เบรนท์ส่งมอบ ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.56 เหรียญฯ ปิดที่ 115.96 เหรียญฯ ขณะที่เวสต์เท็กซัสส่งมอบ ต.ค. ปรับลดลง 0.16 เหรียญฯ ปิดที่ 97.01 เหรียญฯ
+ ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีอนุมัติเงินกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ส่งผลให้เงินกองทุน ESM มูลค่ารวม 700,000 ล้านยูโร สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรป รวมทั้งแผนการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของธนาคารกลางยุโรปได้ อย่างไรก็ตาม ศาลได้จำกัดจำนวนวงเงินช่วยเหลือในส่วนของเยอรมนีไม่เกิน 190,000 ล้านยูโร ส่วนเกินกว่านั้นต้องขออนุมัติจากสภาล่างของเยอรมนีก่อน
+ ความตึงเครียดในตะวันออกกลางเพิ่มสูงขึ้น หลังเอคราชทูตสหรัฐฯ ในลิเบียถูกลอบสังหารและมีการเผาสถานทูตสหรัฐฯ ในเมืองเบงกาซี โดยทหารของลิเบีย ประกอบกับอิสราเอลเริ่มไม่พอใจสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีท่าทีในการตอบโต้อิหร่าน หลังจากที่ในช่วงต้นสัปดาห์มีข่าวว่าอิหร่านกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
+ ตลาดยังคงมีความหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ QE3 จับตาดูผลจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันนี้
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA)รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 7 ก.ย.ปรับเพิ่มขึ้น 2.0 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดไว้ว่าจะปรับลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล หลังจากที่สหรัฐฯ มีการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น ขณะที่โรงกลั่นในสหรัฐฯ ที่ปิดไปเนื่องจากไอแซก ค่อยๆ กลับมาดำเนินการ แต่อัตราการกลั่นยังคงต่ำอยู่ ส่งผลให้มีการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นน้อยลง
- สำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปีหน้าจะถูกดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม IEA ยังคงคาดการณ์การเติบโตของใช้น้ำมันของโลกในปีนี้และปีหน้าไว้ใกล้เคียงเดิมที่ 0.8 และ 1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ โดยมองว่าอุปทานน้ำมันยังคงเพียงพอต่อความต้องการใช้และยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจะนำน้ำมันดิบสำรองทางยุทธศาสตร์มาใช้
ราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีความต้องการน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซลเพิ่มขึ้นจากเวียดนาม
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 110 - 118 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 90 - 98 เหรียญ
ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันนี้ว่าจะมีการออกมาตรการ QE3 หรือไม่ รวมถึงการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีการคลังของกลุ่มยูโรโซนในวันที่ 14-15 ก.ย.นี้ และการพิจารณาการปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
- ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพฤหัสบดี: ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ
วันศุกร์: ดัชนีราคาผู้บริโภค ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อสหภาพยุโรป
- ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 12 - 13 ก.ย. นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะออกมาตรการ QE3 หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ส.ค. ออกมาเป็นที่น่าผิดหวัง
- ความเป็นไปได้ของแผนการปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์โดยสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรเพื่อบรรเทาราคาน้ำมันแพง หลังรัฐบาลสหรัฐฯ เข้าหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
- การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีการคลังของกลุ่มยูโรโซนในวันที่ 14-15 ก.ย. นี้ ในการหารือในเรื่องการให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่สเปน หลังจากที่ได้รับเงินเพื่อช่วยภาคธนาคารไปแล้ว 1 แสนล้านยูโร
- กรีซจะสามารถผ่านมาตรการลดรายจ่ายในประเทศ 11,500 ล้านยูโร ได้สำเร็จหรือไม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขหลักในการได้รับเงินช่วยเหลือก้อนใหม่จาก EC/ECB/IMF รวมทั้งผลการตรวจสอบกรีซอย่างเป็นทางการในช่วงสิ้นเดือนนี้
- การสู้รบที่ยืดเยื้อในซีเรียและปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านที่ยังดำเนินอยู่ โดยอิสราเอลเรียกร้องให้มีการกำหนดเส้นตายในการจัดการปัญหานี้ รวมทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีเรียกร้องให้สหภาพยุโรปเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่
ข่าวเด่น