เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ธปท. สรุปรายละเอียดโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" ของ Non-Bank ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน และผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราวตามโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ของผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ เพิ่มเติมจากช่วงก่อนหน้านี้ที่มาตรการครอบคลุมเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) เป็นระยะเวลา 3 ปี แก่ผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank (ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์) ที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ประกอบด้วย 2 มาตรการ ดังนี้

 
มาตรการที่ 1 “ลดผ่อน ลดดอก” เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล  สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์  โดยปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระค่างวดและภาระดอกเบี้ย 
 
1.1 รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ
 
(1) ลดค่างวดเป็นระยะเวลา 3 ปี โดย
 
• สินเชื่อวงเงินผ่อนชำระ (installment loan) ชำระค่างวดขั้นต่ำที่ 70% ของค่างวดเดิม หรือ 
 
• สินเชื่อวงเงินหมุนเวียน (revolving credit) ชำระไม่ต่ำกว่า 2% ของยอดคงค้างสินเชื่อก่อนทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการ
 
(2) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 10% จากอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยดอกเบี้ยส่วนที่ลดและพักแขวนไว้ในระหว่างที่เข้าร่วมมาตรการจะได้รับยกเว้นทั้งหมด หากลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขได้ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่อยู่ภายใต้มาตรการ
 
ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถชำระมากกว่าค่างวดขั้นต่ำที่กำหนดไว้ได้ เพื่อสนับสนุนให้ลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น
1.2 คุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้
 
(1) มีวงเงินสินเชื่อรวมต่อผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ไม่เกินที่กำหนด โดยพิจารณาแยกวงเงินตามประเภทสินเชื่อต่อผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank เฉพาะแห่งนั้น ดังนี้ 
 
สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ วงเงินไม่เกิน 8 แสนบาท
สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นบาท
สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินไม่เกิน 2 แสนบาท 
สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล วงเงินไม่เกิน 2 หมื่นบาท
สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์  วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นบาท
 
กรณีลูกหนี้มีสินเชื่อมากกว่า 1 บัญชีต่อประเภทสินเชื่อ ให้พิจารณาจากวงเงินรวมของสินเชื่อประเภทนั้น โดยวงเงินเมื่อรวมแล้วไม่เกินเงื่อนไขที่กำหนด
 
(2) เป็นสินเชื่อที่ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 
 
(3) มีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 
 
(3.1) เป็นหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 30 วัน (นับจากวันครบกำหนดชำระ) แต่ไม่เกิน 365 วัน 
 
(3.2) เป็นหนี้ที่ไม่ค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน แต่เคยมีประวัติการค้างชำระเกิน 30 วัน และได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 
 
1.3 เงื่อนไขของการเข้าร่วมมาตรการ
 
(1) ลูกหนี้ไม่ทำสัญญาสินเชื่อเพิ่มเติมในช่วง 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ
 
(2) ลูกหนี้รับทราบว่า จะมีการรายงานข้อมูลต่อเครดิตบูโร (NCB) ถึงการเข้าร่วมมาตรการ (กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank เป็นสมาชิก NCB)
 
(3) หากลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระค่างวดขั้นต่ำได้ตามที่มาตรการกำหนด หรือไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ เช่น ลูกหนี้ก่อหนี้ใหม่ก่อนระยะเวลา 12 เดือน ลูกหนี้จะต้องออกจากมาตรการและชำระดอกเบี้ยที่พักไว้ในระหว่างที่เข้ามาตรการ
 
มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” เป็นการช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียและยอดหนี้ไม่สูง ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน เพื่อเปลี่ยนสถานะจากหนี้เสียเป็นปิดจบหนี้ และให้ลูกหนี้สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ 
 
1.1 รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ ลูกหนี้จะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน โดยลูกหนี้จะชำระหนี้บางส่วน เพื่อให้สามารถจ่ายและปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น
 
1.2 คุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้
 
(1) ลูกหนี้บุคคลธรรมดา ที่มีสถานะค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (NPL) ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 
 
(2) มีภาระหนี้ต่อบัญชี ไม่เกิน 5,000 บาท โดยไม่จำกัดประเภทสินเชื่อ (สามารถเข้าร่วมมาตรการได้มากกว่า 1 บัญชี)
 
ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรการภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” สามารถศึกษารายละเอียดของมาตรการและสมัครเข้าร่วมได้ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo ตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน 2568 
เวลา 23.59 น. โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ BOT contact center ของ ธปท. โทร 1213 หรือ call center และสาขาของผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank (ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์) ที่เข้าร่วมโครงการ ตามรายชื่อต่อไปนี้
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 19 ก.พ. 2568 เวลา : 18:27:25
23-02-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ราคาทองวันนี้ 22/02/2568 ปรับเพิ่ม 100 บาท ราคาทองคำแท่ง 46,700 บาท

2. ดาวโจนส์ปิดร่วง 748.63 จุด กังวลภาวะเศรษฐกิจ-ภาษีศุลกากร

3. ทองคำนิวยอร์กปิดลบ $2.90 จากแรงขายทำกำไรหลังทำนิวไฮ

4. พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 22 ก.พ.2568 ภาคกลาง อากาศร้อนในตอนกลางวัน ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่

5. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (21 ก.พ.68) บวก 0.60 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,246.21 จุด

6. ประกาศ กปน.: 26 ก.พ. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) และถนนพระรามที่ 1

7. หุ้นไทยปิดเช้าบวก 1.86 จุด มีมูลค่าการซื้อขายประมาณ 26,511.63 ล้านบาทแกว่งผันผวน ได้แรงซื้อกลุ่ม GULF หนุน คาดบ่ายไซด์เวย์

8. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,910 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,955 เหรียญ

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (21 ก.พ.68) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 33.55 บาทต่อดอลลาร์

10. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.45-33.70 บาท/ดอลลาร์

11. กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. ฝนฟ้าคะนอง 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 30%

12. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (20 ก.พ.68) ทำนิวไฮ บวก 20 เหรียญ กังวลภาษีทรัมป์หนุนแรงซื้อทองสินทรัพย์ปลอดภัย

13. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (20 ก.พ.68) ลบ 450.94 จุด หวั่นผลกระทบมาตรการภาษีทรัมป์ ฉุดผลประกอบการวอลมาร์ทร่วง

14. ทองเปิดตลาดวันนี้ (21 ก.พ. 68) ร่วงลง 400 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 47,100 บาท

15. ตลาดหุ้นไทยเปิด (21 ก.พ.68) ลบ 2.08 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,243.53 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ February 23, 2025, 4:30 am