"ราคาน้ำมันดิบลด หลังปัญหา Fiscal Cliff ยังคงสร้างความกังวลในตลาด"
เบรนท์ส่งมอบ ม.ค. ปรับลดลง 1.59 ปิดที่ 107.91 เหรียญฯ และน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ม.ค. ปรับลดลง 0.88 ปิดที่ 85.89 เหรียญฯ
- ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) ที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดยนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ (สภาคองเกรส) กล่าวว่าการเจรจาหารือเรื่องดังกล่าวระหว่างสภาคองเกรสและทำเนียบขาวยังไม่ มีความคืบหน้า
- ตัวเลขยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ ปรับลดลง 27,000 ตำแหน่ง มาอยู่ที่ 343,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 และเป็นระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้ว่างงานลดลงหลังเหตุการณ์พายุ แซนดี้คลี่คลาย
- ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย.ค่อนข้างคงที่ โดยขยายตัวเพียง 0.3%จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายรถยนต์ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีการขยายตัวของตัวเลขยอดค้าปลีกต่ำกว่าตัวเลขที่นักวิเคราะห์คาด การณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ 0.6%
- ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงหลังหน่วยกลั่นใหม่ขนาด 325,000 บาร์เรลต่อวันของโรงกลั่น Motiva ใน Port Arthur รัฐเท็กซัส จะกลับมาดำเนินการได้เร็วขึ้น หลังจากเกิดเหตุการเพลิงไหม้เล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์
+ ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลให้การผลิตน้ำมันดิบสะดุดลงยังคง สร้างความกังวลให้กับตลาด โดยการเจรจาระหว่างอิหร่านและสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (IAEA)ในเรื่องโครงการนิวเคลียร์เมื่อวานนนี้จบลง โดยมีความคืบหน้าและทั้งสองจะหารืออีกครั้งในเดือน ม.ค.
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงคโปร์ลดลง 9.6% นอกจากนี้อุปสงค์ยังคงดีอยู่หลังมีแรงซื้อในตลาดจรจากเวียดนามและอินโดเซีย
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการน้ำมันก๊าดเพื่อใช้ทำความร้อนเพิ่มขึ้นและปริมาณน้ำมัน ดิบคงคลังในสิงคโปร์ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ หลังโรงกลั่นในเกาหลีลดการผลิตดีเซลลง เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมันก๊าด ในขณะที่ความต้องการนำเข้าจากเวียดนามมีแนวโน้มปรับลง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้า เบรนท์ 105 -112 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 83-90 เหรียญฯ
ราคาจะยังคงผันผวนจากแรงกดดันเรื่องปัญหาหน้าผาการคลังของสหรัฐฯ ขณะที่ความตึงเครียดในตะวันออกกลางยังคงสร้างความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบ ติดตามดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของสหรัฐฯ และกลุ่มยุโรปในวันนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันศุกร์: : ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตสหรัฐฯ ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่
วันจันทร์: ดุลการค้ายูโรโซน ดัชนีภาคอุตสาหกรรมในแถบรัฐนิวยอร์ก
วันอังคาร: ดุลบัญชีเดินสะพัดสหรัฐฯ ดัชนีสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ
วันพุธ: ยอดการขอสร้างบ้านใหม่ ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี
วันพฤหัส: จีดีพีไตรมาส 3 (Final) ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟีย รวมทั้งดัชนีความรู้สึกต่อผู้บริโภคยูโรโซน
วันศุกร์: รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจและดัชนีราคาผู้บริโภค และความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี
ติดตามความคืบหน้าของการหาทางออกให้กับปัญหาหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) ของสหรัฐฯ หลังการหารือล่าสุดระหว่างประธานาธิบดีโอบามากับจอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำคนสำคัญของพรรครีพับลิกันยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงระหว่างกันได้ แต่มีสัญญาณว่าเจรจาแบบลับดังกล่าวดำเนินไปด้วยดี
- ติดตามผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในอียิปต์วันที่ 15 ธ.ค. นี้ หลังประธาธิบดีประกาศกฎอัยการศึกท่ามการประท้วงที่ยังดำเนินไปอย่างรุนแรง เนื่องจากไม่เห็นด้วยในหลายมาตรา
- ติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดรอบใหม่ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์หลังอิสลา เอลประกาศแผนเดินหน้าสร้างที่อยู่อาศัยในเขตเวสต์แบงค์เพื่อตอบโต้ UN ที่รับรองสถานะปาเลสไตน์ให้เป็นรัฐชาติ รวมทั้งสถานการณ์ความรุนแรงในซีเรียยังเป็นที่กังวลต่อนานาชาติโดยเฉพาะ ประเด็นความเสี่ยงของการใช้อาวุธเคมี
- นอกจากนี้ติดตามความพยายามล่าสุดในการเจรจาเพื่อหาข้อสรุปประเด็นโครงการนิวเคลียร์อิหร่านในเดือน ม.ค.
ข่าวเด่น