แบงก์-นอนแบงก์
ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 หนุนโดยการบริหารจัดการด้านต้นทุน ด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังคงเป็นไปตามเป้าหมาย หนี้เสียอยู่ในระดับต่ำที่ 2.75%


ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 หนุนโดยการบริหารจัดการด้านต้นทุน ด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังคงเป็นไปตามเป้าหมาย หนี้เสียอยู่ในระดับต่ำที่ 2.75% เป็นผลจากการเติบโตสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ การบริหารหนี้เสียเชิงรุก รวมถึงการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดและสนับสนุนการแก้หนี้อย่างยั่งยืนผ่านโครงการคุณสู้ เราช่วย 


กรุงเทพฯ, 18 เมษายน 2568 -- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2568 โดยธนาคารและบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิที่ 5,096 ล้านบาทในไตรมาสแรก หนุนโดยการบริหารจัดการด้านต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายตั้งสำรองฯ ด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังคงบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย อัตราส่วนหนี้เสียอยู่ในเกณฑ์ควบคุมที่ 2.75% ขณะที่อัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพทรงตัวในระดับสูงที่ 150% 
 

 
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2568 ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย โดยธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ และมุ่งดำเนินการใน 3 เรื่องหลัก ในประการแรก คือ การรักษาแนวโน้มผลประกอบการในปี 2568 ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ถัดมา คือ การดูแลลูกค้าและสนับสนุนการแก้หนี้อย่างยั่งยืน และท้ายสุด คือ การดำเนินการตามแผนบริหารจัดการส่วนทุนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น 

ทั้งนี้ เพื่อรักษาแนวโน้มของผลประกอบการในปี 2568 ธนาคารยังคงเน้นย้ำการบริหารจัดการด้านต้นทุน ทั้งต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนการดำเนินงาน และต้นทุนความเสี่ยงหรือค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการต่อยอดศักยภาพด้านดิจิทัลและ Data Analytics เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้า ไปสู่การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ภายใต้แนวคิด Ecosystem Play และกระตุ้นรายได้ค่าธรรมเนียมที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อ เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านรายได้ ซึ่งยังคงเผชิญแรงกดดันจากภาวะดอกเบี้ยขาลงและภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตสินเชื่อ ส่งผลให้ธนาคารยังคงสามารถรักษาแนวโน้มของผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง จากระดับ 4,992 ล้านบาท ในไตรมาส 4 ปี 2567 มาอยู่ที่ 5,096 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 หนุนโดยค่าใช้จ่ายดำเนินงานและค่าใช้จ่ายตั้งสำรองฯ ที่ลดลง 7% และ 2% จากไตรมาสที่แล้ว ตามลำดับ 
 
ในด้านการดูแลลูกค้า ธนาคารยังคงเดินหน้าให้ความช่วยเหลือลูกค้าและสนับสนุนการแก้หนี้อย่างยั่งยืนผ่านหลากหลายโครงการ เช่น โครงการรวบหนี้ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นจาก 17,000 ราย ในปี 2566 มาสู่ 37,470 ราย ในปี 2567 และกว่า 47,000 ราย ในปัจจุบัน หรือเทียบเท่าว่าธนาคารสามารถช่วยลูกค้าลดภาระดอกเบี้ยไปได้มากกว่า 2,300 ล้านบาท และล่าสุดกับโครงการคุณสู้ เราช่วย ซึ่งมีลูกค้ารายย่อยและลูกค้า SME เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 35,000 ราย
 
ในประการท้ายสุด คือ การดำเนินการตามแผนการบริหารส่วนทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2568 ธนาคารได้ประกาศโครงการซื้อหุ้นคืนระยะ 3 ปี ภายใต้วงเงิน 21,000 ล้านบาท ซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้เงินทุนส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลักดันการบรรลุเป้าหมาย ROE ที่ 10% แล้ว ยังคาดว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนในตลาดทุนที่มีต่อมูลค่าของผู้ถือหุ้นได้เช่นกัน ในส่วนของการเข้าซื้อหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ธนชาตก็มีความคืบหน้าตามแผนที่ได้วางไว้ 

สำหรับช่วงที่เหลือของปี ธนาคารคาดว่าความขัดแย้งในเวทีการค้าโลกอาจส่งผลกระทบและสร้างความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นต่อภาคการส่งออกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ดังนั้น จึงจะยังคงเน้นย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าพอร์ตสินทรัพย์และสถานะทางการเงินยังคงมีความแข็งแกร่ง สามารถรักษาแนวโน้มของผลประกอบการและอัตราการจ่ายเงินปันผลให้อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ จะยังคงดำเนินการตามแผนการเปลี่ยนแปลงองค์กร (Transformation) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายระยะยาวในการเป็น Humanized Digital Banking หรือ ดิจิทัลแบงก์กิ้งที่ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ เป็นประโยชน์กับลูกค้า ในประการสำคัญ ธนาคารยังคงเดินหน้าให้ความช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) รวมทั้งการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

สำหรับผลการดำเนินงานรายการหลัก ๆ ในไตรมาส 1 ปี 2568 มีดังนี้
 
สินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2568 อยู่ที่ 1,211 พันล้านบาท ชะลอลง 2.4% จากสิ้นปี 2567 เป็นผลจากการเติบโตสินเชื่ออย่างรอบคอบ การชำระคืนหนี้ของลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ รวมทั้งการชะลอตัวของสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ยังคงซบเซา ทั้งนี้ ธนาคารยังคงเน้นการปรับโครงสร้างสินเชื่อไปยังกลุ่มสินเชื่อรายย่อยเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทน ผ่านการนำเสนอโซลูชันทางการเงินภายใต้แนวคิด Ecosystem Play ให้กับลูกค้ากลุ่มคนมีบ้าน คนมีรถ พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth ส่งผลให้สินเชื่อกลุ่มเป้าหมายยังคงมีโมเมนตัมที่ดี เช่น สินเชื่อบ้านแลกเงิน (+2% YTD) และสินเชื่อเล่มแลกเงิน (+11% YTD) 

ด้านเงินฝากอยู่ที่ 1,298 พันล้านบาท ลดลง 2.3% จากสิ้นปี 2567 เป็นไปตามแผนบริหารสภาพคล่องและสอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตสินเชื่อใหม่ ทั้งนี้ การลดลงส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเงินฝากต้นทุนสูง เช่น เงินฝากประจำระยะยาวที่ครบกำหนด ขณะที่เงินฝากเพื่อการทำธุรกรรมกลุ่มลูกค้ารายย่อยยังคงขยายตัวได้ดี เช่น เงินฝาก ttb all free (+4% YTD) ด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (LDR) อยู่ที่ 93% ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนสภาพคล่องที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งก็จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กับธนาคารในการบริหารต้นทุนทางการเงินในระยะถัดไป 

ในด้านรายได้ ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงานรวมอยู่ที่ 16,553 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 ชะลอลง 3.3% จากไตรมาส 4 ปี 2567 (QoQ) เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงตามการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายและสินเชื่อที่ชะลอตัว และรายได้ค่าธรรมเนียมที่ยังคงมีความท้าทาย สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 7,097 ล้านบาท ลดลง 7.0% QoQ สะท้อนผลจากการบริหารจัดการด้านต้นทุนรวมถึงการลดลงจาก high season ในไตรมาส 4 ส่งผลให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงมาอยู่ที่ 43.1% จาก 44.3% ในไตรมาสที่แล้ว 

สำหรับค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 4,580 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 ลดลง 2.4% QoQ เป็นผลจากภาพรวมด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังคงบริหารจัดการได้ดีและอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้าที่ลดลง โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) อยู่ที่ 2.75% ยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2.9% ขณะที่อัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพทรงตัวในระดับสูงที่ 150%

หลังจากหักสำรองฯ และภาษี ธนาคารรายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2568 ที่ 5,096 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 4,992 ล้านบาท ในไตรมาส 4 ปี 2567 สะท้อนความสามารถในการรักษาแนวโน้มของผลประกอบการ รวมทั้งการดูแลคุณภาพพอร์ตสินทรัพย์ 

ท้ายสุดด้านฐานะเงินกองทุน ยังคงอยู่ในระดับสูงและมีเสถียรภาพ โดย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2568 อัตราส่วนเงินกองทุนรวม (CAR) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.5% และ 18.2% ตามลำดับ ยังคงสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรม และสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารกลุ่ม D-SIBs ที่ธปท.กำหนดไว้ที่ 12.0% สำหรับ CAR และ 9.5% สำหรับ Tier 1 

#ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต 
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 เม.ย. 2568 เวลา : 14:14:36
21-04-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นไทยปิด (18 เม.ย.68) บวก 9.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,150.95 จุด

2. ประกาศ กปน.: 24 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเทอดพระเกียรติ

3. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.68) บวก 3.88 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,145.16 จุด

4. MTS Gold คาดจะมีกรอบแนวรับ ที่ 2,290 เหรียญ และมีแนวต้านที่ 3,350 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.68) ร่วง 527.16 จุด เหตุหุ้น UnitedHealth ดิ่งหนักฉุดตลาด

6. ประเทศไทยฝนฟ้าคะนองในภาคใต้ 40% ภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก 30% กรุงเทพปริมณฑล 20%

7. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.68) ร่วง 18 เหรียญ จากแรงเทขายทำกำไรหลังราคาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.25-33.45 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (18 เม.ย.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 33.36 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (18 เม.ย. 68) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 53,250 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (18 เม.ย.68) บวก 1.46 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,143.26 จุด

12. ตลาดหุ้นไทยปิด (17 เม.ย.68) บวก 2.38 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,141.28 จุด

13. ประกาศ กปน.: 22 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตัดถนนพัฒนาการตัดใหม่

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (17 เม.ย.68) ลบ 1.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,137.81 จุด

15. ทั่วไทยวันนี้ฝนฟ้าคะนอง ภาคใต้ ฝนตกหนัก 60-70% ภาคตะวันออก 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคเหนือ-ภาคอีสาน 30%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 21, 2025, 4:04 am