เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
บมจ.ไทยออยล์วิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ "ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวหลังได้รับแรงหนุนจากมาตรการคว่ำบาตรและสภาพอากาศที่หนาวเย็นในสหรัฐฯ และยุโรป ท่ามกลางสัญญาณชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป"


ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 70-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 72-82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (13 - 17 ม.ค. 68)

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวหลังยังคงได้รับแรงหนุนจากมาตรการการคว่ำบาตรเรือบรรทุกน้ำมันรัสเซียและอิหร่านจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน สภาพอากาศที่หนาวเย็นในสหรัฐฯ และยุโรปส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปปรับเพิ่มขึ้น หนุนราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ดี ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรปได้ส่งสัญญาณชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังคงจับตาการกลับมาเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของโดนัลด์ ทรัมป์ในวันที่ 20 ม.ค. นี้ที่คาดว่าอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนมากขึ้น

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้

• อุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น หลังตลาดคาดการณ์ว่าชาติตะวันตกมีแผนเพิ่มมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นต่อการส่งออกน้ำมันของรัสเซียและอิหร่านหลังสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงความขัดแย้งในตะวันออกกลางยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด บริษัทชานตง พอร์ท กรุ๊ปของจีนประกาศห้ามเรือขนส่งน้ำมันที่สหรัฐฯ คว่ำบาตรเข้าเทียบท่าเรือในเครือที่บริษัทดำเนินการอยู่ ขณะเดียวกัน บริษัท Saudi Aramco มีการปรับเพิ่มราคาขายน้ำมันดิบ Arab Light ที่ส่งมอบเดือน ก.พ. 68 นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน สะท้อนสภาวะอุปทานน้ำมันดิบที่คาดว่าจะตึงตัวมากขึ้น

• ตลาดน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นทั้งในฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น โดยล่าสุด เกิดพายุหิมะถล่มหลายพื้นที่ในสหรัฐฯ ส่งผลให้หลายพื้นที่เผชิญกับสภาพอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะเดียวกัน อุณหภูมิในญี่ปุ่นเดือน ม.ค. 68 คาดว่าจะปรับตัวลดลงเช่นกัน ส่งผลให้ตลาดคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาสำหรับทำความร้อนจะปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี สภาพอากาศที่หนาวเย็นอาจส่งผลให้เกิดสภาพอากาศหนาวเย็นเฉียบพลัน (cold snap) ซึ่งส่งผลให้การดำเนินการของโรงกลั่นต้องหยุดชะงักลงได้

• ตลาดคาดธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายทางการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 ม.ค. 68 หลังมีการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคเยอรมนีซึ่งถือเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของยุโรปปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.9% ในเดือน ธ.ค. 67 ขณะที่ Eurostat เผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (HICP) ซึ่งบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเดือน ธ.ค. 67 ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.4% ซึ่งสูงกว่าระดับเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปที่  2.0% ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงจะส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างจำกัด และกดดันความต้องการใช้น้ำมันให้ปรับตัวลดลง

• นอกจากนี้ ตลาดคาดการร์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจชะลอแผนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน พ.ย. 67 ที่บ่งชี้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสู่ระดับ 2.7% ขณะที่ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงอ่อนแอหลังออโตเมติกดาต้าโพรเซสซิ่ง (ADP) เผยการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 67 ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 122,000 ตำแหน่ง นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน แม้ว่าก่อนหน้านี้ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานปรับเพิ่มขึ้นกว่า 259,000 ตำแหน่งสู่ระดับ 8.1 ล้านตำแหน่งในเดือน พ.ย. 67 ส่งผลให้หลายฝ่ายคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมนโยบายทางการเงินในช่วงครึ่งปีแรกของปี 68 และพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงราว 0.25-0.50% ในช่วงครึ่งปีหลังของ 68 ซึ่งปรับลดลงจากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ระดับ 1.0%

• ตลาดยังคงจับตาการกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีการเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค. 68 โดยหลายฝ่ายคาดการณ์ว่านโยบายต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสงครามการค้าจากแผนการขึ้นภาษีนำเข้าจากประเทศต่างๆ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะที่ตลาดการเงินก็ยังคงมีความเสี่ยงเรื่องความผันผวนจากการเคลื่อนย้ายเงินกลับไปยังสหรัฐฯ รวมถึงนโยบายการต่างประเทศที่คาดว่าจะตึงเครียดต่อเนื่องทั้งในตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออก ทั้งนี้ การกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์คาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออุปทานและอุปสงค์น้ำมันดิบและสร้างความผันผวนให้กับราคาน้ำมันในตลาดโลก

• ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้คือ ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 67 ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนียอดขายปลีก ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของยุโรป ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 67 ดุลการค้า เดือน พ.ย. 67 และดัชนีราคาผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 67 และตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของจีน ได้แก่ จีดีพีไตรมาส 4/67 ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน ธ.ค. 67 ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 67 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 67 และอัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 67
 
สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (6 – 10 ม.ค. 68)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 2.61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 76.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 3.25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 79.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 77.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังจีนซึ่งถือเป็นผู้นำเข้าและใช้น้ำมันรายใหญ่ของโลกได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การอนุมัติงบประมาณ 1 แสนล้านหยวนเพื่อสนับสนุนโครงการเชิงยุทธศาสตร์ การปรับขึ้นค่าแรงราชการ และการประกาศเพิ่มเงินทุนผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพื่อส่งเสริมการลงทุนภาคธุรกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่ฝั่งอุปทานได้รับแรงหนุนหลังมีการเปิดเผยตัวเลขการผลิตน้ำมันดิบเดือน ธ.ค. 67 จากผู้ผลิตกลุ่มโอเปกปรับลดลง 50,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะเดียวกัน Goldman Sachs คาดอุปทานน้ำมันดิบอิหร่านปรับลดลง 3 แสนบาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ระดับ 3.25 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาส 2/68 หลังคาดว่าสหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการคว่ำบาตรที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาได้รับแรงกดดันหลังสหรัฐฯ เผยยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 67 ปรับลดลงกว่า 0.4% เทียบเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนราว 10.3% ของมูลค่าเศรษฐกิจภายในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงกดดันจากการเปิดเผยตัวเลขการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นของโรงกลั่นจีนช่วง ม.ค.-พ.ย. 67 ที่ปรับลดลงกว่า 1.8% มาอยู่ที่ระดับ 14.48 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 3 ม.ค. 68 ปรับลดลง 0.96 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 414.6 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 0.2 ล้านบาร์เรล 

 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 13 ม.ค. 2568 เวลา : 12:31:18
06-02-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 7 ก.พ. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก)

2. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (5 ก.พ.68) ลบ 14.28 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,286.74 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (5 ก.พ.68) ลบ 11.08 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,289.94 จุด

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.55-33.80 บาท/ดอลลาร์

5. ทองนิวยอร์ปิดเมื่อคืน (4 ก.พ.68) ทำนิวไฮ พุ่ง 18.70 เหรียญ แห่ซื้อทองสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจีนตอบโต้เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐ

6. MTS Gold รอจังหวะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลง โดยวันนี้มีแนวรับระยะสั้นที่ 2,830 เหรียญ และมีแนวต้านที่ 2,860 เหรียญ

7. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (4 ก.พ.68) บวก 134.13 จุด รับความหวัง สหรัฐ-จีน บรรลุข้อตกลงทางการค้าร่วมกัน

8. มวลอากาศเย็นปกคลุมภาคอีสาน ส่งผลภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก อุณหภูมิลดลงเล็กน้อยกับมีลมแรง "ยอดดอย" หนาวถึงหนาวจัด 5 องศา

9. ทองเปิดตลาดวันนี้ (5 ก.พ. 68) ปรับขึ้น 150 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 45,750 บาท

10. ตลาดหุ้นไทยเปิด (5 ก.พ.68) ลบ 4.32 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,296.70 จุด

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (5 ก.พ.68) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 33.68 บาทต่อดอลลาร์

12. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (4 ก.พ.68) ลบ 3.37 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,301.02 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (4 ก.พ.68) บวก 2.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,306.65 จุด

14. MTS Gold โดยวันนี้จะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,800 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,840 เหรียญ

15. ตลาดหุ้นไทยเปิด (4 ก.พ.68) บวก 6.22 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,310.61 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ February 6, 2025, 12:47 am