เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ttb analytics ชี้นโยบายการค้า Trump 2.0 เร่งธีมโลกไปสู่ "ยุคของการกีดกันทางการค้า" ประเมินมูลค่าส่งออกไทยเสี่ยงชะลอตัวระยะยาว แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัวรับมือกับความไม่แน่นอนสูง



ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มองนโยบายภาษีของทรัมป์ในปัจจุบัน (Trump 2.0) เร่งให้พลวัตการค้าโลกย้อนกลับไปสู่ “ยุคของการกีดกันทางการค้า” หรือ Protectionism เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ส่งผลกระทบต่อไทยซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจแบบระบบเปิดขนาดเล็ก (Small-open Economy) โดยผลจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา ที่มีต่อภาคส่งออกไทยจะส่งผ่านมาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะกระทบต่อสินค้าในหลายหมวด ได้แก่ (1) กลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบสูง เช่น คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครือข่ายและการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า (2) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบปานกลาง เช่น เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยางพารา เฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้าน และ (3) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจำกัด เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป เป็นต้น 

หลังจากที่โลกบอบช้ำจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากผลพวงของการตอบโต้มาตรการขึ้นภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ (Smoot-Hawley Tariff Act) ในช่วงปี 2473 (ค.ศ. 1930) ทำให้ทั่วโลกหันกลับมาฟื้นฟูเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกครั้ง จนมีส่วนทำให้โลกเปลี่ยนผ่านจากยุคของการกีดกันทางการค้า (Protectionism) ไปสู่ยุคของโลกาภิวัตน์ (Globalization) อย่างเต็มตัวได้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดี ในปี 2568 “สงครามการค้าและนโยบายภาษีของสหรัฐฯ” กลายเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้โลกซึ่งอยู่ระหว่างการทวนกลับของโลกาภิวัตน์ (De-globalization) มีการปรับเปลี่ยนระบบการค้าโลกเชิงพลวัตครั้งใหญ่จนอาจกลับไปสู่ “ยุคของการกีดกันทางการค้า” เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เห็นได้จากประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่หันไปพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้นในระยะหลัง แนวโน้มการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ (Re-shoring) เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้า ซึ่งนั่นหมายความว่า โลกนับจากนี้จะมีแนวโน้มพึ่งพาซึ่งกันและกันลดลง ประเทศที่พึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูงอาจเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการค้าของทรัมป์ (Trump 2.0) 

 
 
ทั้งนี้ แม้ล่าสุดทรัมป์ประกาศเลื่อนการเก็บภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Tariff) ออกไปชั่วคราว และจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้าแบบถ้วนหน้า (Universal Tariff) ที่ระดับ 10% (ยกเว้นจีน 145%)  ttb analytics มองว่า อัตราภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บในยุคของทรัมป์อาจไม่สามารถกลับไปที่ระดับเดิมในปี 2567 (อัตราภาษีสินค้านำเข้าจากทุกประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% อ้างอิงจากข้อมูลคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ) แม้คู่ค้าหลักจะสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับสหรัฐฯ ได้แล้วก็ตาม ซึ่งการยกระดับนโยบายกีดกันทางการค้าภายใต้ Trump 2.0 จะยิ่งทำให้ภูมิทัศน์การค้าโลกมีความตึงเครียดขึ้น และจะส่งผลให้ภาคส่งออกไทยมีแนวโน้มลดลงในระยะยาว สะท้อนผ่านการวิเคราะห์การตอบสนองต่อสิ่งรบกวน (Shock) จากการขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ต่อมูลค่าการส่งออกไทยผ่านแบบจำลองการตอบสนองอย่างฉับพลัน (Impulse Response Function : IRF) ในระหว่างปี 2553-2567 ซึ่งพบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชั่วคราวในช่วง 1-4 ไตรมาสแรกหลังจากการ (ส่งสัญญาณ) ขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ แต่กลับจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยในระยะยาว ซึ่งผลกระทบสะสมยังคงรุนแรงแม้จะผ่านไปแล้ว 24 ไตรมาส

ttb analytics ประเมินว่า หากสหรัฐฯ ใช้การจัดเก็บภาษีนำเข้าในระดับเดียวกันทั้งหมด (ยกเว้นจีน) ในอัตราภาษี Universal Tariff 10% และอัตราภาษีนำเข้าเฉพาะกลุ่มสินค้า (Sectoral Tariff) 25% อาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัย แต่หากกรณีเลวร้ายที่สุด (Worst Case) ซึ่งไทยอาจยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับสหรัฐฯ ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และถูกจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้าซึ่งอ้างอิงจาก Reciprocal Tariff ที่ระดับ 36% และสูงกว่าประเทศคู่แข่งหลาย ๆ ประเทศ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยสูงถึง 1.1% ของจีดีพีภายในระยะเวลา 1 ปี (ซึ่งยังไม่นับรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจทางอ้อมในรูปแบบอื่น) เนื่องจากไทยเป็นประเทศระบบเปิดขนาดเล็ก (Small-open Economy) และมีสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยด้วยมูลค่าส่งออกคิดเป็นเกือบ 9% ของจีดีพี โดยสามารถแบ่งรูปแบบของผลกระทบต่อภาคส่งออกได้เป็นผลกระทบทางตรง 
 
1) กลุ่มอุตสาหกรรมที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ สูง และมีความเสี่ยงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดจากการที่ไทยถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าคู่แข่งค่อนข้างมาก เช่น คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อุปกรณ์เครือข่ายและการสื่อสาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บภาษีนำเข้าค่อนข้างต่ำมากอยู่แล้ว ทำให้การที่ไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงหรือสูงกว่าประเทศคู่แข่งอย่างมีนัย จึงมีความเสี่ยงที่ไทยจะเสียส่วนแบ่งตลาดจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ซึ่งอาจทำให้สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากแหล่งอื่นทดแทนได้ 
 
2) กลุ่มอุตสาหกรรมที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ สูงขึ้นอย่างมีนัย ซึ่งมีความเสี่ยงจะเจอมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ผลิตในประเทศเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ และกลุ่มที่จีนต้องการส่งออกไปสหรัฐฯ ผ่านไทย (Re-routing) ทำให้ส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในระยะหลัง ซึ่งส่งผลให้สินค้าที่ส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีนำเข้าเป็นกรณีพิเศษตามมาตรา 201 ที่อ้างถึงเหตุผลของการใช้มาตรการในกรณีที่สินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหันและมีนัยสำคัญ (Safeguard Protection) เช่น แผงโซลาร์  เครื่องซักผ้า เหล็ก และอะลูมิเนียม รวมถึงมาตรา 232 ว่าด้วยการอ้างถึงเหตุผลของการใช้มาตรการเพื่อปกป้องความมั่นคงของประเทศ (National Security) เช่น ยางรถยนต์ ซึ่งการเข้ามาลงทุนของบริษัทจีนในไทยกลายเป็นความเสี่ยงที่ทำให้สินค้าจากไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ อาจถูกตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า (Country of Origin) และนำมาซึ่งการถูกดำเนินมาตรการกีดกันการค้าเพิ่มเติมได้ในระยะข้างหน้า
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 08 พ.ค. 2568 เวลา : 17:15:51
11-05-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 10 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนพระรามที่ 4 ตัดถนนรัชดาภิเษก

2. ตลาดหุ้นปิด (9 พ.ค.68) บวก 4.35 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,210.94 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,250 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,340 เหรียญ

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (9 พ.ค.68) ลบ 5.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,200.92 จุด

5. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) ร่วง 85.90 เหรียญ หลังสหรัฐ-อังกฤษ บรรลุข้อตกลงการค้า

6. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) พุ่ง 254.48 จุด ขานรับ "สหรัฐ-อังกฤษ" บรรลุข้อตกลงการค้า

7. อุตุฯเตือนระวัง "พายุฤดูร้อน" วันนี้ "ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก" ฝนฟ้าคะนอง 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคกลาง 30% ภาคใต้ 30-40%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.30 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) อ่อนค่าลง ที่ระดับ 33.02 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (9 พ.ค. 68) ร่วงลง 350 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,450 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) บวก 6.28 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.87 จุด

12. ประกาศ กปน.: 13 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้) และถนนอนามัยงามเจริญ

13. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (8 พ.ค.68) ลบ 13.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,206.59 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (8 พ.ค.68) ลบ 7.43 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.84 จุด

15. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (7 พ.ค.68) ร่วง 30.90 เหรียญ รับสงครามการค้าส่งสัญญาณคลี่คลาย

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 11, 2025, 2:02 pm