หุ้นทอง
สภาทองคำโลกเผย การลงทุนทองคำจากผู้ซื้อรายย่อยของไทยพุ่งสูงในไตรมาสแรก การลงทุนใน ETF ทองคำพุ่งสูง ผลักดันความต้องการทั่วโลกในไตรมาส 1 ให้เพิ่มมากขึ้น


สภาทองคำโลก (World Gold Council: WGC) เปิดเผยรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 โดยระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำเพื่อการลงทุนของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นถึง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อยู่ที่จำนวน 7.4 ตัน และนับเป็นไตรมาสที่ 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดของไทยนับตั้งแต่ปี 2562 ทำให้ความต้องการทองคำภาคผู้บริโภคโดยรวมของไทยที่ประกอบด้วยปริมาณการลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำกับความต้องการทองคำเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 นั้นรวมเป็นจำนวน 9.1 ตัน เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเป็นปริมาณความต้องการทองคำภาคผู้บริโภครายไตรมาสที่มีการเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้านความต้องการทองคำโดยรวมทั่วโลกจากทุกภาคส่วน (ซึ่งรวมถึงการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์[1] หรือ Over-the-counter: OTC) รายไตรมาสนั้นอยู่ที่ 1,206 ตัน เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสภาวะที่ราคาทองคำสูงเป็นประวัติการณ์‎และทะลุระดับ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์

การฟื้นตัวของกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (ETF) ทองคำแท่งสำหรับนักลงทุน ได้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งผลให้ระดับความต้องการลงทุนทองคำโดยรวมทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าอยู่ที่ระดับ 552 ตัน คิดเป็น 170% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าและเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี 2565 กระแสเงินที่ไหลเข้าสู่กองทุน ETF ทั่วโลกนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสแรกและมีปริมาณความต้องการ 226 ตัน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากทิศทางราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และความไม่แน่นอนด้านนโยบายภาษีนำเข้าที่ผลักดันให้นักลงทุนหันมาถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

 
ด้านความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำเพื่อการลงทุนทั่วโลกได้เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และยังคงอยู่ในระดับสูงที่จำนวน 325 ตันสำหรับไตรมาสที่ 1 โดยได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนค้าปลีกรายย่อยในประเทศจีนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากและนับเป็นไตรมาสที่สูงที่สุดในประวัติการณ์เป็นอันดับสอง ทั้งนี้นักลงทุนจากฝั่งตะวันออกได้ขับเคลื่อนความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั่วโลกส่วนใหญ่และช่วยชดเชยกับฝั่งตะวันตกที่ดูอ่อนแอ โดยความต้องการในสหรัฐอเมริกาได้ลดลง 22% ขณะที่ฝั่งยุโรปฟื้นตัวขึ้นมาเล็กน้อยที่จำนวน 12 ตัน แต่ฐานตัวเลขของไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้านั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมาก

ธนาคารกลางยังคงเป็นผู้ซื้อทองคำสุทธิติดต่อกันเข้าสู่ปีที่ 16 และได้เพิ่มปริมาณทุนสำรองทั่วโลก 244 ตันในไตรมาสที่ 1 ท่ามกลางสภาวะความไม่แน่นอนในระดับโลกที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป แม้ว่าความต้องการของธนาคารกลางจะลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่นับว่ายังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและมีปริมาณสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยรายไตรมาสของสามปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการซื้อทองคำในระดับที่สูงมาอย่างต่อเนื่อง

ด้านความต้องการทองคำเครื่องประดับนั้นเป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ โดยได้รับผลกระทบเชิงลบจากราคาทองคำที่พุ่งทำสถิติสูงสุดใหม่ถึง 20 ครั้งในไตรมาสที่ 1 ทั้งนี้ประเทศไทยมีความต้องการทองคำเครื่องประดับปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1.7 ตัน เนื่องจากราคาทองคำที่พุ่งขึ้นสูง ซึ่งนับเป็นการลดลงในระดับปานกลางที่ 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณความต้องการทองคำเครื่องประดับทั่วโลกได้ลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วงที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในปี 2563 อย่างไรก็ตามตลาดทองคำเครื่องประดับนั้นยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะหากพิจารณาในแง่ของมูลค่าแม้ว่าจะได้รับแรงกดดันอย่างรุนแรงจากราคาทองคำที่สูงก็ตาม โดยในไตรมาสแรกพบว่าผู้บริโภคได้ซื้อทองคำเครื่องประดับทั่วโลกเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นจำนวน 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเกือบทุกตลาดมีมูลค่าความต้องการทองคำเครื่องประดับสูงขึ้นยกเว้นในประเทศจีน

ด้านอุปทานทองคำโดยรวมของไตรมาสแรกนั้นทรงตัวในระดับเดียวกันกับปีก่อนหน้าที่จำนวน 1,206 ตัน โดยปริมาณการผลิตจากเหมืองแร่ได้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์สำหรับไตรมาสที่ 1 แต่ปริมาณอุปทานโดยรวมนั้นถูกลดทอนลงจากการรีไซเคิลทองคำที่ปรับลดลงเล็กน้อย ขณะที่ความต้องการทองคำในภาคเทคโนโลยียังคงทรงตัวที่จำนวน 80 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2567

 
คุณเซาไก ฟาน (Shaokai Fan) หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) และหัวหน้าฝ่ายธนาคารกลางระดับโลก ของสภาทองคำโลก กล่าวว่า “โดยรวมแล้วการลงทุนจากผู้บริโภคในกลุ่มประเทศอาเซียนในรายงานฉบับนี้ยังคงมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สำหรับประเทศไทยการคาดการณ์ทิศทางราคาทองคำในเชิงบวกได้เป็นแรงผลักดันการลงทุนในทองคำ ทำให้ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำของไทยเพิ่มขึ้นถึง 25% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้ว่าหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ความต้องการทองคำแท่งและเหรียฐทองคำจะลดลงก็ตาม เนื่องจากราคาทองคำที่สูงขึ้นได้กระตุ้นให้เกิดแรงขายทำกำไร ด้านความต้องการทองคำเครื่องประดับในไตรมาสแรกของไทยนั้นสอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาทองคำที่สูงเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตามตลาดทองคำของไทยยังคงมีความแข็งแกร่งและชะลอตัวลงในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับบางประเทศในอาเซียนที่อยู่ในการศึกษาของเราครั้งนี้”

คุณหลุยส์ สตรีท (Louise Street) นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโส ของสภาทองคำโลก กล่าวว่า “ต้นปีที่ผ่านมาถือเป็นช่วงที่มีความท้าทายสำหรับตลาดโลก เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการค้า การประกาศนโยบายของสหรัฐฯ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ประกอบกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องและความกังวลเรื่องสภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ได้หวนกลับมาอีกครั้ง ได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนสำหรับนักลงทุน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความต้องการลงทุนในทองคำสำหรับไตรมาสแรกพุ่งสู่ระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559”

“ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมานักลงทุนได้กลับมาลงทุนในกองทุน ETF ทองคำอีกครั้ง โดยได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว และในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียวกระแสเงินลงทุนที่ไหลเข้าจากทางเอเชียก็ได้พุ่งสูงเกินยอดรวมของทั้งไตรมาสที่ 1 ไปแล้ว อย่างไรก็ตามยังคงมีโอกาสที่การลงทุนใน ETF จะเติบโตได้อีก เนื่องจากปริมาณการถือครองทองคำในกองทุน ETF ทั่วโลกนั้นยังคงต่ำกว่าระดับสูงสุดในปี 2563 อยู่ 10%”

“สำหรับอนาคตข้างหน้านี้สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมก็ยังคงคาดการณ์ได้ยาก ซึ่งความไม่แน่นอนดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยทำให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น สภาวะความผันผวนที่ยังคงอยู่ต่อไปนี้อาจทำให้ความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากทั้งภาคสถาบัน นักลงทุนรายย่อย และภาครัฐ เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้”

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำไตรมาสที่ 1 ปี 2568 (Gold Demand Trends Q1 2025 Report) ซึ่งรวมถึงข้อมูลรายละเอียดที่ครอบคลุมจาก Metals Focus ได้ที่นี่
 

LastUpdate 06/05/2568 17:24:22 โดย : Admin
12-05-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 10 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนพระรามที่ 4 ตัดถนนรัชดาภิเษก

2. ตลาดหุ้นปิด (9 พ.ค.68) บวก 4.35 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,210.94 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,250 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,340 เหรียญ

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (9 พ.ค.68) ลบ 5.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,200.92 จุด

5. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) ร่วง 85.90 เหรียญ หลังสหรัฐ-อังกฤษ บรรลุข้อตกลงการค้า

6. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) พุ่ง 254.48 จุด ขานรับ "สหรัฐ-อังกฤษ" บรรลุข้อตกลงการค้า

7. อุตุฯเตือนระวัง "พายุฤดูร้อน" วันนี้ "ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก" ฝนฟ้าคะนอง 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคกลาง 30% ภาคใต้ 30-40%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.30 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) อ่อนค่าลง ที่ระดับ 33.02 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (9 พ.ค. 68) ร่วงลง 350 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,450 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) บวก 6.28 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.87 จุด

12. ประกาศ กปน.: 13 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้) และถนนอนามัยงามเจริญ

13. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (8 พ.ค.68) ลบ 13.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,206.59 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (8 พ.ค.68) ลบ 7.43 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.84 จุด

15. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (7 พ.ค.68) ร่วง 30.90 เหรียญ รับสงครามการค้าส่งสัญญาณคลี่คลาย

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 12, 2025, 5:04 am