นายบวร ยสินทร ประธานกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ดำเนินการไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพิจารณาดำเนินคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กับ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี(ครม.) และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) หลังประกาศใช้มาตรการตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เพราะถือเป็นการอ้างรายงานที่ขาดน้ำหนัก ขาดความน่าเชื่อถือ ทั้งที่ พล.อ.บุญเลิศ แก้ว ประสิทธิ์ ประธานกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ได้ยืนยันแล้วว่า จะไม่ใช้ความรุนแรง ไม่พกพาอาวุธ ไม่บุกยึดสถานที่ราชการ เช่น ทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา โดยรัฐบาลสามารถใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตามปกติควบคุมสถานการณ์ได้ แต่เมื่อสถานการณ์เข้า สู่ความรุนแรงจึงค่อยประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จึงจะถือว่ามีเหตุสมควรและจำเป็นแก่การประกาศใช้ นาย บวร กล่าวต่อว่า การกระทำของรัฐบาลถือเป็นการขัดกับหลักสากลอย่างยิ่ง เพราะการใช้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ต้องเป็นไปเพื่อความมั่นคงของประเทศที่เป็นประชาธิปไตย และระมัดระวังไม่ให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งเป็นการประกาศใช้ที่ขัดกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพราะเป็นการประกาศใช้ล่วงหน้าที่เกินสมควรแก่เหตุ สร้างความตื่นตระหนกแก่สังคมและมีลักษณะการกระทำเพื่อความมั่นคงของรัฐบาล เองด้วยการขัดขวางการชุมนุมทุกวิถีทาง ซึ่งการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปิดกั้นเส้นทางจราจรและการใช้แก๊ส น้ำตาอย่างข้ามขั้นตอน จึงไม่เป็นไปตามหลักสากล ถือว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และมีเจตนาที่สร้างความลำบากแก่ผู้ที่จะเข้าร่วมชุมนุมจนก่อให้เกิด การบาดเจ็บถึง 82 ราย เป็นผู้เข้าชุมนุม 52 ราย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ 30 นาย จึง อยากขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินรคดีอาญากับนายกรัฐมนตรี และ ครม.ที่ได้มีมติประกาศมาตรการตามพ.ร.บ.ดังกล่าว และผู้บัญชาการตำรวจตแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย นอกจากนี้ขอให้รัฐบาลชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้บาดเจ็บตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง มาตรา 20 ตามที่ผู้ได้รับความเสียหายจะเรียกร้องต่อไป ด้านเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ได้รับหนังสือไว้ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประธานกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. แล้วได้เดินทางมาที่ศาลปกครองเพื่อพบปะกับประชาชนตามที่ได้นัดหมายไว้ว่าจะ มายื่นเรื่องดังกล่าวที่ศาลปกครอง เพื่อพิจารณาดำเนินการกับรัฐบาลที่ได้ออก พ.ร.บ.ดังกล่าว และดำเนินการต่อกลุ่มผู้ชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม เมื่อวันที่ 24 พ.ย. แต่เมื่อพิจารณาแล้ว ยังไม่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในขณะนี้ได้ โดยมีกรณีศึกษาเมื่อครั้งการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาแล้ว แต่ในชั้นนี้เห็นว่าอาจจะกระทบสิทธิของกลุ่มผู้ชุมนุม ดังนั้นจะศึกษาในเรื่องของสิทธิผู้ชุมนุม ว่าเข้าข่ายละเมิดสิทธิกลุ่มผู้ชุมนุมหรือไม่ แล้วจะนำเรื่องไปร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชน ( กสม.) ต่อไปว่ารัฐบาลได้มีการละเมิดสิทธิผู้ชุมนุมที่มีการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ ซึ่งหากมีการยื่น จะแจ้งให้ทราบในภายหลังอีกที
ข่าวเด่น