เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปภาวะตลาดเงินตลาดทุนรายสัปดาห์ "เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 เดือน ก่อนอ่อนค่ากลับมาบางส่วน ขณะที่ ดัชนีหุ้นไทยขยับขึ้นจากสัปดาห์ก่อน"


สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

· เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 เดือนที่ 33.08 บาทต่อดอลลาร์ฯ แรงหนุนสำคัญยังมาจากการพุ่งขึ้นของราคาทองคำตลาดโลก

เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง (หลังตลาดในประเทศกลับมาเปิดทำการหลังจากหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์) สอดคล้องกับการแข็งค่าของเงินหยวนและเงินเอเชียอีกหลายสกุล สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่เผชิญแรงเทขายท่ามกลางความกังวลต่อผลกระทบจากสงครามการค้าที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ

นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากการทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ของราคาทองคำในตลาดโลก และสัญญาณฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติเข้าสู่ตลาดพันธบัตรไทย โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 6 เดือนที่ 33.08 บาทต่อดอลลาร์ฯ แต่ลดช่วงบวกและอ่อนค่ากลับมาบางส่วนตามแรงขายเพื่อปรับโพสิชันและจังหวะการย่อตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วน โดยมีแรงหนุนจากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด และจากถ้อยแถลงของประธานเฟดและเจ้าหน้าที่เฟดที่ส่งสัญญาณไม่รีบปรับดอกเบี้ย เพราะต้องการรอดูผลกระทบจากภาษีการค้าต่อสถานการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ให้ชัดเจน


 
· ในวันศุกร์ที่ 18 เม.ย. 2568 เงินบาทกลับมาปิดตลาดในประเทศที่ 33.43 บาทต่อดอลลาร์ฯ (หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 เดือนที่ 33.08 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในระหว่างสัปดาห์) เทียบกับระดับ 33.63 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (11 เม.ย.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 16-18 เม.ย. 2568 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 904 ล้านบาท แต่อยู่ในฝั่งซื้อสุทธิพันธบัตรไทยถึง 31,141 ล้านบาท

· สัปดาห์ระหว่างวันที่ 21-25 เม.ย. 2568 ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 33.00-34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขการส่งออกเดือนมี.ค. ของไทย การเจรจาการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ สถานการณ์ของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ราคาทองคำในตลาดโลก สัญญาณฟันด์โฟลว์ของต่างชาติและถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI (เบื้องต้น) ดัชนีความเชื่อมั่นและการคาดการณ์เงินเฟ้อในมุมมองของผู้บริโภคเดือนเม.ย. ยอดขายบ้านใหม่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค. รายงาน Beige Book ของเฟด และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามการกำหนดอัตราดอกเบี้ย LPR ของ PBOC ผลการประชุมธนาคารกลางอินโดนีเซีย และดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนเม.ย. ของญี่ปุ่น ยูโรโซนและอังกฤษด้วยเช่นกัน

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

· ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นท่ามกลางแรงซื้อหลักจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ

ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นในวันทำการแรกหลังหยุดยาวช่วงสงกรานต์ตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค ตอบรับประเด็นที่สหรัฐฯ ประกาศยกเว้นภาษีตอบโต้สำหรับสินค้า

กลุ่มสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่งรวมถึงเซมิคอนดักเตอร์ ประกอบกับมีแรงซื้อจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศเข้ามาหนุน โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มพลังงาน วัสดุก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบในเวลาต่อมาเนื่องจากยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นสงครามการค้า ก่อนจะดีดตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงท้ายสัปดาห์ โดยมีแรงซื้อหลัก ๆ เข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีก่อนการประกาศงบ และหุ้นกลุ่มพลังงานจากอานิสงส์ของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวขึ้น อนึ่ง สัปดาห์นี้หุ้นกลุ่มแบงก์ปรับตัวลงสวนทางภาพรวม เนื่องจากมีแรงเทขายทำกำไรในหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมาย XD ประกอบกับนักลงทุนมีความกังวลต่อภาพรวมผลประกอบการไตรมาส 1/2568 ของกลุ่มแบงก์

 
· ในวันศุกร์ที่ 18 เม.ย. 2568 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,150.95 จุด เพิ่มขึ้น 1.97% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 32,909.53 ล้านบาท ลดลง 35.06% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 8.53% มาปิดที่ระดับ 252.17 จุด

· สัปดาห์ถัดไป (21-25 เม.ย. 68) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,140 และ 1,120 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,170 และ 1,195 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค. ของไทย ผลประกอบการไตรมาส 1/2568 ของบจ.ไทย โดยเฉพาะกลุ่มแบงก์ การเจรจาการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึงทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการเดือนเม.ย. (เบื้องต้น) ยอดขายบ้านใหม่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการเดือนเม.ย. (เบื้องต้น) ของญี่ปุ่น ยูโรโซน และอังกฤษ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 เม.ย. 2568 เวลา : 20:02:36
21-04-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นไทยปิด (18 เม.ย.68) บวก 9.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,150.95 จุด

2. ประกาศ กปน.: 24 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเทอดพระเกียรติ

3. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.68) บวก 3.88 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,145.16 จุด

4. MTS Gold คาดจะมีกรอบแนวรับ ที่ 2,290 เหรียญ และมีแนวต้านที่ 3,350 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.68) ร่วง 527.16 จุด เหตุหุ้น UnitedHealth ดิ่งหนักฉุดตลาด

6. ประเทศไทยฝนฟ้าคะนองในภาคใต้ 40% ภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก 30% กรุงเทพปริมณฑล 20%

7. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.68) ร่วง 18 เหรียญ จากแรงเทขายทำกำไรหลังราคาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.25-33.45 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (18 เม.ย.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 33.36 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (18 เม.ย. 68) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 53,250 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (18 เม.ย.68) บวก 1.46 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,143.26 จุด

12. ตลาดหุ้นไทยปิด (17 เม.ย.68) บวก 2.38 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,141.28 จุด

13. ประกาศ กปน.: 22 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตัดถนนพัฒนาการตัดใหม่

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (17 เม.ย.68) ลบ 1.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,137.81 จุด

15. ทั่วไทยวันนี้ฝนฟ้าคะนอง ภาคใต้ ฝนตกหนัก 60-70% ภาคตะวันออก 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคเหนือ-ภาคอีสาน 30%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 21, 2025, 3:59 am