บมจ. ไทยออยล์ ประเมินสถานการณ์น้ำมัน14 - 18 ม.ค. 56 แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน (14 - 18 ม.ค. 56) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้น จากความกังวลของตลาดต่อการเจรจาปัญหานิวเคลียร์อิหร่านซึ่งอาจนำไปสู่การ เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก รวมถึงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/55 ของจีนที่คาดว่าจะออกมาดีตามความคาดหมาย หลังตัวเลขส่งออกขยายตัวดีเกินคาด อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ราคาน้ำมันปรับลดลงได้จากรายงานสรุปภาวะ เศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯและตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้: • ผลการเจรจาครั้งใหม่ระหว่างสำนักงานปรมาณูสากล (IAEA) และอิหร่าน ในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ โดยมีแนวโน้มว่าการเจรจาจะไม่มีความคืบหน้า หลังล่าสุดทางการอิหร่านมีทีท่าว่าจะไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ ของสำนักงานปรมาณูสากลเข้าตรวจในบริเวณฐานทัพพาร์ชิน ซึ่งเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์ • จีดีพีไตรมาส 4/55 ของจีน ที่จะประกาศในวันที่ 17 ม.ค. จะมีส่วนทำให้ตลาดคลายความกังวลหากตัวเลขที่ประกาศออกมาเป็นไปตามความคาด หมายของนักวิเคราะห์ที่เหนือ 7.8% และอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นได้ ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงที่ราคาน้ำมันจะถูกกดดันหากตัวเลขไม่เป็นไปตาม ที่คาดการณ์ไว้ • รายงานสถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำเดือน ม.ค. จากทางโอเปค (OPEC) และสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ในวันที่ 16 และ 18 ม.ค. ตามลำดับ ซึ่งคาดการณ์ปริมาณผลิตและปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของโลกปี 56 หลังการรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ในสัปดาห์ที่แล้วที่คาดว่าอุปทานนอกกลุ่มโอเปคจะปรับเพิ่มขึ้นและส่งผลให้โอ เปคพิจารณาลดกำลังการผลิต • การเปิดใช้ส่วนต่อขยายของท่อส่งน้ำมัน Seaway Pipeline ในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้การขนส่งนำมันจากจุดส่งมอบนำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) บริเวณคุชชิ่ง โอกลาโฮมาไปยังโรงกลั่นในบริเวณรัฐเท็กซัสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะหนุนราคา WTI และส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างราคานำมันดิบ WTI กับนำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง • โรงกลั่น Motiva ขนาด 325,000 บาร์เรลต่อวัน ในรัฐเท็กซัส จะมีแผนกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งเมื่อใด หลังความพยายามที่จะกลับมาดำเนินการผลิตเป็นครั้งที่สามในสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในระบบการผลิต ส่งผลให้อุปทานน้ำมันสำเร็จรูปไม่ออกสู่ตลาดตามการคาดการณ์ก่อนหน้าตัวเลข เศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานและยอดการขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์คและธนาคารกลางฟิลาเดลเฟีย รวมถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซนและรายงานภาวะเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (07 ม.ค.55 – 11 ม.ค. 56) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 0.67 เหรียญฯ สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาปิดที่ 110.64 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับเพิ่มขึ้น 0.47 เหรียญฯ มาปิดที่ 93.56เหรียญฯ ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์โดยเฉพาะน้ำมันดิบ WTI หลังท่อขนส่งน้ำมันดิบ Seaway Pipeline จากคุชชิ่งรัฐโอกลาโฮมามายังโรงกลั่นบริเวณแถบอ่าวเมกซิโกในรัฐเท็กซัสได้ เพิ่มปริมาณขนส่งเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวันจากก่อนหน้าที่ 150,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณสต็อกน้ำมันดิบWTIบริเวณคุชชิ่งที่อยู่ในระดับสูงซึ่ง เป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบ WTIในปีที่ผ่านมาลง นอกจากนี้ในช่วงปลายสัปดาห์ตัวเลขการส่งออกของจีนในเดือน ธ.ค. ที่ออกมาดีเกินคาดโดยขยายตัวที่ 14.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน ยังมีส่วนช่วยให้ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นต่ออีกเล็กน้อย
ข่าวเด่น