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเข้มข้น จึงมีหลายกิจกรรมที่ยังไม่เข้าข่ายเป็นสีเขียวจำนวนมาก ซึ่งการจะเข้าสู่หมวดหมู่สีเหลืองได้  ก็มีการกำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัดไว้อย่างชัดเจน ว่ากิจกรรมจะต้องปรับลดความเข้มข้นของการปล่อย GHG ลงเรื่อย ๆ ตามกรอบเวลาที่กำหนด จะช่วยจัดสรรเงินทุนไปยัง transition activity ที่มีความมุ่งมั่นในการลด GHG และมีแผนการลดที่ชัดเจน ลดข้อกังวลเรื่อง greenwashing หรือ transition-washing  และลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิด stranded asset จากความต้องการสินค้าและความต้องการลงทุนที่ลดลงในกิจกรรมที่ปล่อย GHG สูง ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังรายได้ การผลิต การจ้างงาน และระบบเศรฐกิจโดยรวมในอนาคต

Technology Roadmap for Transition Finance
 
นอกจากนี้ ยังมี Technology Roadmap for Transition Finance ที่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เข้ามาช่วยให้เกิดการจัดสรรเงินทุน เพื่อการ transition ได้อย่างตรงจุด ยกตัวอย่าง ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ริเริ่มพัฒนา Roadmap ดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการ transition ให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ จนปัจจุบันมีความครอบคลุม 10 สาขา  โดยใน Roadmap ของแต่ละสาขาจะกำหนดรายการเทคโนโลยีด้านการ transition พร้อมกับกรอบเวลาที่จะศึกษาและพัฒนา ทดลองใช้ (demonstrate) นำมาใช้จริง และนำเข้าสู่ตลาด (commercialize) เช่น ในภาคพลังงาน การนำเทคโนโลยีด้านไฮโดรเจนมาเป็นเชื้อเพลิงผสมในการผลิตไฟฟ้า (Hydrogen co-firing) จะนำมาทดลองใช้จนถึงปี 2025 หลังจากนั้นจะนำมาใช้จริง และเริ่มใช้ทางการค้า (commercialize) ในปี 2030 เป็นต้น ดังนั้น การจัดทำ Technology Roadmap อาจเหมาะกับญี่ปุ่นที่เป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและส่งออกเทคโนโลยี อีกทั้งอาจมีความยุ่งยากและซับซ้อนน้อยกว่า Taxonomy ที่ต้องมีการกำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัดแบบเชิงปริมาณ (เช่น ข้อมูลการปล่อย GHG) อย่างไรก็ดี Taxonomy ก็มีข้อดี เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในเรื่องการใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ เพียงแค่สามารถควบคุมความเข้มข้นของการปล่อย GHG ให้เป็นไปตามเกณฑ์ได้ ก็ถือว่าเข้าข่ายเป็น transition activity และ Taxonomy ก็เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนและมีความโปร่งใส

ทั้งนี้ กิจการสามารถนำหมวดหมู่สีเหลืองและสีเขียวที่กำหนดไว้ใน taxonomy ไปใช้ประกอบการพิจารณาได้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่บริษัทประกอบธุรกิจอยู่นั้น เข้าข่ายเป็น transition activity หรือไม่ และควรวางทิศทางและแผนงานในการลดการปล่อย GHG ลงอย่างไรและมีเป้าหมายเท่าใด จึงจะสามารถเข้าข่าย transition และเปลี่ยนผ่านไปสู่ระดับสีเขียว (green activity) ได้ นอกจากนี้ กิจการยังสามารถอ้างอิง Technology Roadmap for Transition Finance ในการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ตาม Roadmap ดังกล่าว ซึ่งได้รับการคัดเลือกและศึกษามาแล้วว่าสามารถช่วยลด GHG เพื่อส่งเสริม transition ของกิจการ ได้อีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 ครอบคลุมกิจกรรมในภาคพลังงาน และภาคการขนส่ง ซึ่งปัจจุบัน คณะทำงาน Thailand Taxonomy อยู่ระหว่างพัฒนา Thailand Taxonomy ระยะที่ 2 เพื่อให้ครอบคลุมอีก 4 สาขา ได้แก่ การจัดการขยะและของเสีย ภาคอุตสาหกรรม อาคารและการก่อสร้าง และเกษตร ป่าไม้ และการประมง ซึ่ง Thailand Taxonomy ทั้ง 2 ระยะ มีการกำหนดหมวดหมู่สีเหลืองในบางกิจกรรมตามความเหมาะสมกับบริบทของประเทศเพื่อรองรับ transition activity โดย ก.ล.ต. คาดว่า Thailand Taxonomy ระยะที่ 2 จะสามารถเผยแพร่ได้ภายในปี 2568  
ในบทความนี้ ก.ล.ต. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะเข้าใจและเห็นภาพของ transition activity มากยิ่งขึ้น และตระหนักถึงความสำคัญในการจัดสรรเงินทุนไปยังกิจกรรมเหล่านี้ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการระดมทุนในการ transition อย่างโปร่งใสและน่าเชื่อถือ ก.ล.ต. จะขอนำมาเล่าในตอนต่อไป 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 20 ก.ย. 2567 เวลา : 17:37:02
15-01-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (15 ม.ค. 68) บวก 12.92 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,353.17 จุด

2. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (15 ม.ค.68) บวก 2.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,342.93 จุด

3. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (14 ม.ค.68) บวก 221.16 จุด หลังสหรัฐเผยดัชนี PPI ต่ำกว่าคาดตลาดจับตาดัชนี CPI วันนี้ ประเมินดอกเบี้ยเฟด

4. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (14 ม.ค.68) บวก 3.70 เหรียญ หลังสหรัฐฯเผยดัชนี PPI ต่ำกว่าคาด

5. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบแนวรับที่ระดับ 2,655 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,680 เหรียญ

6. ทั่วไทยอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า "ยอดดอย" หนาวจัด 2 องศา มีแม่คะนิ้ง "ยอดภู" 5 องศา

7. ทองเปิดตลาดวันนี้ (15 ม.ค. 68) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 44,450 บาท

8. ตลาดหุ้นไทยเปิด (15 ม.ค.68) บวก 3.82 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,343.19 จุด

9. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 34.60-34.85 บาท/ดอลลาร์

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (15 ม.ค.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 34.69 บาทต่อดอลลาร์

11. ตลาดหุ้นปิด (14 ม.ค.68) ลบ 14.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,340.25 จุด

12. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะอยู่ในกรอบแนวรับที่ระดับ 2,655 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,685 เหรียญ

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (14 ม.ค.68) ลบ 4.52 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,349.82 จุด

14. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (13 ม.ค.68) ร่วง 36.40 เหรียญ เหตุดอลลาร์แข็ง - บอนด์ยีลด์พุ่งทุบตลาด

15. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (13 ม.ค.68) บวก 358.67 จุด รับแรงหนุนจากหุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ปพุ่งขึ้น

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 15, 2025, 8:06 pm