ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ปตท.ประเมินแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 17 - 21 ธ.ค. 55


ฝ่ายบริหารความเสี่ยงราคาและวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บมจ.ปตท. รายงาน สถานการณ์ราคาน้ำมัน ประจำสัปดาห์ที่ 10-14 ธ.ค. 2555 และแนวโน้มในสัปดาห์ที่ 17-21 ธ.ค. 2555
ราคาน้ำมันเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 10-14 ธ.ค. 55  ราคาน้ำมันปรับลดลงทุกชนิด โดยน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ปรับตัวลดลง 1.98 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อน อยู่ที่ระดับ 104.87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 0.53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 108.19 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบเวสท์ เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 1.38 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลอยู่ที่ 86.15 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล นอกจากนี้ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง 1.28 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 116.79 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 3.36 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 121.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่

ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงลบ

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงลบ) -  สำนักงานสารสนเทศทางด้านพลังงานของสหรัฐฯ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ธ.ค. 2555 เพิ่มขึ้น 0.8 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ระดับ 372.6 ล้านบาร์เรล สูงกว่าปริมาณสำรองเฉี่ลย 5 ปี อยู่ 28.7 ล้านบาร์เรล หรือคิดเป็น 8.35%
          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงลบ) -  สำนักงานสารสนเทศทางด้านพลังงานของสหรัฐฯ คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในปี 2556  จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 700,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 7.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ก่อนหน้า 200,000 บาร์เรลต่อวัน
          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงลบ) -  สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรป (Eurostat) รายงานดัชนีผลผลิตทางอุตสาหกรรม (Industrial Production) ประจำเดือน ต.ค. 55 ลดลงจากเดือนก่อน 1.4%  สวนทางกับที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 0.2%
          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงลบ) -  อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไตรมาส 3/2555 อยู่ที่ระดับ -0.9%  เนื่องจากรัฐบาลลดรายจ่ายจากการลงทุนสาธารณะ

ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงบวก

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) +  ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เพิ่มการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเดือนละ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือน ม.ค. 56 เป็นต้นไป และจะคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับ 0-0.25% จนถึงช่วงกลางปี 2557
          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) +  กระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ รายงานอัตราการว่างงานเดือน พ.ย. 55 ลดลงจากเดือนก่อน 0.2% อยู่ที่ระดับ 7.7%
          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) +  China Association of Automobile Manufacturers (CAAM) ของจีนรายงานยอดขายรถยนต์ในเดือน พ.ย. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 8.2% อยู่ที่ 1.79 ล้านคัน
          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) +  ประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบเพื่อการส่งออก (OPEC) รายงานปริมาณผลิตน้ำมันดิบเดือน พ.ย. 55  ลดลงจากเดือนก่อน 210,000 บาร์เรล อยู่ที่ 30.78 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่การประชุมในวันที่ 12 ธ.ค. 55 กำนหดโควตาการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มอยู่ที่ระดับ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน
          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) +  ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนเดือน พ.ย. 55 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3% อยู่ที่ระดับ 5.69 ล้านบาร์เรลต่อวัน และโรงกลั่นในจีนกลั่นน้ำมันดิบรวม 10.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าปีก่อน  9.1%  

แนวโน้มราคาน้ำมัน

 ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงจากการเจรจาเรื่องปัญหาหน้าผาทางการคลังของสหรัฐฯยัง ไม่มีความคืบหน้า นอกจากนี้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดการณ์ปริมาณสำรองน้ำมันของประเทศสมาชิก 28 ประเทศ จะปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 21 ปี ในช่วงสิ้นปี 2555 มาอยู่ที่ระดับเพียงพอต่อความต้องการใช้ 58.2 วัน และ OPEC  คาดการณ์กำลังการผลิตน้ำมันดิบส่วนเหลือ (Spare Capacity) ในปี 2556 จะอยู่ที่ระดับประมาณ 3-4 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555

อย่างไรก็ตามดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers Index) ของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 50.9 จุด และนับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของจีนกำลังฟื้นตัวซึ่งจะส่งผลต่อความต้อง การใช้น้ำมันที่สูงขึ้น อีกทั้งตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น อาทิยอดผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.1% จากเดือนก่อนหน้า มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 0.3% นอกจากนี้ประชาชนชาวอียิปต์ลงประชามติยอมรับการปรับรัฐธรรมนูญที่เสนอโดย ประธานาธิบดี Mursi ในวันเสาร์ที่ผ่านมาโดยไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศ ทั้งนี้ผลประชามติอย่างเป็นทางการจะออกภายหลังการลงประชามติครั้งที่ 2 ในวันที่ 22 ธ.ค. 55 ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent มีแนวรับแนวต้านทางเทคนิคอยู่ที่ 86.11 - 88.88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  และ 106.67 - 111 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลตามลำดับ


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 17 ธ.ค. 2555 เวลา : 11:47:53

19-09-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 19, 2024, 5:28 pm