"น้ำมันดิบร่วง หลังการสู้รบระหว่างอิสราเอลและฮามาสส่อแววยุติ" เบรนท์ส่งมอบ ม.ค ปรับลดลง 1.87 เหรียญฯ ปิดที่ 109.87เหรียญฯ ขณะที่เวสต์เท็กซัส ส่งมอบ ม.ค. ปรับลดลง 2.53 เหรียญฯ ปิดที่ 86.75 เหรียญฯ
- ตลาดคลายความกังวลเรื่องผลกระทบของอุปทานน้ำมันดิบ หลังอิสราเอลกับฮามาสเจรจาเพื่อยุติการสู้รบในฉนวนกาซาที่กินเวลากว่า 7 วัน อย่างไรก็ตามการเจรจายังคงดำเนินต่อขณะที่การตอบโต้ทางอากาศยังมีอยู่
- เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เผยว่าปัญหาหน้าทางการผาคลัง (Fiscal Cliff) อาจส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ถดถอย ถ้ารัฐบาลฯไม่สามารถจัดการปัญหาได้ทันเวลา ซึ่งธนาคารกลาง็ไม่มีเครื่องมือที่จะรองรับกับเหตุการณ์นี้ได้ แต่ถ้ารัฐบาลจัดการปัญหานี้ได้สำเร็จ คาดว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ดีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการจัดการปฏิรูปทางการคลัง
- นักลงทุนยังคงมีความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป หลังสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดีส์ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรของรัฐบาลฝรั่งเศส ลงจากระดับ AAA สู่ระดับ Aa1 เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจดูทีท่าว่าจะไม่สดใส
หลังปิดตลาดสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปิด ณ วันที่ 16 พ.ย.55 ว่าปรับลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.9 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการนำเข้าลดลง ส่วนน้ำมันเบนซินคงคลังปรับลดลง 4.8 ล้านบาร์เรล และน้ำมันดีเซลคงคลังปรับลดลง 4.4 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดไว้มาก
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าน้ำมันดิบดูไบและตามสหรัฐฯที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตามอินโดนิเซียยังนำเข้าต่อเนื่อง เนื่องจากโรงกลั่นภายในประเทศปิดซ่อมบำรุง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีความต้องการจากประเทศอินเดีย แต่อย่างไรก็ตามอุปสงค์เวียดนามเริ่มอ่อนตัวลง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
- กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้เบรนท์ 107 -115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 85 - 93 เหรียญฯ
- สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์หนุนราคา น้ำมันดิบในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันจะยังถูกกดดันจากความกังวลปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปและการจัดการปัญหา Fiscal Cliff ของสหรัฐฯ ส่วนในวันนี้ติดตามผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ดัชนีภาคการผลิต (Flash PMI) และความรู้สึกผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
- ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพุธ: ผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ดัชนีภาคการผลิต (Flash PMI) และความรู้สึกผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
วันพฤหัส: ตลาดสหรัฐฯปิดเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า ความรู้สึกผู้บริโภคของสหภาพยุโรป ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเยอรมนี (IFO Business Climate) ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC Flash PMI)
วันศุกร์: จีดีพี ไตรมาส 3/55 ของเยอรมนี
-ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตกในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ (กลุ่มฮามัส) รวมทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบในซีเรียยังคงสร้างความกังวลในเรื่องความเสี่ยง ต่ออุปทานน้ำมันดิบ
- จับตาว่าสเปนจะตัดสินใจขอเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปหรือไม่และเมื่อไร ซึ่งจะนำไปสู่การที่ธนาคารกลางยุโรปจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสเปน
- การหาทางออกให้กับปัญหาหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) ของประธานาธิบดีโอบามาที่จำเป็นต้องสำเร็จก่อนที่มาตรการเพิ่มภาษีและลดค่า ใช้จ่ายจะมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2556 ซึ่งขณะนี้พรรคเดโมแครตที่มีเสียงส่วนมากในวุฒิสภายังมีความไม่ตรงกับพรรครี พับลิกันที่ครองเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทน โดยเฉพาะประเด็นการขึ้นภาษี
- การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของจีน หลังนาย สี จิ้นผิงได้รับตำแหน่งผู้นำคนใหม่ของจีนแล้วเมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา
ข่าวเด่น