เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ "ส่งออกน้ำมันรำข้าวไทยปี 2568 มูลค่าโตพุ่ง 12.8% สูงสุดในรอบ 3 ปี"


· น้ำมันรำข้าว ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย และจะเป็นหนึ่งในทางรอดของข้าวไทยได้อย่างยั่งยืน จากแรงกระตุ้นสำคัญที่น้ำมันรำข้าวมีราคาสูงและผันผวนน้อยกว่าราคาข้าว สร้างมูลค่าเพิ่มจากข้าวได้ 3.3 เท่า และยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่โดดเด่นกว่าน้ำมันพืชอื่น

· ในปี 2568 มูลค่าส่งออกน้ำมันรำข้าวไทย คาดว่าจะโต 12.8% ไปอยู่ที่ 73.3 ล้านดอลลาร์ฯ มาจากทั้งปริมาณโต 8.8% และราคาโต 3.6%

· แรงหนุนมาจากตลาดส่งออกหลักอย่างญี่ปุ่นที่โตสูงกว่า 19.1% ตามการเติบโตของตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ในเกาหลีใต้อาจหดตัว 0.4% จากแรงกดดันของอุปทานน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้น

น้ำมันรำข้าว ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่สร้างมูลค่าเพิ่มและช่วยยกระดับข้าวไทยสู่ความยั่งยืน

น้ำมันรำข้าวไทยช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย และจะเป็นหนึ่งในทางรอดได้อย่างยั่งยืน ท่ามกลางผลผลิตข้าวไทยที่ล้นตลาด โดยแรงกระตุ้นสำคัญในการมุ่งไปสู่น้ำมันรำข้าว มีดังนี้

ราคาน้ำมันรำข้าวสูงกว่าราคาข้าวเฉลี่ย 1.3 ดอลลาร์ฯต่อกก. โดยในช่วงปี 2565-2567 ราคาส่งออกน้ำมันรำข้าวไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 1.9 ดอลลาร์ฯต่อกก. ขณะที่ราคาส่งออกข้าวไทยที่เป็นสินค้าขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 0.6 ดอลลาร์ฯ ต่อกก.

ราคาน้ำมันรำข้าวผันผวนน้อยกว่าราคาข้าว สะท้อนจากในช่วงที่มีปัจจัยสำคัญมากระทบตลาด เช่น สภาพอากาศแปรปรวน นโยบายการค้าของผู้เล่นหลัก เป็นต้น พบว่าราคาน้ำมันรำข้าวจะเคลื่อนไหวขึ้นหรือลงไม่แรงมากนักเมื่อเทียบกับราคาข้าวที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์เกษตรที่มีราคาขึ้นอยู่กับตลาดโลกเป็นหลัก (รูปที่ 1) อีกทั้งส่วนหนึ่งมาจากน้ำมันรำข้าวมีตลาดเฉพาะกลุ่มและมีการผลิตที่จำกัดกว่าสินค้าข้าวที่เป็นตลาดที่มีกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก (Mass Market)

 
น้ำมันรำข้าวสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้าวราว 3.3 เท่า สูงกว่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวอื่น เช่น แป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียวที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากข้าวได้เพียง 1.4-1.8 เท่า เป็นต้น (รูปที่ 2)

 
น้ำมันรำข้าวมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติในการปรุงอาหารที่โดดเด่นกว่าน้ำมันพืชอื่น ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะเป็นมิตรต่อหัวใจ ทั้งในแง่ของปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวที่ไม่สูง มีจุดเกิดควันสูง มีวิตามินอีสูง มีแกมมา-โอรีซานอลที่พบได้เฉพาะในน้ำมันรำข้าวเท่านั้น รวมไปถึงราคาจำหน่ายของน้ำมันรำข้าวที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชอื่น ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ไม่ยาก (รูปที่ 3)

 
ส่งออกน้ำมันรำข้าวไทยปี 2568 มูลค่าพุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี

ในปี 2568 มูลค่าส่งออกน้ำมันรำข้าวไทย คาดว่าจะโต 12.8% ไปอยู่ที่ 73.3 ล้านดอลลาร์ฯ (รูปที่ 4) โดยเป็นผลมาจากทั้งปริมาณโต 8.8% และราคาโต 3.6%1

 
แรงหนุนมาจากตลาดส่งออกหลักอย่างญี่ปุ่นที่เติบโตดี ขณะที่ในเกาหลีใต้อาจเผชิญความท้าทายให้หดตัวเล็กน้อย

ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกน้ำมันรำข้าวศักยภาพของไทยที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ขณะที่เกาหลีใต้มีสัดส่วนการส่งออกลดลง โดยในช่วงปี 2565-2567 มูลค่าส่งออกน้ำมันรำข้าวไทยไปญี่ปุ่นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นไปเฉลี่ยที่ 24% หรือมากกว่า 2.7 เท่าเทียบกับช่วงปี 2562-2564 ขณะที่ไทยส่งออกไปเกาหลีใต้ในช่วงปี 2565-2567 มีสัดส่วนลดลงไปเฉลี่ยที่ 27% จาก 31% ในช่วงปี 2562-2564 (รูปที่ 5)

 
ในปี 2568 มูลค่าส่งออกน้ำมันรำข้าวไทยไปญี่ปุ่น คาดว่าจะโต 19.1% ขณะที่ส่งออกไปเกาหลีใต้ คาดว่ามูลค่าจะหดตัว 0.4% ทั้งนี้

ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มีการนำเข้าน้ำมันรำข้าวเพื่อใช้บริโภคเป็นหลัก2 ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ญี่ปุ่น เป็นตลาดศักยภาพ โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยเป็นหลักกว่า 64.8%ตามด้วยเวียดนาม 34.6%3 และแม้ราคาของไทยจะสูงกว่าเวียดนามเฉลี่ยราว 0.3 ดอลลาร์ฯต่อกก. แต่ด้วยคุณภาพที่ดีและปริมาณส่งมอบที่มีเพียงพอ ทำให้น้ำมันรำข้าวไทยสามารถครองใจผู้บริโภคญี่ปุ่นได้

ทั้งนี้ ความต้องการบริโภคน้ำมันรำข้าวของญี่ปุ่น มาจากผู้บริโภคกว่า 39% เลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ4 โดยตลาดอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารเพื่อสุขภาพเฉพาะ5ของญี่ปุ่น คาดว่าจะโตเฉลี่ย 5.9% ต่อปีในช่วงปี 2568-2576 ไปอยู่ที่ 24,500 ล้านดอลลาร์ฯในปี 25766 ตามความตระหนักด้านสุขภาพที่ดีและจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น

เกาหลีใต้ เป็นตลาดที่ท้าทาย แม้ว่าเกาหลีใต้จะเป็นตลาดส่งออกใหญ่สุดของไทย และเกาหลีใต้เองก็นำเข้าจากไทยเป็นหลักกว่า 94% จากราคาของไทยที่ถูกกว่าคู่แข่งอย่างเวียดนามราว 0.1 ดอลลาร์ฯต่อกก. แต่ด้วยความนิยมบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มเป็นหลักกว่า 78% ซึ่งคาดว่าในปี 2568 เกาหลีใต้จะมีอุปทานน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มเพิ่มกว่า 4.5% จะกดดันความต้องการบริโภคพืชน้ำมันอื่น รวมถึงการบริโภคน้ำมันรำข้าวไทยที่จะส่งออกไปให้ได้รับผลกระทบในเชิงลบด้วย

บันทึกโดย : วันที่ : 08 ก.ค. 2568 เวลา : 19:09:45
11-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (10 ก.ค.68) บวก 192.34 จุด รับข้อมูลแรงงานสดใส

2. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (10 ก.ค.68) บวก 4.70 เหรียญ กังวลภาษีทรัมป์แห่ซื้อทองสินทรัพย์ปลอดภัย

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (11 ก.ค.68) บวก 17.31 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,127.71 จุด

4. พยากรณ์อากาศวันนี้ (11 ก.ค.68) ภาคเหนือ ฝนตกหนัก 80% ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 70% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก 60% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 40%

5. ทองเปิดตลาดวันนี้ (11 ก.ค. 68) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,150 บาท

6. ตลาดหุ้นไทยเปิด (11 ก.ค. 68) บวก 8.98 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,119.38 จุด

7. MTS Gold คาดราคาทองคำทางเทคนิคยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ Sideway โดยมีแนวรับอยู่ที่ 3,300 เหรียญและแนวต้านที่ 3,350 เหรียญ

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.55-32.80บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (11 ก.ค.68) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 32.59 บาทต่อดอลลาร์

10. ประกาศ กปน.: 17 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนศรีนครินทร์ตัดถนนหนามแดง-บางพลี

11. ประกาศ กปน.: 19 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประเสริฐมนูกิจ

12. ตลาดหุ้นปิด (9 ก.ค.68) ลบ 5.25 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,110.40 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (9 ก.ค.68) ลบ 4.05 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,111.60 จุด

14. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,290 เหรียญ และ 3,340 เหรียญ

15. ทองเปิดตลาดวันนี้ (9 ก.ค.68) ลดลง 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 51,800 บาท

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 11, 2025, 2:01 pm