เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
Scoop : ฝันร้ายเกษตรกร "ผลไม้ไทย" ราคาตกต่ำสุดกว่าทุกปี จากปัจจัยเศรษฐกิจรุมเร้า


 

ราคาของผลไม้ไทยในช่วงเวลานี้นับว่าถูกอย่างมากจนน่ากังวล เพราะด้วยความที่ผลไม้เศรษฐกิจหลักของไทยนำออกมาเร่ขายเต็มตลาด ด้วยราคาที่ต่ำกว่าในรอบหลายปี อาจไม่ใช่การตกลงมาชั่วคราว แต่เป็นสัญญาณเตือนว่าสถานการณ์การผลิตและการส่งออกผลไม้ไทยกำลังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งด้านคุณภาพ มาตรฐาน และการพึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่งมากจนเกินไป
 
ประเทศไทยจัดได้ว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่อาศัยผลผลิตทางการเกษตรส่งออกขายไปยังตลาดต่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อเกิดสภาวะของปริมาณผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น สวนทางกับความต้องการบริโภคที่มีจำกัด ทำให้เกิดผลผลิตส่วนเกิน หรือในเชิงกลไกทางเศรษฐศาสตร์ที่ Supply มีมากกว่า Demand ก็ย่อมส่งผลให้ราคาของผลผลิตโดนกดราคาลงแรง กระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ตั้งแต่เกษตรกรไทย ภาคการจ้างงานงาน การส่งออก ไปจนถึงการกดดันการลงทุนจากการทรุดตัวของภาคการบริโภคในประเทศ
 
โดยตอนนี้กำลังเกิดสภาวะที่ผลไม้เศรษฐกิจหลักของไทยปี 2568 อย่างทุเรียน ลำไย มังคุด และมะม่วง มีราคาตกต่ำสุดในรอบหลายปี โดยสำหรับทุเรียน มีราคาต่ำสุดในรอบ 5 ปี ร่วงจากจุดสูงสุด 120 บาทในช่วงต้นฤดูกาล ตอนนี้เหลือไม่ถึง 100 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนลำไย ที่มีคุณภาพเกรด AA มีราคาลดลงเหลือเพียง 8-9 บาทต่อกิโลกรัม หากคุณภาพไม่ถึงเกณฑ์ ราคาก็ลดลงเหลือเพียง 2-3 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับมังคุด มีราคาตกต่ำเหลือเพียง 5 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่มะม่วง ราคาเหลืออยู่ที่ 3-5 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเกรดส่งออก ราคาตกเหลือกิโลกรัมละ 40 บาท จากปีที่ผ่านมาอยู่กิโลกรัมละ 55 บาท ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 20 ปีเลยทีเดียว
 
โดยทาง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ถึงสาเหตุสำคัญของปัญหาด้านราคาดังกล่าว มีที่มาจากปริมาณผลผลิตผลไม้เศรษฐกิจหลักที่คาดว่าทั้งปี 2568 ปริมาณผลไม้หลักจะเพิ่มขึ้นทุกรายการรวมกว่า 21.8% ไปอยู่ที่ 3.66 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตกว่า 1.2 เท่า จากแรงหนุนของปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น 6.1% โดยวิเคราะห์จากผลไม้ 3 รายการหลักของไทย คือ ทุเรียน ลำไย และมังคุด ซึ่งรวมคิดเป็น 76% ของผลผลิตผลไม้ทั้งหมด จำแนกออกเป็นทุเรียนเพิ่มขึ้น 1.68 ล้านตัน หรือ 30.7%, ลำไยเพิ่มขึ้น 1.57 ล้านตัน หรือ 10.8% และมังคุดเพิ่มขึ้น 4.1แสนตัน หรือ 35.1% ส่งผลให้ยอดขายผลไม้เศรษฐกิจดังกล่าวในปี 2568 คาดว่าจะลดลง 4.8% ไปอยู่ที่ 204,146 ล้านบาท จากแรงฉุดด้านราคาเป็นหลัก
 
โดยในส่วนของตลาดผลไม้ (แบ่งเป็นส่งออกในสัดส่วน 79% และตลาดในประเทศ 21%) ยอดขายจากการส่งออกจะเป็นปัจจัยฉุดสำคัญต่อยอดขายรวม โดยลดลง -6% จากปัญหาเชิงโครงสร้างสำคัญที่ไทยมีการพึ่งพาตลาดจีนในสัดส่วนสูง ที่ความความต้องการจากจีนจะส่งผลต่อยอดขายผลไม้ของไทยอย่างมาก และในตอนนี้เองผลไม้หลักอย่างทุเรียนก็กำลังเผชิญกับคู่แข่งที่เข้าแย่งส่วนแบ่งตลาดในจีนมากขึ้น เช่น เวียดนาม ที่มีต้นทุนต่ำ และมีระบบการส่งออกที่ยืดหยุ่น หรือมาเลเซีย ก็มีการเจาะตลาดพรีเมียมด้วยทุเรียนพื้นเมืองอย่างทุเรียนมูซานคิง อีกทั้งจีนยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่เข้มงวดขึ้น ทำให้ทุเรียนไทยบางส่วนที่มีการปนเปื้อนสารตกค้าง เช่น แคดเมียม และ BY2 (Basic Yellow 2) ซึ่งเป็นสารต้องห้ามในอาหาร ถูกระงับการนำเข้า นอกจากนี้ การที่ภาครัฐไทยไม่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด ขาดการคัดแยกที่แม่นยำ (30% ของทุเรียนส่งออกไม่สุกพอ) และไม่มีเครื่องวัดที่มีคุณภาพ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาดจีนมากขึ้น จนทำให้ไทยจากที่เคยครองตลาดจีนในสัดส่วน 95% ลดลงมาเหลือเพียงแค่ 57% ในเวลา 2 ปี ส่วนลำไยที่พึ่งพาตลาดจีนเป็นตลาดส่งออกหลักเช่นกันนั้น ผู้รับซื้อรายใหญ่จากจีน ก็มักมีอำนาจในการกำหนดราคา ยิ่งด้วยตอนนี้การผลิตลำไยนอกฤดูที่มากขึ้น ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงที่ความต้องการไม่สูงมากนัก ผลักดันให้ราคายิ่งลดต่ำลง
 
ขณะที่มังคุดนั้น โดยปกติแล้วมีการส่งขายไปยังประเทศกัมพูชา แต่พอมีการปิดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม - บ้านผักกาดใน จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกมังคุด ก็ไม่สามารถที่จะส่งออกไปได้ บางส่วนจำเป็นต้องปล่อยให้สุกคาต้น เพราะผลผลิตล้นตลาด และนอกจากนี้จากการปิดด่าน ทำให้ประสบปัญหาด้านแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานไม่ได้อีกด้วย
 
และนอกเหนือจากผลไม้เศรษฐกิจหลักที่มีราคาต่ำลงแล้ว ก็เป็นปัจจัยที่ฉุดราคาผลไม้อื่น ๆ ในตลาดลดต่ำตามลงไปด้วย เช่น แก้วมังกร ที่แม้จะไม่ใช่ผลไม้หลักของไทย แต่ก็สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทยเช่นกัน แต่ตอนนี้เกษตรกรกำลังได้รับผลกระทบ เพราะขายให้กับพ่อค้าคนกลางหน้าสวนได้เพียงกิโลกรัมละ 5 บาทเท่านั้น ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว ครั้นจะหาทางออกด้วยตลาดในประเทศ ก็นับว่าไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่ายอดขายผลไม้สดในประเทศจะเพิ่มขึ้นไม่มากราว 0.3% จากความต้องการบริโภคและกำลังซื้อที่มีจำกัดตามภาวะเศรษฐกิจของไทยที่เติบโตชะลอลง ขณะที่ผู้บริโภคชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวไทยมีแนวโน้มลดลงในปีนี้ ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศในหมวดผลไม้ทั้งหมดปี 2568 คาดว่าจะโตชะลอลงจากปี 2567 ที่โต 5.4%  
 
เรียกได้ว่าสถานการณ์ราคาผลไม้ที่ตกต่ำนั้น มีเหตุจากปัจจัย   ต่าง ๆ ที่รุมเร้ากันอยู่ในคราวเดียว ฉะนั้นสำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ที่นอกเหนือจากปัจจัยทางธรรมชาติแล้ว อาจต้องพิจารณาในส่วนของการควบคุมคุณภาพผลผลิตให้มีความเข้มงวดมากขึ้น รัฐบาลอาจจำเป็นต้องผลักดันการใช้เทคโนโลยี ตรวจหาสารตกค้าง ความสุกแบบแม่นยำ หรือต้องกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบล้งเกษตรกรร่วมกันหากมีการละเมิด นอกจากนี้จำเป็นต้องลดการพึ่งพาจากประเทศจีนไปหาตลาดประเทศอื่นทดแทนเพื่อกระจายความเสี่ยง และป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจต่อรองเข้ามากดดันเกษตรกรไทยอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้

LastUpdate 06/07/2568 21:38:13 โดย : Admin
07-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (4 ก.ค.2568) ลบ 7.27 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,119.94 จุด

2. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 3,320 เหรียญ และ แนวต้านอยู่ที่ระดับ 3,350 เหรียญ

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (4 ก.ค.68) ลบ 3.23 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,123.96 จุด

4. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (3 ก.ค.68) บวก 344.11 จุด ขานรับตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรแข็งแกร่งเกินคาด

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.60 บาท/ดอลลาร์

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (3 ก.ค.68) ลบ 16.80 เหรียญ กังวลเฟดชะลอลดดอกเบี้ย หลังจ้างงานแกร่งเกินคาด

7. พยากรณ์อากาศวันนี้ (4 ก.ค.68) "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก" ฝนตกหนัก 70% ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 30-40%

8. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (4 ก.ค.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 32.43 บาทต่อดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาดวันนี้ (4 ก.ค. 68) ลดลง 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,000 บาท

10. ตลาดหุ้นไทยเปิด (4 ก.ค.68) บวก 0.56 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,127.77 จุด

11. ประกาศ กปน.: 19 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี

12. ตลาดหุ้นปิด (3 ก.ค.68) บวก 11.52 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,127.21 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (3 ก.ค.68) บวก 3.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,119.36 จุด

14. พยากรณ์อากาศวันนี้ (3 ก.ค.68) ภาคตะวันออก ฝนตกหนัก 80% กรุงเทพปริมณฑล และภาคอื่น 70% เว้นภาคใต้ 60%

15. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (2 ก.ค.68) ลบ 10.52 จุด กังวลจ้างงานภาคเอกชนลดลง

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 7, 2025, 9:20 am