เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ttb analytics ประเมินตลาดเสริมความงามไทยปี 2568 โตต่ำด้วยรายได้ตลาด 75,000 ล้านบาท ด้วยแรงหนุน 3 พฤติกรรมกลุ่มศักยภาพใหม่ช่วยชดเชยกลุ่มลูกค้าหญิงวัยทำงานที่อิ่มตัว


ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินตลาดเสริมความงามไทยปี 2568 โตต่ำด้วยรายได้ตลาด 75,000 ล้านบาท  ขยายตัวเพียง 2.7% จากปี 2567 เพิ่มขึ้น 4% หลังตลาดเริ่มเผชิญกับภาวะชะลอตัวจากข้อจำกัดในกลุ่มลูกค้าหลักอย่างผู้หญิงวัยทำงานที่มีแนวโน้มลดลง แต่เห็นการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าชายและผู้สูงวัยที่เริ่มเข้ารับบริการเสริมความงามเพิ่มขึ้น รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคหน้าใหม่มีโอกาสที่จะตัดสินใจง่ายขึ้นผ่านการวางแผนใช้เงินภายใต้ความสามารถในการผ่อนการชำระในอนาคต ช่วยชดเชยและสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมในอนาคต

ตลาดเสริมความงามเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 ทำให้กระแสการดูแลภาพลักษณ์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น และด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและราคาถูกลง ทำให้บริการเสริมความงามสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ตามการคาดการณ์ของสถาบันวิจัย Grand View Research ตลาดเสริมความงามทั่วโลกจะมีมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านบาทในปี 2567 และขยายตัวเป็น 11.5 ล้านล้านบาทในปี 2573 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตนี้ คือ การขยายตัวของตลาดเสริมความงามแบบหัตถการ (Non-Invasive Products) ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการเสริมความงามโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ที่กังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการศัลยกรรมผ่าตัด (Invasive Products) นอกจากนี้ บริการหัตถการยังสามารถเสริมผลลัพธ์จากการศัลยกรรม ทำให้ดึงดูดกลุ่มลูกค้าหลากหลายทั้งลูกค้าเดิมและกลุ่มใหม่ที่ต้องการทางเลือกที่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่ำ หนุนตลาดเสริมความงามมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทย ในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเสริมความงามก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วตามกระแสโลก  สอดคล้องกับการประเมินของ ttb analytics ที่รวบรวมข้อมูลรายได้ผู้ประกอบในช่วงปี 2562-2566 พบว่ารายได้เติบโตเฉลี่ยที่ 14% ต่อปี แต่ในปี 2567 คาดว่าจะเติบโต 4% จากปี 2566 ด้วยมูลค่าตลาด 73,000 ล้านบาท และประเมินว่าปี 2568 นี้ คาดว่าอุตสาหกรรมเสริมความงามจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.7% โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 75,000 ล้านบาท สาเหตุที่ทำให้แนวโน้มอุตสาหกรรรมเสริมความงามของไทยไม่โตไปตามกระแส เนื่องมาจากปัจจัยฉุดรั้งสำคัญ ได้แก่ 1) ภาวะอิ่มตัวของกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าหลักในผู้หญิงวัยทำงาน 2) ราคาค่าบริการที่ค่อนข้างสูงถือเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสำหรับกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นจากการนำเข้าเครื่องมือและเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และ 3) กำลังซื้อผู้บริโภคที่ถูกจำกัดด้วยรายได้ของคนไทยที่เพิ่มขึ้นช้า เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดเสริมความงามใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเกาหลีใต้ซึ่งมีขื่อเสียงในด้านการให้บริการเสริมความงาม โดยเทียบรายได้ต่อการเข้าบริการต่อครั้ง พบว่าคนไทยอาจต้องทำงานถึง 25 วัน ขณะที่สหรัฐฯ หรือเกาหลีใต้ทำงานเพียงแค่ 1-3 วัน 

แม้ว่าจะมีแรงกดดันตลาดผู้บริโภคไทยมากขึ้น แต่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลความงามมากขึ้น จึงไม่ได้เป็นข้อจำกัดในการใช้บริการไม่ว่าระดับอายุ เพศ และรายได้ ด้วยการศึกษาเชิงลึกถึงพฤติกรรมผู้บริโภคของ ttb analytics พบ 3 ประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
 
1.ตลาดกลุ่มผู้ชายได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 65% ขณะที่กลุ่มลูกค้าผู้ชายวัยทำงาน ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหลักของตลาดก็มีการขยายตัวที่ 20% ซึ่งสอดคล้องกับกระแสการหันมาดูแลตัวเองของผู้ชายทั่วโลกมากขึ้น สะท้อนได้จากการเติบโตของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าและผิวกาย (Mans Grooming) จากข้อมูลของ Global Market Insights ที่คาดว่ามูลค่าตลาดโลกของผลิตภัณฑ์นี้จะเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.6% ในช่วงปี 2567-2575 
 
2.ตลาดกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป กำลังกลายเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง ด้วยความพร้อมทางการเงินที่มากกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ ทำให้กลุ่มนี้เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับธุรกิจเสริมความงาม จากการสำรวจพบว่า กลุ่มลูกค้าอายุ 50 ปีขึ้นไปมีค่าใช้จ่ายต่อคนสูงกว่ากลุ่มลูกค้าที่อายุน้อยถึง 2 เท่า โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงที่ให้ความสำคัญกับการชะลอวัย คาดว่ากลุ่มนี้จะมีแนวโน้มขยายตัวจากโครงสร้างประชากรในกลุ่มลูกค้าอายุ 40-50 ปี มีขนาดใหญ่ในปัจจุบัน และจะกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญในอนาคต 
 
3.ตลาดกลุ่มผู้บริโภคหน้าใหม่มีแนวโน้มตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยนิยมซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถผ่อนชำระได้หลายงวด ซึ่งช่วยลดภาระจากการจ่ายเงินก้อนครั้งเดียว สอดคล้องกับหลักการบริโภคข้ามเวลา (Intertemporal Consumption) ส่งผลดีต่อผู้บริโภคที่มีการวางแผนการเงินล่วงหน้า จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายด้านความงามในประเทศไทย พบว่า การใช้บัตรเครดิตผ่อนชำระมีค่าใช้จ่ายต่อคนสูงกว่าการจ่ายเต็มจำนวนถึง 6 เท่า และมีอัตราการเติบโตสูงถึง 57% ในปัจจุบัน

โดยสรุป ตลาดเสริมความงามในประเทศไทยถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ภายใต้กระแสความนิยมในการดูแลและปรับปรุงภาพลักษณ์ แม้จะเผชิญกับความท้าทายจากข้อจำกัดด้านอุปสงค์ในกลุ่มลูกค้าหลักที่ชะลอตัว แต่หากพิจารณาในระยะยาว ตลาดยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการขับเคลื่อนจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี กระแสการใส่ใจสุขภาพความงาม และการขยายกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น ควบคู่ไปกับการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้าที่ต้องการความพึงพอใจมากขึ้นในด้าน “มาตรฐาน ความปลอดภัย และคุณภาพ” จะกลายเป็นกลยุทธ์ที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเสริมความงามในอนาคต
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 21 ก.พ. 2568 เวลา : 16:15:20
23-02-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ราคาทองวันนี้ 22/02/2568 ปรับเพิ่ม 100 บาท ราคาทองคำแท่ง 46,700 บาท

2. ดาวโจนส์ปิดร่วง 748.63 จุด กังวลภาวะเศรษฐกิจ-ภาษีศุลกากร

3. ทองคำนิวยอร์กปิดลบ $2.90 จากแรงขายทำกำไรหลังทำนิวไฮ

4. พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 22 ก.พ.2568 ภาคกลาง อากาศร้อนในตอนกลางวัน ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่

5. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (21 ก.พ.68) บวก 0.60 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,246.21 จุด

6. ประกาศ กปน.: 26 ก.พ. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) และถนนพระรามที่ 1

7. หุ้นไทยปิดเช้าบวก 1.86 จุด มีมูลค่าการซื้อขายประมาณ 26,511.63 ล้านบาทแกว่งผันผวน ได้แรงซื้อกลุ่ม GULF หนุน คาดบ่ายไซด์เวย์

8. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,910 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,955 เหรียญ

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (21 ก.พ.68) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 33.55 บาทต่อดอลลาร์

10. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.45-33.70 บาท/ดอลลาร์

11. กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. ฝนฟ้าคะนอง 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 30%

12. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (20 ก.พ.68) ทำนิวไฮ บวก 20 เหรียญ กังวลภาษีทรัมป์หนุนแรงซื้อทองสินทรัพย์ปลอดภัย

13. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (20 ก.พ.68) ลบ 450.94 จุด หวั่นผลกระทบมาตรการภาษีทรัมป์ ฉุดผลประกอบการวอลมาร์ทร่วง

14. ทองเปิดตลาดวันนี้ (21 ก.พ. 68) ร่วงลง 400 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 47,100 บาท

15. ตลาดหุ้นไทยเปิด (21 ก.พ.68) ลบ 2.08 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,243.53 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ February 23, 2025, 4:33 am