เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ "แนวคิดตั้ง AMC ซื้อหนี้ของประชาชน: ประเด็นที่ต้องคำนึงถึง"


จากแนวคิดของภาครัฐในการตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) เพื่อซื้อหนี้เสียออกจากระบบ โดยเฉพาะหนี้อุปโภคบริโภคของลูกหนี้รายย่อยที่เครดิตบูโร ซึ่งจากข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2567 เอ็นพีแอลของหนี้ภาคประชาชนที่เครดิตบูโร (หนี้ค้างชำระมากกว่า 90 วันขึ้นไป) มีจำนวน 9.59 ล้านบัญชี คิดเป็นมูลหนี้ 1.2 ล้านล้านบาทนั้น สะท้อนการตระหนักของภาครัฐ เกี่ยวกับความซับซ้อนของปัญหาหนี้เสียที่ค้างอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น (รูปที่ 1) หลังจากผ่านวิกฤตมาหลายรอบ โดยเฉพาะในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา 

 
• หากเทียบกับกรณีที่คล้ายคลึงกันของไทยคือ การจัดตั้ง AMC และ TAMC หลังวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่มีหนี้เสียสูงถึง 52.3% ของสินเชื่อรวมในเดือนพฤษภาคม 2542 หรือราว 2.5 ล้านล้านบาท อันเกินกว่ากำลังของระบบสถาบันการเงินจะแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้นนั้น ทำให้เกิดการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ของภาคเอกชนและภาครัฐตามมาตั้งแต่ปี 2540-2541 จนมีจำนวนกว่า 10 แห่ง เพื่อซื้อหนี้จากธนาคารแม่ แยกออกไปบริหารจัดการเฉพาะ ต่อมาจึงมีการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) หรือ TAMC ในปี 2544 เพื่อซื้อหนี้ก้อนใหญ่ในช่วงปลายวิกฤตดังกล่าว ประมาณ 7.8 แสนล้านบาท จากสถาบันการเงินไปบริหารเพื่อฟื้นฟูและ/หรือปิดจบหนี้

 
• แม้จุดเริ่มต้นของแนวคิดการจัดตั้ง AMC ทั้งในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งและในครั้งนี้ มีความเหมือนกันตรงที่การมุ่งแยกหนี้เสียออกจากระบบ แต่กลับอยู่บนเงื่อนไขของเศรษฐกิจการเงินที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ในช่วงวิกฤตปี 2540 การจัดตั้ง AMC จะเน้นซื้อหนี้ทั้งธุรกิจและครัวเรือน ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตจากอานิสงส์ของเงินบาทอ่อนค่าที่ส่งผลดีต่อ FDI และการส่งออก ได้ช่วยให้ธุรกิจและครัวเรือนเห็นภาพรายได้ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ในระยะเวลาดังกล่าว ยังเป็นช่วงแรกๆ ของตลาดการบริหารหนี้ และมีการแก้กฎหมาย มีการจัดตั้งศาลล้มละลายกลาง จึงทำให้การแก้ไขปัญหาหนี้มีองค์ประกอบหลายด้านที่สนับสนุนการแก้ไขหนี้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
 
ขณะที่ ปัญหาในรอบนี้แตกต่างออกไป นั่นคือ หนี้เอ็นพีแอลทั้งธุรกิจและรายย่อยจำนวนไม่น้อยผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และมาตรการช่วยเหลือจากทั้งธนาคารพาณิชย์และทางการ สถานการณ์เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูงทำให้ปัจจัยด้านรายได้ของธุรกิจและครัวเรือนไม่ชัดเจน ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสำเร็จในการแก้ไขหนี้ นอกจากนี้ ตลาดการบริหารหนี้ก็มีความท้าทายมากขึ้นจากการที่หนี้ที่ไหลเข้ามาในระยะหลัง แก้ยากขึ้น อีกทั้งการระบายทรัพย์สู่ตลาดตามกระบวนการทางกฎหมาย ก็น่าจะใช้เวลาเช่นกัน ท่ามกลางผู้ซื้อและอำนาจซื้อที่จำกัด ดังนั้น แนวคิดในการจัดตั้ง AMC ในรอบนี้ จึงต้องคำนึงถึงสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปข้างต้นด้วย เพื่อออกแบบรูปแบบธุรกิจและกลไกการจัดการให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไปมากขึ้น

• นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ได้แก่

เป้าหมายการแก้หนี้ที่เน้นหนี้รายย่อย จะทำให้ต้นทุนการบริหารจัดการหนี้สูงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากจำนวนบัญชีรายย่อยที่เครดิตบูโร มีจำนวนกว่า 9 ล้านบัญชี ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงหนี้เสียของสหกรณ์ นอนแบงก์ในธุรกิจลิสซิ่ง หรือนอนแบงก์ที่ไม่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร 

ปัญหา Moral Hazard ของลูกหนี้ โดยปฏิเสธไม่ได้ว่า การขายหนี้ให้ AMC บริหาร ลูกหนี้มีโอกาสได้รับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ที่แตกต่างหรือผ่อนปรนกว่าเดิม โดยเฉพาะหาก AMC ซื้อหนี้ดังกล่าวมาในราคาที่ไม่สูง ซึ่งภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนอย่างเช่นในปัจจุบัน อาจกระตุ้นให้ลูกหนี้ดีหรือลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหา เลือกปฏิเสธการจ่ายหนี้และกลายเป็นเอ็นพีแอลมากขึ้น ซึ่งจะกลับมาทำให้เจ้าหนี้ยิ่งเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อระบบการเงินโดยรวม ดังนั้น การตีกรอบเงื่อนไขการรับซื้อหนี้ของลูกหนี้จากสถาบันการเงินให้มีความเหมาะสม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้ระบบเครดิตของไทยยังยืนอยู่ได้ในอนาคต

การแก้หนี้ที่ยั่งยืนยังต้องอาศัยการแก้ไขจากฝั่งรายได้ ควบคู่กับการสร้างวินัยและวัฒนธรรมในการใช้จ่ายที่ถูกต้อง จึงจะเป็นการแก้หนี้อย่างยั่งยืนที่แท้จริง

สุดท้าย การจัดตั้ง AMC จะมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของระบบการเงินไทยในรอบนี้เพียงใด คงขึ้นกับการออกแบบ Business Model และรายละเอียดต่างๆ ที่จะตามมา ทั้งรูปแบบการจัดตั้ง แหล่งเงินทุน ราคาซื้อหนี้ เงื่อนไขส่วนแบ่งผลขาดทุนหรือกำไรจากการบริหารหนี้ ตลอดจน ระยะเวลาของโครงการว่าจะปิดตัวเมื่อบริหารหนี้จากการซื้อตามโครงการที่กำหนดเสร็จสิ้น หรือจะเป็น AMC ที่รับซื้อหนี้อย่างต่อเนื่องเหมือนที่ดำเนินการอยู่จำนวนมากถึง 87 แห่งในปัจจุบัน เพราะจะมีผลต่อความร่วมมือในการขายหนี้ ผลกระทบต่อลูกหนี้ และเสถียรภาพของระบบการเงินโดยรวม
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 20 มี.ค. 2568 เวลา : 15:26:27
09-05-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (9 พ.ค.68) ลบ 5.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,200.92 จุด

2. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) ร่วง 85.90 เหรียญ หลังสหรัฐ-อังกฤษ บรรลุข้อตกลงการค้า

3. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) พุ่ง 254.48 จุด ขานรับ "สหรัฐ-อังกฤษ" บรรลุข้อตกลงการค้า

4. อุตุฯเตือนระวัง "พายุฤดูร้อน" วันนี้ "ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก" ฝนฟ้าคะนอง 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคกลาง 30% ภาคใต้ 30-40%

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.30 บาท/ดอลลาร์

6. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) อ่อนค่าลง ที่ระดับ 33.02 บาทต่อดอลลาร์

7. ทองเปิดตลาดวันนี้ (9 พ.ค. 68) ร่วงลง 350 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,450 บาท

8. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) บวก 6.28 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.87 จุด

9. ประกาศ กปน.: 13 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้) และถนนอนามัยงามเจริญ

10. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (8 พ.ค.68) ลบ 13.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,206.59 จุด

11. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (8 พ.ค.68) ลบ 7.43 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.84 จุด

12. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (7 พ.ค.68) ร่วง 30.90 เหรียญ รับสงครามการค้าส่งสัญญาณคลี่คลาย

13. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 3,380 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,425 เหรียญ

14. ทั่วไทยฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ภาคใต้ ฝน 40-60% ภาคตะวันออก 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคกลาง 30% ภาคเหนือ 20%

15. ทองเปิดตลาดวันนี้ (8 พ.ค. 68) พุ่งขึ้น 400 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 53,600 บาท

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 9, 2025, 1:31 pm