เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ยูโอบี แนะนำรับมือกับความผันผวนของตลาดท่ามกลางภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ และกลยุทธ์การจัดพอร์ตการลงทุนในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน


การประกาศเรียกเก็บภาษีกับนานาประเทศใน “วันปลดแอก” โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้ทำให้ความตึงเครียดทางการค้าทั่วโลก ทวีความรุนแรงขึ้น และส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนอย่างรุนแรง นักลงทุนตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อมาตรการที่เกินความคาดหมาย ทั้งในแง่ระดับภาษีและประเทศที่มีการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนัก จากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าตลาดจะฟื้นตัวเล็กน้อยหลังประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศชะลอการเก็บภาษีตอบโต้เป็นเวลา 90 วัน แต่แนวโน้มในระยะสั้นยังคงไม่แน่นอน

การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของนโยบายการค้าสหรัฐฯ  
 
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าที่สูงที่สุดในรอบศตวรรษ ซึ่งกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำร้อยละ 10 สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศที่ส่งออกมายังสหรัฐฯ เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เมษายน และตามมาด้วยภาษีตอบโต้ในอัตราที่สูงกว่า สำหรับประมาณ 60 ประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ มีผลในวันที่ 9 เมษายน
 
อย่างไรก็ตาม เพียง 13 ชั่วโมงหลังจากที่ภาษีตอบโต้เริ่มมีผลบังคับใช้ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศพักการเก็บภาษีดังกล่าวเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งหมายความว่าอัตราภาษีของสหรัฐฯ สำหรับสินค้าจากทุกประเทศจะอยู่ที่ร้อยละ 10 ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีข้อยกเว้นสำหรับจีน ซึ่งอัตราภาษีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 145 สำหรับสินค้านำเข้าทั่วไป และร้อยละ 120 สำหรับพัสดุขนาดเล็กจากจีน แต่การพักชำระภาษีนี้ไม่ครอบคลุมถึงภาษีเฉพาะกลุ่ม เช่น รถยนต์ เหล็ก และอลูมิเนียม

การตอบสนองของตลาด
 
ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างรุนแรงทันทีหลังการประกาศมาตรการภาษีใน “วันปลดแอก” เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้าที่อาจยืดเยื้อ โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดความไม่สมดุลทางการค้า แต่กลับสร้างความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

แม้ตลาดจะฟื้นตัวระยะสั้นหลังจากการพักการเก็บภาษีตอบโต้ แต่การเก็บภาษีร้อยละ 10 สำหรับสินค้าทุกรายการยังคงเป็นการปรับขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี ทำให้บริษัทต่างๆ ยังคงระมัดระวังในแผนธุรกิจ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลง ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้นยังเป็นอีกปัจจัยที่กดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุน

การตอบโต้ vs การเจรจา: ปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน  
 
ประเทศต่างๆ มีการตอบสนองต่อมาตรการภาษีแตกต่างกันออกไป โดยจีนตอบโต้ในทันทีด้วยการเก็บภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ สูงถึงร้อยละ 125 พร้อมทั้งกำหนดข้อจำกัดทางการค้าเพิ่มเติม ส่งผลให้เมื่อรวมกับภาษีที่มีอยู่ก่อนหน้า สินค้าจากสหรัฐฯ ที่นำเข้ามายังจีนจะถูกเก็บภาษีรวมประมาณร้อยละ 140
อย่างไรก็ตาม การตอบโต้ของจีนก็ส่งผลให้สหรัฐฯ เพิ่มมาตรการตอบโต้เช่นกัน ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะเกิดสงครามการค้าที่ยืดเยื้อ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจีนกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นหลายประการ เช่น การส่งเสริมการบริโภคในประเทศ ให้การสนับสนุนภาคการส่งอออก และการจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดหุ้นในประเทศ
 
ในขณะเดียวกัน ประเทศอื่นๆ เลือกที่จะใช้แนวทางการเจรจา ซึ่งคาดว่าจะเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและซับซ้อน

แนวโน้มตลาดในอนาคต  
 
ในระยะสั้น ทิศทางของตลาดโลกจะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ จนกว่าจะบรรลุข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม ความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะยังคงเปราะบาง จากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เงินเฟ้อที่สูงขึ้น และความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย

การเทขายในตลาดรอบล่าสุดมีต้นเหตุหลักจากการประกาศนโยบายด้านภาษีสินค้านำเข้า หากตลาดยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่ออำนาจการเจรจาของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงท่าทีในเชิงอ่อนลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงนี้ตลาดจะยังคงผันผวน

เมื่อมองไปข้างหน้า สถานการณ์อาจเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง หากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ เช่น การลดภาษีและการผ่อนคลายกฎระเบียบ มีผลในทางปฏิบัติ นโยบายเหล่านี้จะเป็นแรงหนุนให้สินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัวได้
 
คำแนะนำสำหรับนักลงทุน : สร้างพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่ง
 
 
นายกิดอน เจอโรม เคสเซล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์เงินฝากและบริหารการลงทุนบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย แนะนำให้ใช้กลยุทธ์การจัดพอร์ตที่ระมัดระวัง ป้องกันความเสี่ยง และมีการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม เพื่อรับมือกับความผันผวนในระดับสูง
กลยุทธ์หลักที่ควรพิจารณา ได้แก่:
 
- ลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัว: กระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ หลายภูมิภาค และหลากหลายอุตสาหกรรม  
 
-  ให้ความสำคัญกับการลงทุนในสินทรัพย์กลุ่ม Core : ใช้กลยุทธ์ถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar-Cost Averaging :DCA) เพื่อสร้างการลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์คุณภาพ  
 
- ตราสารหนี้เพื่อความมั่นคง: ตราสารหนี้ระดับลงทุนได้ (Investment Grade) จะช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงและลดความผันผวนจากตลาดหุ้น  
 
- หุ้นปันผล: เลือกบริษัทที่ปัจจัยพื้นฐานดีและจ่ายปันผลสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากเงินเฟ้อและสร้างความมั่งคั่งระยะยาว  
 
- สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง: ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่เหมาะแก่การกระจายความเสี่ยงในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ช่วยป้องกันความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดปรับตัวลงและความเสี่ยงด้านค่าเงิน 
โอกาสการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Tactical Opportunities):
 
- จีน: แม้เผชิญกับแรงกดดัน แต่ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นและมูลค่าหุ้นที่น่าสนใจ จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกการลงทุน
 
- หุ้นกลุ่มการเงินในประเทศพัฒนาแล้ว: อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ที่เพิ่มขึ้นและเงินปันผลที่น่าสนใจ ทำให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองหารายได้ประจำ  

ท่ามกลางภูมิทัศน์การค้าที่เปลี่ยนแปลง ความผันผวนของตลาดอาจยังอยู่ต่อไป นักลงทุนควรยึดเป้าหมายระยะยาว กระจายการลงทุน และมีวินัยในการลงทุน เพื่อปกป้องและเพิ่มพูนความมั่งคั่งในช่วงเวลาที่ท้าทาย
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 เม.ย. 2568 เวลา : 16:15:00
21-04-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นไทยปิด (18 เม.ย.68) บวก 9.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,150.95 จุด

2. ประกาศ กปน.: 24 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเทอดพระเกียรติ

3. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.68) บวก 3.88 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,145.16 จุด

4. MTS Gold คาดจะมีกรอบแนวรับ ที่ 2,290 เหรียญ และมีแนวต้านที่ 3,350 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.68) ร่วง 527.16 จุด เหตุหุ้น UnitedHealth ดิ่งหนักฉุดตลาด

6. ประเทศไทยฝนฟ้าคะนองในภาคใต้ 40% ภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก 30% กรุงเทพปริมณฑล 20%

7. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.68) ร่วง 18 เหรียญ จากแรงเทขายทำกำไรหลังราคาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.25-33.45 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (18 เม.ย.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 33.36 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (18 เม.ย. 68) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 53,250 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (18 เม.ย.68) บวก 1.46 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,143.26 จุด

12. ตลาดหุ้นไทยปิด (17 เม.ย.68) บวก 2.38 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,141.28 จุด

13. ประกาศ กปน.: 22 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตัดถนนพัฒนาการตัดใหม่

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (17 เม.ย.68) ลบ 1.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,137.81 จุด

15. ทั่วไทยวันนี้ฝนฟ้าคะนอง ภาคใต้ ฝนตกหนัก 60-70% ภาคตะวันออก 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคเหนือ-ภาคอีสาน 30%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 21, 2025, 4:02 am