" เวสต์เท็กซัสทรุด ท่อส่งSeawayชะงัก ขณะที่เบรนท์เพิ่ม จากตัวเลขเศรษฐกิจยุโรป "
เบรนท์ส่งมอบ ก.พ. ปรับเพิ่มขึ้น 0.38 ปิดที่ 112.80 เหรียญฯ และน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับลดลง 1.45 ปิดที่ 95.23 เหรียญฯ
- น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลง จากความกังวลต่ออุปทานส่วนเกินบริเวณคุชชิ่ง โอคลาโฮมา เนื่องจากท่อขนส่งน้ำมัน Seaway Pipeline ที่ส่งน้ำมันจากบริเวณดังกล่าวไปยังโรงกลั่นบริเวณเท็กซัส ลดกำลังการส่งลงเหลือเพียง 170,000 บาร์เรลต่อวัน จาก 400,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากข้อจำกัดที่จุดส่งมอบปลายทาง
- สำนักงานปิโรเลียมด้านพลังงานรายงาน (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.2 ล้านบาร์เรลมากกว่าคาดการณ์ไว้ที่เพิ่มขึ้น 1.8 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นลดกำลังการผลิตลง 3.7 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 84.3 เปอร์เซ็นต์ และนำเข้าน้ำมันดิบน้อยลง
+/- ในส่วนของกลุ่มน้ำมันเบนซิน สำนักงานปิโรเลียมด้านพลังงานรายงาน (API) รายงานว่าลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล สวนทางกับผลสำรวจจาก Reuters ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล ในขณะที่น้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล มากกว่าคาดการณ์ที่ 400,000 บาร์เรล
+ น้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวสูงขึ้น จากแรงหนุนของตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีของอังกฤษ โดยอัตราการว่างงานของอังกฤษในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ลดลงมาอยู่ที่ 7.7 เปอร์เซ็นต์ จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 7.8 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้จำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานลดลง 12,100 ตำแหน่ง จากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 1.56 ล้านตำแหน่งในเดือนธันวาคม ต่างจากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 500 ตำแหน่ง
+ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยุโรปปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -23.9 จาก -26.3 ในเดือนก่อนหน้า โดยนาย มาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ให้ความเห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปนั้น ได้ผ่านจุดต่ำสุด และจะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากกำลังการผลิตที่ลดลงจากญี่ปุ่น ซึ่งลดลง 8.4 เปอร์เซ็นต์ จากอาทิตย์ก่อนหน้า นอกจากนี้ภาพตลาดยุโรปที่มีความต้องการซื้ออยู่มาก ผลักดันให้ราคาน้ำมันเบนซินในเอเชียปรับเพิ่มขึ้นตามด้วย
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากไม่มีความต้องการซื้อจากเวียดนามและอินโดนีเซียซึ่ง ประกอบกับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่มขึ้น 4 เปอร์เซ็นต์จากอาทิตย์ก่อนหน้า
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 108 -115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 90 - 97 เหรียญฯ
ในสัปดาห์นี้ติดตามความคืบหน้าของแผนการปรับเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐฯและการ ประชุม World Economic Forum ส่วนในวันนี้ติดตามดัชนีภาคการผลิตจีนและความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้/ ผลประกอบการไตรมาส 4/55 ของบริษัท จดทะเบียนในสหรัฐฯ ได้แก่
วันพฤหัส: ดัชนีภาคการผลิต-ดัชนีภาคบริการ และดุลบัญชีเดินสะพัดยูโรโซน ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน และดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ / 3เอ็ม/ เอที แอนด์ ที/ ไมโครซอฟ/ ซีร็อค
วันศุกร์: ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (IFO)
การประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 -27 ม.ค. นี้ ติดตามว่าผู้นำจากประเทศต่างๆ จะมีมุมมองอย่างไรต่อภาพรวมเศรษฐกิจในปี 56 หลังเมื่อสัปดาห์ที่แล้วธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ ลงมาอยู่ที่ 2.4% จาก ที่คาดไว้เดิมที่ 3.0% เมื่อเดือน มิ.ย. 55
- จับตาการอนุมัติแผนเพิ่มเพดานหนี้ชั่วคราวระยะเวลา 3 เดือน ของสหรัฐฯ ที่จะช่วยให้สหรัฐฯ ไม่ต้องผิดนัดชำระหนี้และไม่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง รวมถึงเพื่อเพิ่มเวลาให้สภาฯ ได้พิจารณาการปรับลดงบประมาณในระยะยาวได้
- ติดตามผลการเลือกตั้งทั่วไปในอิสราเอลว่าพรรคลิคุดของนายเนทันยาฮูจะได้รับ คะแนนเสียงเท่าไรและจะกลับมาเป็นรัฐบาลอีกสมัยได้หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายต่างประเทศของอิสราเอลต่อปาเลสไตน์และอิหร่าน โดยเฉพาะความกังวลเรื่องโครงการพัฒนานิวเคลียร์อิหร่านหลังล่าสุดการเจรจา ระหว่าง IAEAและอิหร่านยังไม่คืบหน้า อย่างไรก็ตาม จะมีการเจรจากันอีกครั้งในวันที่ 12 ก.พ. นี้
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ บริเวณคุชชิ่งโอกลาโฮมา คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากระดับสูงหลังมีการเปิดใช้ส่วนต่อขยายของท่อขนส่ง น้ำมัน Seaway Pipeline ที่มีกำลังขนส่งรวม 400,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อวันศุกร์ที่ 11 ม.ค.
ข่าวเด่น